งานประชุม Cybersecurity Weekend ครั้งที่ 9 ของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกเผยข้อมูลเจาะลึกว่า AI จะเข้ามาป่วนโลกได้อย่างไรและผู้เชี่ยวชาญจะกำหนดแนวทางปกป้องเพื่ออนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นได้อย่างไร

AI สามารถเอาชนะมนุษย์ได้หรือไม่? ChatGPT เป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบมนุษย์หรือไม่? 

AI (Artificial Intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์) ได้กลายเป็นเครื่องมืออันทรงพลังด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และอื่นๆ การเปิดตัว ChatGPT ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ก่อให้เกิดการสนทนาและการถกเถียง เนื่องจาก AI ส่งผลกระทบที่เห็นได้ชัดของเทคโนโลยีโครงข่ายประสาทเทียมนี้ และเผยให้เห็นศักยภาพของ AI ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก

แคสเปอร์สกี้จัดงานประชุมประจำปี Cyber Security Weekend สำหรับสื่อมวลชนจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) เพื่อเจาะลึกเกี่ยวกับการทับซ้อนกันระหว่าง AI และอนาคตด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ การประชุมครั้งนี้มีชื่อว่า “Deus Ex Machina: Setting Secure Directives for Smart Machines” มีเป้าหมายเพื่อวางแบบแผนที่ปลอดภัยเมื่อโลกยอมรับการมาของ AI 

แคสเปอร์สกี้เองก็ได้ดำเนินการปฏิวัติหลายๆ สิ่งมายาวนาน โดยการค้นหาวิธีพัฒนาระบบไอทีด้วยการป้องกันตั้งแต่แรกเริ่ม นั่นคือ “Cyber Immunity” หรือ ภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์

ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับ ChatGPT คือ การที่อาชญากรไซเบอร์สามารถใช้ประโยชน์จาก ChatGPT เพื่อเพิ่มการโจมตีแบบฟิชชิงและมัลแวร์ได้ แนวคิด Cyber Immunity ของแคสเปอร์สกี้บ่งชี้ว่าการโจมตีทางไซเบอร์ส่วนใหญ่นั้นจะไม่มีประสิทธิภาพ และจะไม่สามารถส่งผลกระทบต่อฟังก์ชันที่สำคัญของระบบได้ หากเตรียมการไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบแรกเริ่ม

นายยูจีนแคสเปอร์สกี้ซีอีโอของบริษัทแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “Cyber Immunity ของแคสเปอร์สกี้ได้รับเครื่องหมายการค้าทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งประกอบด้วยระบบที่ปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ จึงทำให้สามารถสร้างโซลูชันที่จะไม่โดนรุกล้ำแทรกแซงได้เลย และยังลดจำนวนช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้น ในยุคที่ทั้งคนดีและคนเลวสามารถใช้เทคโนโลยีได้เหมือนกัน การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์รูปแบบเดิมๆ จึงไม่เพียงพออีกต่อไป เราจำเป็นต้องปฏิวัติการป้องกันของเราเพื่อสร้างโลกดิจิทัลที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น” 

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ในระดับแนวหน้าของการปฏิวัติ AI การศึกษาล่าสุดของ IDC ระบุว่าการใช้จ่ายด้าน AI ของภูมิภาคนี้จะเพิ่มขึ้นสองเท่าภายในสามปี จาก 9.8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2566 เป็น 18.6 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2569  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการพึ่งพาทักษะทางเทคนิค เอ็นเทอร์ไพรซ์ระดับท้องถิ่นส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิกจึงตั้งค่าให้ฝัง AI ไว้ในเทคโนโลยีทางธุรกิจภายในเวลาสามปี ปัจจุบัน

ปัจจุบันขนาดของตลาด AI ในเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ 22.1 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะเติบโตเกือบสี่เท่าภายในปี 2571 ที่ 87.6 พันล้านดอลลาร์

นายเอเดรียนเฮียกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “บริษัทต่างๆ ตระหนักถึงวิธีการใช้ประโยชน์จากพลังของ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสินทรัพย์ ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงปรับปรุงซัพพลายเชนเพื่อผลกำไรที่ดีขึ้น รายงานของ IDC ระบุเน้นว่าจีน ออสเตรเลีย และอินเดียเป็นผู้นำหลักสามรายที่มีการใช้จ่ายด้าน AI ของภูมิภาค และผมเชื่อว่าประเทศอื่นๆ จะดำเนินตามเช่นกัน นั่นทำให้ขณะนี้แคสเปอร์สกี้จัดทำแผนกลยุทธ์ที่ปลอดภัยในการนำ AI ไปใช้และปรับใช้งานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อเก็บเกี่ยวประโยชน์ของ AI โดยไม่กระทบต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์”

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Kaspersky Cyber Immunity โปรดไปที่เว็บไซต์

แคสเปอร์สกี้จะสานต่อการอภิปรายเกี่ยวกับอนาคตของความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่งาน “Kaspersky Security Analyst Summit (SAS) 2023” ซึ่งจะจัดขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 25 ถึง 28 ตุลาคม 2566 สำหรับนักวิจัยที่มีความสามารถสูงด้านการป้องกันมัลแวร์ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายระดับโลก ทีมตอบสนองเหตุฉุกเฉินทางคอมพิวเตอร์ และผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทบริการด้านการเงิน เทคโนโลยี การดูแลสุขภาพ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐจากทั่วโลก ผู้สนใจสามารถทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์

https://thesascon.com/#participation-opportunities