การก่อสร้างถือเป็นแหล่งมลพิษที่สำคัญ คิดเป็นประมาณ 37 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยมลพิษทั่วโลก ในขณะที่บริษัทหลายแห่งพยายามมองหาวิธีลดมลพิษโดยการผลิตคอนกรีตที่ไม่ใช้ซีเมนต์ ล่าสุดทาง MIT ได้ค้นพบวิธีใหม่ในการผลิตอิฐแก้วรีไซเคิลด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติรุ่นใหม่ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเหมือนชิ้นส่วนเลโก้

อิฐใหม่เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยที่ดำเนินการโดยทีมวิศวกรรมจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) โดยทีมดังกล่าวนำโดย Kaitlyn Becker ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเครื่องกลที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และ Michael Stern ผู้ก่อตั้ง Evenline ซึ่งเป็นบริษัทแยกสาขาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์

ทางทีมงานได้ใช้ Glass 3D Printer 3 ซึ่งเป็นเครื่องจักรใหม่ล่าสุดที่ Evenline พัฒนาขึ้น เพื่อสร้างอิฐแก้วรีไซเคิลด้วยการหลอมขวดแก้วที่บดในเตาเผาเพื่อเปลี่ยนให้เป็นวัสดุที่หลอมละลายและพิมพ์ได้ จากนั้นจึงใช้วัสดุดังกล่าวในการพิมพ์อิฐแต่ละก้อนที่มีเดือยกลมอยู่ที่ปลาย ซึ่งเดือยนี้จะทำหน้าที่ล็อกอิฐแต่ละก้อนเข้าด้วยกันได้เหมือนตัวต่อเลโก้

นอกจากนี้ อิฐเหล่านี้ยังใช้หลักการก่อสร้างแบบวงกลม ซึ่งเป็นความพยายามในการนำวัสดุก่อสร้างกลับมาใช้ใหม่เพื่อช่วยจำกัดปริมาณคาร์บอนที่สะสมอยู่ในอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม นักวิจัยกล่าวว่าอิฐเหล่านี้มีความแข็งแรงมาก จึงสามารถใช้ในการก่อสร้างอาคารได้ด้วย

แน่นอนว่าการใช้แก้วเป็นวัสดุโครงสร้างอาจฟังดูเป็นไปไม่ได้ เพราะเมื่อแก้วถูกแรงกดมากเกินไปก็จะร้าวและแตกหักได้แต่นักวิจัยเชื่อว่าอิฐแก้วรีไซเคิลเหล่านี้อาจเป็นโอกาสที่ดีในการพิสูจน์ว่าแก้วมีคุณค่าเพียงใดในฐานะวัสดุก่อสร้าง

ยังไม่ชัดเจนว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนที่ได้เห็นอิฐแก้วเหล่านี้นำมาใช้ก่อสร้างอาคารจริงๆ รวมถึงต้องรอผลการทดสอบว่าอิฐแก้วจะสามารถมาแทนที่อิฐคอนกรีตได้หรือไม่

ที่มา https://bgr.com/science/mit-researchers-invented-recycled-glass-bricks-as-strong-as-concrete/