หนึ่งในความพยายามแก้ไขปัญหาขาดแคลนอาหารในบ่งพื้นที่ นักวิทยาศาสตร์จึงพยายาทคิดค้นการปลูกพืชโดยไม่ใช้แสงแดด เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและสิ่งแวดล้อม
Electro-agriculture คือ หนึ่งในวิธีที่นักวิทยาศาสตร์นำมาใช้ ด้วยการนำไฟฟ้ามาใช้เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของพืช โดยไม่ต้องพึ่งพาการสังเคราะห์แสงแบบดั้งเดิม หัวใจสำคัญของกระบวนการนี้คือ อิเล็กโทรไลซิส เพื่อเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นอะซิเตท ซึ่งเป็นเกลือชนิดหนึ่งที่พืชสามารถใช้เป็นแหล่งคาร์บอนได้
นอกจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้ดัดแปลงพันธุกรรมพืชให้เจริญเติบโตได้ในความมืดสนิท โดยกินอะซิเตทแทนการสังเคราะห์แสง ทำให้สามารถปลูกพืชได้โดยไม่ต้องมีแสงแดด
ด้วยวิธีนี้จะช่วยลดพื้นที่สำหรับทำการเกษตรได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ โดยเราสามารถนำพืชมาปลูกในร่มหรือฟาร์มแนวตั้งที่อยู่ในเมืองได้ อาจจะเป็นการสร้างฟาร์มบนหลังคาหรือในอาคารร้าง จนไปถึงการเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่เคยใช้งานมาก่อนกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารซึ่งพืชสามารถเติบโตได้โดยไม่ต้องมีแสงแดด เมื่อรวมกับความก้าวหน้าของ เนื้อสัตว์ที่เพาะในห้องแล็ป นั่นหมายความว่าเราอาจกำลังก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมอาหารครั้งใหญ่
เทคโนโลยีนี้ ยังคงมีความท้าทายอีกหลายประการ เนื่องจาก Electro-agriculture ยังอยู่ในการทดลองเริ่มต้น นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องปรับกระบวนการแปลงคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นอะซิเตทให้เหมาะสมที่สุด รวมถึงออกแบบพันธุ์พืชที่สามารถเจริญเติบโตได้โดยไม่ต้องมีแสงแดดให้มีจำนวนมากขึ้น
นอกจากนั้นการเปลี่ยนจากเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมมาเป็นเกษตรกรรมที่ใช้ไฟฟ้าในปริมาณมากนั้นต้องอาศัยการลงทุนและแรงจูงใจจำนวนมากเช่นกัน
ที่มา https://bgr.com/science/researchers-found-a-way-to-grow-plants-without-light/