รู้หรือไม่ : ที่ผ่านมาประเทศไทยเราใช้ดาวเทียมระบบสัมปทาน

นายเสน่ห์ สายวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานกสทช.

พิธีมอบหลักฐานการอนุญาตในการเข้าใชวงโคจรดาวเทียมครั้งแรก

ในวันนี้ (30 กันยายน 2563) ทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ได้จัดพิธีมอบหลักฐานการอนุญาตสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศไทยจะใช้ระบบสัมปทานมาโดยตลอด  เมื่อทางกสทช.ได้รับหน้าที่ในการดูแลวงโคจรดาวเทียมจึงได้ดำเนินการระบบการอนุญาต (License) อย่างเป็นทางการ โดยที่การได้รับอนุญาตสิทธินั้นหมายถึงเป็นการรับประกันว่าสามารถใช้งานได้จริง และได้รับรองอย่างเป็นทางการ ดังนั้นแล้วดาวเทียมที่ยังไม่ได้รับการอนุญาตสิทธิ์แต่มีการส่งออกไปอวกาศแล้วก็ถือว่ายังไม่ได้เป็นที่ยอมรับนั่นเอง

นายณัฐวุฒิ อาจปรุ ผู้อำนวยการสำนักกิจการดาวเทียมสื่อสาร กสทช.

โดยการให้ License ครั้งแรกนี้เป็นการบุกเบิกที่ดาวเทียมขนาดเล็กจากทั้ง 5 หน่วยงาน (6 ข่ายงานดาวเทียม) ซึ่งเป็นข่ายดาวเทียมประเภทวงโคจรดาวเทียมไม่ประจำที่ (NGSO) ดังนี้

1. กองทัพอากาศ โดยกรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ เป็นผู้รับอนุญาตสิทธิขั้นต้น สำหรับข่ายงานดาวเทียม NAPA-2 (NGSO) และข่ายงานดาวเทียม RTAFSAT (NGSO)

2. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เป็นผู้รับอนุญาตสิทธิขั้นต้น สำหรับข่ายงานดาวเทียม THEOS2 (NGSO) และสิทธิขั้นสมบูรณ์ สำหรับข่ายงานดาวเทียม THEOS (NGSO)

3. สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมป์ เป็นผู้รับอนุญาตสิทธิขั้นต้น สำหรับข่าวงานดาวเทียม JAISAT-1 (NGSO)

4. โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็นผู้รับอนุญาตสิทธิขั้นต้น สำหรับข่ายงานดาวเทียม BCCSAT-1 (NGSO)

5. กองทัพอากาศ โดยโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็นผู้รับอนุญาตสิทธิขั้นต้น สำหรับข่ายงานดาวเทียม THAIIOT (NGSO)

ซึ่งจะพบว่าเกือบทั้งหมดเป็นการอนุญาตสิทธิขั้นซึ่งสามารถอยู่ในวงโคจรได้ 7 ปีแล้วจึงต่อสิทธิ หรือเปลี่ยนเป็นสิทธิขั้นสมบูรณ์ ซึ่งในครั้งนี้มีดาวเทียมที่ได้สิทธิขั้นสมบูรณ์ให้สามารถอยู่ในวงโคจรได้ยาว 15 ปี ด้วยกัน 1 ดวงนั่นก็คือ THEOS จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)