ผลพลอยได้ของเบียร์ไม่ใช่แค่การเมาค้างเท่านั้น แต่ยังมีซากธัญพืชที่เหลือจากการหมักอีกหลายล้านตันต่อปี
Anheuser-Busch ไม่ใช่แค่บริษัทที่ผลิตเบียร์ราคาถูกเท่านั้น แต่พวกเค้ายังเป็นผู้ผลิตซากขยะชีวภาพที่กองเป็นภูเขาใบโต เพราะในปีหนึ่งๆอุตสาหกรรมผลิตเบียร์จะใช้ธัญพืชประมาณ 400 ล้านตันซึ่งพวกมันจะถูกใช้ในขั้นตอนแรกของการหมัก หลังจากนั้นก็จะนำไปกำจัด ผู้ผลิตเบียร์ส่วนใหญ่ก็จะนำมันไปใช้เป็นอาหารสัตว์เพื่อลดค่าใช้จ่ายจากการนำของเหลือเหล่านี้ไปฝังกลบ แต่ทาง Anheuser-Busch ได้ค้นพบกับทางเลือกใหม่ นั้นก็คือนำซากธัญพืชเหล่านี้ไปผลิตเป็นสินค้า อย่าง เสื้อผ้าหรือเครื่องสำอางแทน
Anheuser-Busch ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัท Blue Marble Bio โดยวางแผนที่จะสร้างโรงกลั่นชีวภาพขนาดใหญ่ (biorefineries) ที่โรงงานหมักเบียร์ของ Anheuser-Busch breweries พวกเค้าจะใช้แบคทีเรียในการย่อยธัญพืชที่ใช้แล้วเหล่านี้ด้วยเทคโนโลยี “polyculture fermentation technology” กระบวนการนี้จะสร้างทั้งก๊าซ (ที่สามารถนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า) และสารประกอบเคมีที่ชื่อว่ากรดคาร์บอกซิลิกซึ่งจะนำไปใช้ผลิตสิ่งต่างๆได้ตั้งแต่ไนลอน,สบู่,สารปรุงรสอาหาร และน้ำยาขัดพื้น
Blue Marble ได้ตั้งเป้าจะทำการทดลองใช้ซากธัญพืชเป็นเวลาหนึ่งปี โดยสร้างเป็นโรงงานขนาดเล็กในมอนทาน่าเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ก่อนที่จะนำไปสร้างโรงงานขนาดใหญ่ ความท้าทายของ Blue Marble ก็คือทำให้เห็นว่าวิธีนี้ได้ทั้งใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดต้นทุนเมื่อนำขยะธัญพืชจำนวนมากมาใช้เพื่อสร้างรายได้ แถมยังได้ชื่อเสียงด้านการ PR ที่ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมอีก ถ้าโรงงานแห่งนี้ประสบความสำเร็จก็จะขยายไปใช้ในโรงงานหมักเบียร์สาขาใหญ่ทันที
VIA fastcompany