ดูเหมือนว่าการแบน iPhone ของอินโดนีเซียจะได้ผล Apple ลงทุนเพิ่ม 10 ล้านดอลลาร์ หวังปลดล็อกหารห้ามขาย iPhone ในอินโดนีเซีย
ก่อนหน้านี้รัฐาลอินโดนีเซียได้ระงับใบอนุญาตให้จำหน่าย iPhone 16 ในอินโดนีเซียชอง Apple โดยให้เหตุผลว่าบริษัทไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่บังคับให้บริษัทต่างชาติต้องลงทุนในประเทศอย่างน้อย 40%
ล่าสุดแหล่งข่าววงในเผยว่า Apple Inc. เสนอให้เงินลงทุนเกือบ 10 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อผลิตสินค้าเพิ่มเติมในอินโดนีเซีย เนื่องจากต้องการให้ประเทศอินโดนีเซียยกเลิกการห้ามจำหน่าย iPhone 16
โดย Apple จะลงทุนในโรงงานแห่งหนึ่งในเมืองบันดุง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจาการ์ตา ร่วมกับซัพพลายเออร์ที่ไม่อนุญาตเปิดเผยชื่อต่อสาธารณะซึ่งโรงงานแห่งนี้จะใช้ในการผลิตอุปกรณ์เสริมและส่วนประกอบสำหรับอุปกรณ์ของ Apple
แหล่งข่าวเผยว่ากระทรวงกำลังพิจารณาข้อเสนอนี้อยู่ ซึ่งยังไม่ถือเป็นข้อเสนอสุดท้ายและอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ และคาดว่าจะตัดสินใจได้ในเร็วๆ นี้
การแบน iPhone 16 ของอินโดนีเซียเป็นตัวอย่างล่าสุดของแรงกดดันที่รัฐบาลของประธานาธิบดีคนใหม่ Prabowo Subianto กำลังกดดันให้บริษัทต่างชาติส่งเสริมการผลิตในประเทศ เนื่องจากต้องการปกป้องอุตสาหกรรมในอินโดนีเซีย นอกจากนั้นยังได้ห้ามการแบนสมาร์ตโฟน Google Pixel ด้วยเหตุผลเดียวกัน
บริษัทข้ามชาติส่วนใหญ่ รวมถึง Apple ไม่มีโรงงานของตัวเองในอินโดนีเซีย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีจับมือกับซัพพลายเออร์ในพื้นที่เพื่อผลิตส่วนประกอบหรือสินค้าสำเร็จรูป
แม้ว่าอินโดนีเซียอาจมองว่าการลงทุนเพิ่มเติมของ Apple ถือเป็นชัยชนะ แต่แนวทางที่แข็งกร้าวกับบริษัทต่างชาติ อาจทำให้บริษัทอื่นไม่กล้าขยายฐานการผลิตหรือสร้างฐานการผลิตตั้งแต่แรก โดยเฉพาะบริษัทที่ต้องการออกมาตั้งโรงงานนอกประเทศจีน นอกจากนี้ยังอาจกระทบต่อเป้าหมายในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและระดมทุนเพื่อใช้จ่ายด้านนโยบาย
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา รัฐบาลอินโดนีเซียได้กำหนดมาตรการควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์หลายพันรายการ ตั้งแต่ MacBook ไปจนถึงยางรถยนต์และสารเคมี เพื่อบังคับให้บริษัทต่างชาติขยายการผลิตในประเทศ แต่การเคลื่อนไหวดังกล่าวได้จุดชนวนให้เกิดความไม่พอใจในกลุ่มธุรกิจต่างๆ รวมถึงบริษัทที่มีฐานการผลิตในประเทศมายาวนาน เช่น LG Electronics Inc. ที่ไม่สามารถนำเข้าชิ้นส่วนบางประเภทมาผลิตเครื่องซักผ้าและโทรทัศน์ได้
แม้ว่าอินโดนีเซียจะเรียกร้องให้บริษัทต่างชาติเร่งการผลิต แต่ภาคอุตสาหกรรมในประเทศกลับซบเซาลง โดยสัดส่วนการผลิตต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศลดลงเหลือ 18.7 เปอร์เซ็นต์เมื่อปีที่แล้วจาก 21.1 เปอร์เซ็นต์ในปี 2557