แนวความคิดการผสมผสานอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์กับเสื้อผ้าอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แค่ปัญหาก็คือจะใส่อุปกรณ์ที่มีความแข็งกับเสื้อผ้าที่มีความยืดหยุ่นได้ยังไง นอกจากนั้นยังมีเรื่องน้ำหนักที่เพิ่มเข้าไปและการดูแลรักษาอีก
Juan Hinestroza นักวิทยาศาสตร์ที่ Textiles Nanotechnology Laboratory จาก Cornell University ได้พยายามแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยความช่วยเหลือจากนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรไฟฟ้าจาก University of Bologna and Cagliari จนได้วิธีผลิตทรานซิสเตอร์จากเส้นใยคอตต้อนธรรมชาติ
กรรมวิธีแบบใหม่นี้ทำให้เพิ่มชั้นของอนุภาคไปบนเส้นใยคอตต้อนตามภูมิประเทศที่มันถูกปลูกขึ้นมา ด้วยการใช้อนุภาคทองคำ เซมิคอนดักเตอร์ โพลีเมอร์ที่นำไฟฟ้า ทำให้สามารถเปลี่ยนสารตั้งต้นของคอตต้อนให้กลายเป็น cotton-based circuits และการทำเป็นชั้นเลเยอร์จึงทำให้ผ้าที่ได้มีความบางและยืดหยุ่นเป็นธรรมชาติ การสร้างทรานซิสเตอร์ด้วยวิธีนี้จะนำไปสู่ระบบการทำงานที่มีราคาถูกและนำไปใช้กับผ้าคอตต้อนที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ สามารถนำไปประยุกต์ทำเสื้อผ้าที่ตรวจจับการเต้นของหัวใจและความดันเลือดได้ หรือเสื้อผ้าที่เปลี่ยนสีได้ตามอุณหภูมิของร่างกาย ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถทำได้โดยไม่ต้องติดอุปกรณ์ที่ใหญ่โตเทอะทะกับเสื้อผ้าเลย เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ถูกฝังมาในเส้นใยผ้าแล้ว
ถ้าใครสนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ก็หาอ่านบทความงานวิจัย “Organic electronics on natural cotton fibres” ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Organic Electronics research เดือนที่ผ่านมาได้ค่ะ