มนุษย์เราไม่ได้มีกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่งจนยกของหนักๆได้ทุกคน โดยเฉพาะคนที่ป่วยความสามารถนี้จะลดลงไปอย่างเห็นได้ชัด ด้วยเหตุนี้ทางนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์จำนวน 4 คน จึงได้คิดประดิษฐ์แขนกลที่มีชื่อว่า Titan Arm ขึ้นมา

เจ้า Titan Arm ตัวต้นแบบนี้ใช้ชิ้นส่วนที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติ, เครื่องจักรที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ออกแบบในสนนราคาค่าวัตถุดิบอยู่ที่ $2,000 ซึ่งถือว่าต้นทุนถูกกว่าแขนกล exoskeleton ที่มีขายในตลาดถึง 50 เท่า อุปกรณ์ตัวนี้มีลักษณะคล้ายกับเป้สะพายหลังเชื่อมต่อกับแขนหุ่นยนต์อยู่ ข้อดีของการออกแบบก็คือช่วยรักษาท่าทางของผู้ใส่ให้ตั้งตรงและป้องกันอาการบาดเจ็บที่เกี่ยวกับหลัง ในส่วนของแขนกลมันช่วยให้ผู้ใส่สามารถยกของหนัก 40 ปอนด์ (ประมาณ 45.36 กิโลกรัม) โดยคุณไม่ต้องฟิตกล้ามเนื้อ เพิ่มซิกแพคเลยค่ะ (น้ำหนักสูงสุดที่แขนกลนี้ยกขึ้นนั้นสามารถปรับแต่งให้ยกได้มากกว่านี้ได้อีกค่ะ ถ้าต้องการ แต่เท่านี้ก็เหลือเฟือสำหรับงานทั่วไปแล้ว)

นั่นหมายความว่ามันเอามาใช้ได้ทั้งเรื่องงานยกของ รวมถึงนำมาใช้ทำกายภาพบำบัด โดยแขนนี้จะช่วยป้องกันปัญหาที่เกิดจากการขยับท่าเดิมซ้ำๆเป็นเวลานาน อย่างเช่น การก้มลงยกของหนักๆ ที่เมื่อยกบ่อยๆจะทำให้หมดแรงแล้ว ยังเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและร่างกาย ซึ่งบางปัญหาอาจจะเกิดอาการเรื้อรังส่งผลในระยะยาว

การฟื้นฟูร่างกายท่อนบนให้หายจากอาการบาดเจ็บจะง่ายขึ้นเมื่อใช้แขนกลนี้ เพราะมันใส่เซนเซอร์คอยตรวจจับการเคลื่อนไหวซึ่งนักกายภาพบำบัดสามารถติดตามข้อมูลระหว่างการฟื้นฟูได้  นอกจากนี้ข้อต่อที่เพิ่มขึ้นมายังช่วยวัดแรงต้านทานและช่วยนำมาใช้ในงานวิจัยเพื่อการรักษาโรคในอนาคต

ทางผู้สร้างหวังว่าการสร้างเครื่องมือช่วยเหลือในต้นทุนที่ต่ำลงจะช่วยเพิ่มทั้งผลผลิตด้านการทำงานและความสามารถทางกายภาพให้กับผู้ป่วยโรคต่างๆนับล้านคนทั่วโลก นอกจากนี้แบตเตอรี่สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง 8 ชั่วโมงด้วยการชาร์จไฟเพียงครั้งเดียว นั่นจึงทำให้ Titan Arm คว้ารางวัล “ingenious design” พร้อมเงิน $45,000 เพื่อนำไปใช้เป็นทุนพัฒนาเพื่อนำมาผลิตเป็นเวอร์ชั่นขายจริงในท้องตลาดค่ะ

[youtube]http://youtu.be/rwPbxWSv1aw[/youtube]

VIA DVICE