เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน คว้ารางวัล World Smart City Award จากงาน Smart City Expo World Congress (SCEWC) ประจำปี 2567 ที่จัดขึ้นในบาร์เซโลนา เมืองเซินเจิ้นมีความโดดเด่นที่สุดในบรรดาเมืองที่เข้าชิงทั้งหมด 429 เมืองจาก 64 ประเทศและภูมิภาค โดยคว้ารางวัล World Smart City Award หรือ รางวัลเมืองอัจฉริยะของโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและศักยภาพที่เหนือชั้นของจีนในการสร้างเมืองอัจฉริยะ
“โซลูชั่นที่ครอบคลุมสำหรับการสร้างเมืองอัจฉริยะ” ของเมืองเซินเจิ้นนั้นคิดขึ้นมาจากธีม “สร้างมาตรฐานใหม่ของเมืองอัจฉริยะ สร้างเมืองให้อัจฉริยะขึ้นและยกระดับชีวิตให้ดีขึ้น” ซึ่งผสานแนวคิดการสร้างเมืองอัจฉริยะที่ให้ความสำคัญกับผู้คนในเมืองและนำเสนอกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจหลายกรณี คณะกรรมการเชื่อว่าเซินเจิ้นได้แสดงให้เห็นถึงโซลูชั่นนวัตกรรมในด้านสำคัญต่าง ๆ อย่างครอบคลุม เช่น การสนับสนุนเทคโนโลยี การขนส่ง พลังงานและสิ่งแวดล้อม การดูแลจัดการ อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ การอยู่อาศัยและการยอมรับความหลากหลาย โครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง รวมถึงการสร้างเมืองดิจิทัลอัจฉริยะสำหรับผู้คนด้วยปรัชญา รากฐาน และภูมิทัศน์ในเมืองที่ไม่เหมือนใคร
ในส่วนของการดูแลจัดการเมือง ในเบื้องต้นเซินเจิ้นได้สร้างฐาน Digital Twin หรือ แบบจำลองเสมือนจริงของวัตถุทางกายภาพสำหรับพื้นที่เมือง ซึ่งประกอบด้วยแบบจำลองอาคารหลักที่พัฒนาขึ้นโดยเทคโนโลยี BIM (กระบวนการของการสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร) เกือบ 10,000 แบบ จัดทำระบบข้อมูล Digital Twin ที่ครอบคลุม 3 หมวดหมู่หลัก (พื้นที่พื้นฐานในเมือง เป้าหมายการจัดการ และการรับรู้ด้าน IoT) และ 25 หมวดหมู่ย่อย และนำเสนอบริการข้อมูลมากกว่า 4,000 รายการ เมืองเซินเจิ้นได้จำลองสถานการณ์การใช้งาน Digital Twin มากกว่า 200 สถานการณ์ รวมถึงกราฟสำหรับการจัดการน้ำในเมือง กราฟสำหรับการชาร์จ การจัดเก็บ และการปล่อยพลังงาน การวางแผนและการออกแบบระบบขนส่งทางรางระยะที่ 5
รวมทั้งยังส่งเสริมการใช้งาน Digital Twin ตามเขตอื่น ๆ ในเมือง เช่น โฮ่วไห่ เซียงหมี่หู และเมืองวิทยาศาสตร์กวงหมิง ตัวอย่างเช่น เซินเจิ้นจะใช้แบบจำลอง 3 มิติเพื่อจำลองน้ำท่วมในเขตพื้นที่สำคัญและวิเคราะห์พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เสริมความแม่นยำในการระบุความเสี่ยงจากน้ำท่วมขัง และค้นหาแนวทางใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาผ่านการออกแบบแนวทางการป้องกันน้ำท่วมในเมืองและนำกราฟมาใช้ในการจัดการน้ำในเมือง แบบจำลองความเสี่ยงภัยพิบัติจากน้ำท่วม และแผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับสภาพแวดล้อมการทำงานที่แตกต่าง การใช้งาน Digital Twin ที่ครอบคลุมในเขตเซียงหมี่หูจะอาศัยความสามารถในการเรนเดอร์ที่สูงเพื่อนำเสนอแผนผังของผิวดินและใต้ดินที่ซับซ้อนในรูปแบบภาพ ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจต่าง ๆ เช่น การตรวจสอบภาพซิลลูเอทของเมือง การออกแบบภูมิทัศน์ในเมือง และช่วยพัฒนาการจัดทำแบบจำลองการจัดการ Digital Twin ตลอดวงจรชีวิตของเขตสำคัญต่าง ๆ รวมถึงการวางแผน การออกแบบ การก่อสร้าง และการดำเนินการ