หลังจากที่ Apple เปิดตัวฟีเจอร์ตรวจจับภาวะหยุดหายใจขณะหลับให้กับ Apple Watch Series 10 หลายคนก็เริ่มยากรู้ว่าฟีเจอร์นี้ทำงานอย่างไร

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจะทำให้การหายใจหยุดลงชั่วขณะขณะหลับ ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และมักส่งผลให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นกลางดึก ภาวะนี้วินิจฉัยได้ยากเนื่องจากเกิดขึ้นขณะหลับ และบริษัท Apple ระบุว่าทั่วโลกมีผู้ได้รับผลกระทบมากกว่า 1 พันล้านคน

ก่อนหน้านี้หลายคนคาดเอาว่าน่าจะใช้เซนเซอร์ตรวจจับระดับออกซิเจนในเลือด แต่จริงๆแล้ว Apple ใช้วิธีการที่แตกต่างออกไป หนึ่งในตัวชี้วัดที่ Apple เลือกใช้คือ  Breathing Disturbances ใช้ accelerometer บนนาฬิกาเพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวบนข้อมือที่เชื่อมโยงกับการหยุดชะงักของรูปแบบการหายใจปกติในระหว่างการนอนหลับ

Apple Watch จะรวบรวมข้อมูล 30 วันแล้ววิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้หากมีอาการหยุดหายใจขณะหลับระดับปานกลางถึงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ผู้ใช้จะเห็นค่าการอ่านที่สูงขึ้น/ไม่สูงขึ้น ภายใต้หัวข้อการหายใจผิดปกติของแอป Health ซึ่งเราสามารถแชร์ข้อมูลนี้กับแพทย์เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนต่อไปในการวินิจฉัยและรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

แม้ว่าการรวบรวมข้อมูลเพื่อตรวจจับภาวะหยุดหายใจขณะหลับจะต้องใช้ข้อมูล 30 วัน แต่ผู้ใช้สามารถดูภาพรวมของอาการผิดปกติของการหายใจในตอนกลางคืนได้ในแอป Health เพื่อประเมินการนอนหลับได้ ซึ่งรูปแบบการหายใจอาจเป็นผลมาจากแอลกอฮอล์ ยา และท่าทางการนอน

Apple กล่าวว่าอัลกอริทึมการแจ้งเตือนภาวะหยุดหายใจขณะหลับถูกสร้างขึ้นโดยใช้ Machine Learning ขั้นสูงและชุดข้อมูลที่ครอบคลุมของการทดสอบภาวะหยุดหายใจขณะหลับระดับคลินิก จากนั้นจึงผ่านการตรวจสอบในงานวิจัยทางคลินิก ผู้เข้าร่วมทุกคนที่ระบุตัวตนได้ด้วยอัลกอริทึมมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอย่างน้อยระดับเล็กน้อย

Apple คาดว่าการตรวจจับภาวะหยุดหายใจขณะหลับจะได้รับอนุญาตทางการตลาดจาก FDA และหน่วยงานด้านสุขภาพระดับโลกอื่นๆ ในอนาคตอันใกล้นี้ และจะพร้อมใช้งานในเดือนนี้ในกว่า 150 ประเทศ ส่วนรุ่นที่ใช้งานได้จะมี Apple Watch Series 9/10 และ Apple Watch Ultar

ที่มา https://www.macrumors.com/2024/09/10/sleep-apnea-detection-details/