ผลการศึกษาใหม่พบว่า ผู้หญิงที่เลือกตรวจแมมโมแกรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI มีโอกาสตรวจพบมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงที่เลือกการตรวจปกติถึง 21%

จากการศึกษาล่าสุดของ Radiological Society of North America (RSNA) พบว่าผู้หญิงมากกว่า 30% เลือกจ่ายเงินเข้าโปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่เสริมด้วยปัญญาประดิษฐ์ มาช่วยวินิจฉัยภาพแมมโมแกรม มีโอกาสตรวจพบมะเร็งเต้านมมากกว่าคนที่วิเคราะห์แบบปกติถึง 21% เรียกว่าแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ที่จะเป็น “ดวงตาคู่ที่สอง” สำหรับรังสีแพทย์
การศึกษาดังกล่าวพิจารณาแนวทางปฏิบัติทางคลินิก 10 ประการ (10 clinical practices) ที่นำเสนอโปรแกรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วย AI ที่ขับเคลื่อนโดย FDA ซึ่งผู้ป่วยต้องจ่ายเงินเอง โดยภาพเอกซเรย์ของผู้ป่วยที่เลือกเข้าร่วมโปรแกรมจะได้รับการตรวจสอบโดยรังสีแพทย์ด้านเต้านม จากนั้นจึงตรวจสอบโดยซอฟต์แวร์ AI หากการตรวจสอบไม่สอดคล้องกัน รังสีแพทย์คนที่สองจะทำการตรวจสอบเป็นครั้งที่สาม
ในการทดสอบนั้นมีผู้หญิงจำนวน 747,604 รายที่เข้ารับการตรวจแมมโมแกรมตลอด 1 ปี อัตราการตรวจพบมะเร็งนั้นสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมประมาณ 43% แม้ว่านักวิจัยจะระบุว่า 22% ของการเพิ่มขึ้นนั้นเกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่าสตรีที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งมีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมโครงการมากกว่า แต่ที่เหลือ 21% ของการตรวจพบที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจาก AI
ด้วยเหตุนี้ สตรีที่เข้าร่วมโครงการจึงถูกเรียกกลับมาเพื่อทำการคัดกรองเพิ่มเติมในอัตราที่สูงกว่าสตรีที่ไม่ได้เข้าร่วม 21% และค่าการทำนายเชิงบวกสำหรับมะเร็ง (โอกาสที่ผลบวกสำหรับมะเร็งจะบ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งจริงๆ) ก็สูงขึ้น 15% เช่นกัน
ผลลัพธ์เหล่านี้เน้นย้ำถึงศักยภาพของรังสีวิทยาที่ได้รับการปรับปรุงด้วย AI แม้ว่าคลินิกบางแห่งจะเสนอการปรับปรุงนี้โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่การที่บริษัทประกันไม่เต็มใจที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายดังกล่าวอาจทำให้การบูรณาการล่าช้าลง
แน่นนอนว่าเรายังคงต้องรอดูต่อไปว่าการวิจัยเพิ่มเติมจะนำไปสู่การใช้ AI ในวงกว้างและอาจปฏิวัติวงการด้านการวินิจฉัยมากขึ้นหรือไม่ รวมถึงบริษัทประกันจะยอมรับโปรแกรมนี้หรือไม่
ที่มา https://gizmodo.com/ai-is-detecting-more-breast-cancer-cases-study-suggests-2000534894