ช่วงแรกของการใช้งาน iTUNES สับสนกับตอน Apple มี Apple Music มาก เชื่อว่าหลายคนเป็นเหมือนกัน  แต่มาวันนี้ เป็นอีกความสำเร็จของแอปเปิ้ลที่ ฝันอยากเห็น ชุมชนคนทำเพลง มารวมตัวกันและได้ประโยชน์มากกว่า อรรถรสของคลังเพลง Apple Music บริการเพลงสตรีมมิ่งที่เอาจริงในการสร้างชุมชนคนดนตรี ทั้งคนสร้างและคนเสพ

APPLE MUSIC

Apple Music มาถึงวันนี้ เป็นบริการฟังเพลงสตรีมมิ่ง เปิดมา 3 ปีแล้วและโตไวมาก นับแล้ว ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการกว่า 50 ล้านคนและมีเพลงให้เลือกฟังมากถึง 45 ล้านเพลง!! ตอนนี้แอปฟังเพลงก็เยอะ และเรื่องนี้ก็ไม่เกี่ยวกับคนที่ ไม่มีอุปกรณ์ไอโฟน ไอพอต หรือไอแพตเลยแม้แต่น้อย แต่มองอีกมุม มันอาจเป็นเหตุผลนึงของคนรักเพลง ที่ตัดสินใจเลือก”อุปกรณ์แอปเปิ้ล”เพื่อเลือกเสพเพลงที่เค้าต้องการแม้กระทั่ง ศิลปินเอง ที่จากการสัมภาษณ์ ก็รู้สึกอินกับ “บริการที่แอปเปิ้ลขยันคัด ขยันใส่ใจ และมีอะไรที่มากกว่าให้บริการฟังเพลง”

ซีต้องยอมรับว่า APPLE MUSIC เป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมของแอปเป้ิล ไม่ต่างจากการสร้าง “ร้านค้าของแอปเปิ้ลที่มุ่งเน้นมากกว่าการขายของ” บริการเพลงเค้าคัดเลือก “คน” ที่มีความรักในเสียงเพลงอย่างลึกซึ้งมาคัดสรรเพลงอีกที โดยเน้น นำเสนอเนื้อหาที่ตอบโจทย์ความสนใจของคนในแต่ละประเทศ
และ การสร้าง”ชุมชนคนรักเพลงตัวจริง”เป็น หนึ่งในวัตถุประสงค์หลัก คือ แอบพยามช่วยส่งเสริมให้ศิลปินประสบความสำเร็จแบบโกอินเตอร์ได้จริงจัง

ศิลปินที่กำลังติดอันดับเพลงยอดฮิตมาแรงในตอนนี้อย่าง Polycats คุยกับซีว่า สำหรับคนทำเพลง apple music เหมือนกับ supermarket ทางดนตรีที่มีเพลงให้เลือกฟัง เลือกหยิบมาใช้ ในการสร้างสรรค์เพลงใหม่ได้ดีมาก
แน่นอน เค้าฟังเพลงเพื่อสร้างเพลง การมีเพลงหลากหลาย ในจำนวนมหาศาลมันคือ คลังเพลงที่ไม่ต้องเดินทางไม่แสวงหาที่ไหนอีก และไม่ได้มีเฉพาะเพลงในกระแส ในแต่ละประเทศ

บางช่วงของการพูดคุย สัมภาษณ์ ซีได้บอกกล่าว ความประทับใจในตัวรุ่นน้องรั้วจุฬา ที่ประสบความสำเร็จอย่างสวยงามเช่นกันในวงการบันเทิงนี้อย่างน้อง วี วิโอเลต วอเทียร์ และ น้อง เอิ๊ต ภัทรวี ศรีสันติสุข สิ่งที่น่าชื่นชมมากกว่า เสียงที่ไพเราะ และ การดีไซน์การร้องเพลงที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ความคิดที่สะท้อนความเป็นศิลปินตัวจริงรุ่นใหม่ ที่มี “แนวทางดนตรี” “แนวทางสื่อสารในเพลง” ของตัวเองที่ชัดเจน และ เหนือกว่านั้นคือ “แนวคิดของการเป็นคนทำเพลงเอง” สนุกสนาน แปลกใหม่ และ แววตาเต็มไปด้วยความท้าทายโลกยุคใหม่

วันนี้เพลงจะดัง ไม่ได้ต้องรอค่ายดัน เหมือนยุคก่อน และแน่นอน นี่เป็น Disruption ของวงการเพลง วงการดนตรีระดับโลก มาได้สักระยะที่ค่ายเพลงต้องทำการบ้าน เมื่อโลกดิจิตอล ในมิติผู้สร้าง และ นักร้อง หมุนมาสู่ “ยุคที่เราขายเป็นเพลง” เพลงที่ดีมีคุณภาพ เตะหูโดนใจ เราจะโหลด ไม่ต้องขายยกแพ็ค ทั้งอัลบั้ม แต่ชอบจริง 1-2 เพลงเหมือนเมื่อก่อน ทำให้วงการเพลง มีโอกาสต้อนรับ บรรดาคนทำเพลงหน้าใหม่ ไม่สังกัดค่ายไหน และ โลกดนตรีสามารถเข้าถึง และ สื่อสารไปไกลทั่วโลก ไปได้ไกลกว่า ตลาดเพลงในประเทศ

บทสัมภาษณ์ หรือข้อความสั้นของศิลปินที่เคยมีใน ปกซีดี หรือปกเทปหน้าในๆ กลายมาเป็น LIVE SESSION เหมือน คลิปหรือภาพ ประกอบข้อความ ที่คนยุคนี้เรียกว่า “บล็อกสั้นๆ”ของศิลปิน ที่ศิลปินไทย “น้องเอิ้ต” ยืนยันด้วยน้ำเสียงสดใสว่า มันเหมือนการคุยกับเพื่อน ทั้งตอนที่เธอได้ดูศิลปินต่างประเทศ และ ตอนที่ตัวเองได้ทำเพื่อสื่อสารกับ แฟนๆเอง