Whoscall เผยรายงานประจำปี 2567 ตรวจพบการหลอกลวงมากกว่า 168 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นกว่า 112% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สูงสุดในรอบ 5 ปี

จากรายงานวิเคราะห์สถานการณ์กลโกงของมิจฉาชีพในประเทศไทยประจำปี 2567 พบว่า ระบบของ Whoscall จากฐานผู้มใช้งานคนไทยกว่า 25 ล้านคน สามารถตรวจจับและแจ้งเตือนหลอกลวงมากกว่า 168 ล้านครั้งในปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นกว่า 112% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สูงสุดในรอบ 5 ปี เฉลี่ยแล้วพบความพยายามยามหลอกลวงเฉลี่ยวันละ 460,000 ครั้ง

ปัจจัยหลักเป็นผลมาจากการนำเทคโนโลยี AI มาใช้งานอย่างแพร่หลาย รวมถึงการหลอกลวงมีความซับซ้อนมากขึ้น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ช่องทางยอดนิยมที่มิจฉาชีพใช้คือ SMS พบมากสุดถึง 130 ล้านครั้งโตขึ้น 123%  เนื่องจากต้นทุนต่ำ ส่งได้ปริมาณมาก ส่วนมุกที่ใช้ยังเหมือนเดิมคือ ชวนเล่นเว็บพนัน หลอกส่งพัสดุ แอบอ้างหน่วยงานและหลอกให้ลงทุน เมื่อมีการตรวจสอบลิงก์อันตรายที่แนบมาพบว่า พาไป

  • เว็บปลอม 40% หลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว
  • ลิงก์พนัน 30%
  • ติดตั้งแอปที่มีมัลแวร์เพื่อขโมยข้อมูล 30%

ส่วนสายหลอกลวงพบ 38 ล้านครั้ง  เติบโตขึ้น 85% โดยกลลวงที่ใช้บ่อยคือ หลอกขายของ, แอบอ้างองค์กรต่างๆ ,ทวงเงินหนี้และ เงินกู้อนุมัติง่าย

นอกจากนั้น Whoscall ยังพบปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น โดยข้อมูลส่วนตัวของคนไทย 41% ข้อมูลหลุดไปยัง Dark web และ Deep web ซึ่งข้อมูล 97% เป็น อีเมล 88% เป็นเบอร์โทรและอาจมีข้อมูลอื่นๆ เช่น วันเดือนปีเกิด ชื่อนามสกุล รหัสผ่าน

“ด้วยสถานการณ์กลโกงที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง Whoscall ยืนหยัดที่จะใช้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI ที่มี่ประสิทธิภาพมายกระดับการป้องกันภัยจากการหลอกลวง เพื่อสร้างเครือข่ายป้องกันภัย           จากอาชญกรรมทางไซเบอร์ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนของสังคมไทย เราพร้อมทำงานร่วมกับภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนอย่างใกล้ชิดในการลดอัตราการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการหลอกลวงดิจิทัล  รวมถึงออกบริการใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อปกป้องทั้งผู้ใช้และองค์กรในทุกช่องทาง” นายแมนวู จู กล่าวสรุป

หลังจากเผยแพร่รายงาน บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย จะส่งรายงานฉบับนี้ไปยังหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนมาตรการรักษาความปลอดภัยสาธารณะ และสร้างสรรค์แคมเปญการสื่อสารให้แก่ประชาชนต่อไป