นักวิจัยชาวเกาหลีจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติอินชอนประสบความสำเร็จในการพัฒนา แผงโซลาร์เซลล์แบบโปร่งใสตัวแรกที่สามารถนำไปใช้งานกับหน้าต่าง อาคาร และโทรศัพท์มือถือได้

งานวิจัยชิ้นนี้ติพิมพ์ในในวารสาร Journal of Power Sources นำโดยศาสตราจารย์ Joondong Kim ด้วยการำนเสนอการใช้สารกึ่งตัวนำนิกเกิลออกไซด์ (NiO) และไททาเนียมไดออกไซด์ (TiO₂) ซึ่งทั้งสองอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คุ้มต้นทุน และสามารถสร้าง heterojunction ที่ดูดซับแสงและสร้างกระแสไฟฟ้าได้

แม้ว่าแผงโซลาร์เซลล์แบบโปร่งใสจะเป็นหัวข้อการวิจัยมาหลายปีแล้ว แต่การนำไปใช้จริงยังต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ความท้าทายที่สำคัญประการหนึ่งคื อสายไฟที่จำเป็นในการเชื่อมต่อแผงโซลาร์เซลล์แบบโปร่งใสในอาคารและหน้าต่างซึ่งต้องทำให้ไม่เป็นที่สังเกตเพื่อคงความโปร่งใสเอาไว้ ทำให้การบูรณาการเข้ากับการออกแบบสถาปัตยกรรมมีความซับซ้อน นอกจากนี้ สายไฟและระบบไฟฟ้าแบบเดิมในบ้านอาจไม่สามารถปรับให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ได้ง่าย ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายการปรับเปลี่ยน

ในทางตรงกันข้าม การรวมเซลล์แสงอาทิตย์แบบโปร่งใสเข้ากับอุปกรณ์พกพาอาจทำได้จริงมากกว่า โดยทั่วไปแล้ว สมาร์ตโฟนต้องการใช้เพียงแผงโซลาร์แผงเดียว รวมถึงสามารถออกแบบระบบสายไฟและการจัดการพลังงานเฉพาะสำหรับอุปกรณ์ซึ่งช่วยลดความซับซ้อนในการไปใช้งานจริงได้

สิ่งสำคัญคือ ประสิทธิภาพ ซึ่งเซลล์แบบโปร่งใสจะดูดซับแสงได้น้อยกว่าแผงทึบแสงแบบเดิม ทำให้เกิดคำถามว่าเซลล์เหล่านี้สามารถผลิตพลังงานได้มากเพียงใด และผู้บริโภคเต็มใจที่จะจ่ายเงินสำหรับเทคโนโลยีนี้มากเพียงใด สำหรับอุปกรณ์พกพา ต้องหาจุดสมดุลระหว่างต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและประโยชน์ของการชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์บนอุปกรณ์

แม้ว่านวัตกรรมนี้จะแสดงถึงการก้าวกระโดดครั้งสำคัญในเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ความสามารถในการใช้งานได้จริงนั้นขึ้นอยู่กับการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคและเศรษฐกิจเหล่านี้ หากประสบความสำเร็จ เซลล์แสงอาทิตย์แบบโปร่งใสอาจช่วยกำหนดรูปแบบการใช้พลังงานในบ้านและอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นใหม่ ซึ่งจะช่วยปูทางไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น

ที่มา https://www.ubergizmo.com/2025/01/transparent-solar-panels/