หลายคนมักจะคิดว่ามือถือที่เก็บไว้ในกระเป๋าสั่นเนื่องจากมีคนโทรหา, มีข้อความเข้าหรือมีการแจ้งเตือนอื่นๆ แต่พอควักมือถืออกมาดูจริงๆ กลับพบว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย อาการนี้เป็นอาการที่เรียกว่า Phantom vibration

Phantom vibration ก็คือปรากฏการณ์ที่คุณคิดว่ามือถือของคุณสั่นทั้งๆที่ความเป็นจริงไม่ได้สั่น อาการนี้เกิดขึ้นมาพร้อมๆกับยุคมือถือแต่เพิ่งมารู้จักในวงกว้างอย่างจริงจังเมื่อราวๆ 5 ปีที่แล้วว่าอาการนี้มีอยู่ เมื่อสื่อและองค์กรข่าวต่างๆได้นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องนี้มาเล่นประเด็นในหัวข้อ “syndrome” อาการอันเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าสื่อดิจิตอลได้รุกล้ำเข้ามีผลต่อการใช้ชีวิตของเราแล้ว ปัจจุบันนักวิจัยหลายๆคนก็ให้ความสนใจ อุทิศตัวศึกษาอาการเหล่านี้อย่างจริงจัง

นักวิจัยได้ทำการตั้งชื่อเล่นของอาการนี้ว่า hypovibochondria หรือ ring-xiety อาการนี้เรียกว่าคนส่วนใหญ่ที่ใช้มือถือก็ต้องเจออาการแบบนี้มาแล้ว อย่างในการสำรวจนักศึกษาจำนวน 290 คนเมื่อปี 2012 พบว่ามีนักศึกษาถึง 90% ที่บอกว่ามีอาการของ phantom vibrations แม้นักศึกษาจะบอกว่าความรู้สึกว่ามือถือสั่นนั่นไม่ได้รบกวนหรือกวนใจแค่นิดหน่อย แต่หลายคนก็หยิบมือถือขึ้นมาดูเพื่อให้ระดับความกังวลใจลดลง ส่วนงานวิจัยอีกชิ้นนึงแสดงให้เห็นว่า คนที่ทำงานในโรงพยาบาลมีอาการ phantom vibrations เป็นประจำทุกๆสัปดาห์หรือทุกๆเดือน สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่านี่ไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่ควรมองข้ามเลย

Dr. Larry Rosen นักวิจัยด้านจิตวิิทยาที่ทำการศึกษาเรื่องผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อจิตใจบอกว่า  “บางอย่างในสมองของเราเริ่มสั่งการให้เราหันไปดูมือถือ ซึ่งถ้าเป็นเมื่อ 5 หรือ 10 ปีก่อน ถ้าผมรู้สึกคันตรงกระเป๋ากางเกงที่ใส่มือถือ สิ่งที่ทำก็คือก้เอื้อมมือลงไปเกา แต่ถ้าเป็นตอนนี้สมองจะสั่งให้ล้วงมือถือขึ้นมาดูหน้าจอก่อน นี่คือตัวอย่างว่ามือถือกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการที่สมองของเราประมวลผลข้อมูล พฤติกรรมแบบนี้เหมือนการถูกครอบงำจากมือถือ หลายคนมักจะหยิบมือถือขึ้นมาดูบ่อยๆเหมือนมีอาการหมกมุ่นกับมันมากจนเกินไป ซึ่งคนเหล่นนี้ไม่ต่างกับคนที่มีอาการย้ำคิดย้ำทำ ยิ่งสมัยนี้คนเราอยู่กับมือถือตลอดเวลาจึงทำให้เกิดอาการแบบนี้ได้ง่ายๆ”

ทางนักวิจัยก็กำลังศึกษาหาวิธีแก้อยู่ค่ะ วิธีการแก้อาการเหล่านี้เบื้องต้นก็คือลดการใช้งานมือถือลงบ้าง สร้างสมดุลย์ในการใช้งานมือถือและชีวิตส่วนตัว แล้วก็ลองพยายามอยู่ห่างมือถือเป็นเวลาสั้นๆดูบ้าง วันนึงสักประมาณ 30 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมงกำลังดีค่ะ (อันนี้ไม่นับตอนนอนนะ)

[youtube]http://youtu.be/WlEfdsx0teM[/youtube]

Via NPR