Apple เปิดตัวโครงการ Today at Apple Creative Studios Bangkok ชวนเด็กรุ่นใหม่ เรียนรู้การเขียนเพลง ทำเพลง ดนตรี จนไปยังการผลิต MV สร้างแรงบันดาลใจและมอบโอกาสแก่ครีเอทีฟรุ่นใหม่
มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ คือใคร?
คุณยีราฟ หรือคุณสรวิศ ไพบูลย์รัตนากร ทองว่าปัญหาต่างๆในสังคมสามารถแก้ได้ด้วยการให้การศึกษากับเด็กๆ จึงเริ่มเป็นครูสอนเลขในโรงเรียน กทม. ระดับชุมชนที่พื้นฐานฐานะยากจน ไปสอนเลขเด็กม.ต้น แม้พยายามสอนเด็กคณิตศาสตร์แต่มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ฐานะครอบครัว, การเลี้ยงดู จนไปถึงระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนที่จำกัดศักยภาพเด็กมาก ทั้งที่เด็กน่าจะไปได้มากกว่านี้
เพราะพื้นที่เรียนรู้นั้นไม่เหมาะกับเด็กเท่าไหร่นัก จึงเริ่มทำกิจกรรม รร.วันเสาร์ (Saturday School) โดยเชื่อว่าเด็กเมื่อได้เรียนสิ่งที่ตัวเองสนใจเช่นศิลปะ เต้น ร้องเพลง เขียนโปรแกรม กีฬา ทำให้เด็กรู้ว่าชอบอะไร เลือกเรียนในสิ่งที่ตัวเองอยากเรียน คงดี
ในสังคมไทย มีคนเก่งที่อยากช่วยเหลือเด็ก จึงริเริ่มแนวทางอาสาสมัครช่วยเด็กขาดโอกาส ซึ่งทำมาต่อเนื่องปีที่ 7 มี 10 รร.ในกทม.และขยายไปภูเก็ตแล้วด้วย
Today at Apple Creative Studios Bangkok
โครงการ Creative Studios ช่วยเสริมสร้างทักษะหลายด้านเรื่องครีเอทีฟ นอกเนือจากหลักวิชาการ การปลดปล่อยศักยภาพเด็กคือการได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองเรียน ปลดปล่อยความรู้สึกนึกคิดโดยไม่ตัดสินเค้า ความคิดสร้าง, ศิลปะ หรือเพลงเป็นสิ่งที่ทำให้ ศักยภาพถูกปลดปล่อยอย่างดี ทุกอย่างคือ ศิลปะที่ไม่ได้บอกว่าอะไรสวยกว่ากัน
การใช้ความคิดสร้างสรรค์ทำให้แต่ละคนมีการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง (self-esteem / self confident) มากขึ้น เพราะในห้องเรียนถูกตัดสินตลอดเวลา คิดเลขผิดทำข้อสอบผิด ทำให้คุณค่าตัวเองต่ำ ไม่ใข่แค่การพัฒนาตัวเองระหว่างเรียนกับเรา แต่ที่บ้านเด็กเหล่านี้ก็เอาไปซ้อม ไปเรียนรู้เพิ่มด้วยตัวเอง ทำให้ได้ทักษะ life-long learning ติดตัวไปด้วย
ปัญหาจากการเรียนออนไลน์คือ สุขภาพจิต (mental-health) เพราะเด็กจะเครียดที่ต้องนั่งหน้าจอตลอดเวลา พวกครีเอทีฟโปรแกรม จะทำให้ปลดปล่อยพลังงานด้านสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาจิตใจ จากการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ เด็กในโครงการโชคดีมาก เพราะมีโอกาสได้เจอศิลปินตัวจริงในวงการด้วย ปูทางสู่การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ในอนาคต ทั้งตัวเองและครอบครัวมีโอกาสรอดจากวิกฤตได้ด้วย
“การศึกษาที่ไม่ใช่วิชาการ การเชื่อมั่นตัวเอง คิดสร้างสรรค์ ก็เป็นหลักที่ต้องพัฒนา”
คุณพอล สิริสันต์ ผู้บริหารค่าย Universal Music (Thailand) หนึ่งในเมนเทอร์ในโครงการนี้ ที่เป็นเสาหลักโครงการ ได้แชร์ว่า อยากมอบให้เด็กไทย เยาวชนไทย เพราะมองจากธุรกิจไม่เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นกับเด็กๆเหล่านี้ ไม่ได้ต้องการให้เด็กคิดหรือตั้งเป้าอยากเป็นศิลปินจากโครงการนี้ เพราะนั่นคือ 1 ในล้านคน ต้องทำยังไงเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ให้เค้าอยากทำงานในอุตสาหกรรมบันเทิง ไม่ต้องเป็นศิลปิน เขียนเพลงได้หรือเต้นดีเท่านั้น
ซึ่งคุณพอลได้เห็นคุณค่าของการฝึกงานในค่ายเพลงตอนตั้งแต่อายุ 13-14 ปี ได้เก็บของในโกดังหรือถือกีต้าร์ให้ศิลปินก่อนเล่นคอนเสิร์ต มันก็เป็นประสบการณ์ที่มากับตัวเราว่าถ้าเราขวนขวายก็อาจจะกลับมาที่ธุรกิจเพลงได้ คิดกันเยอะมากว่าจะทำอย่างไรให้การเรียนรู้ ครบทุกด้าน ได้ทำครบทุกส่วนของการทำค่ายเพลงจริงๆ ตั้งแต่ศูนย์จนถึงการออกเอมวีเพลง เด็กอาจพบตัวเองว่าชอบตรงจุดไหน เช่น การทำพีอาร์ หรือ การผลิตเพลง
วงการเพลงตั้งแต่ต้นปี 2000 ธุรกิจเพลงหดตัวลงมากเพราะเทปผี ซีดีเถื่อนไฟล์ mp3 ยันปี 2018 จำนวนบุคลากรลดลงอย่างน่าใจหายทำให้ได้เด็กไม่มีประสบการณ์ทางตรง ทางอ้อม ในวงการนี้ เพราะงั้นการปูพื้นในเด็กเข้ามามีคุณค่าในวงการเพลงต้องทำยังไง โดยใช้เวลานานมากทั้ง Apple และทุกคน เมนเทอร์ เพื่อให้หลักสูตรนี้ สำเร็จ ครบถ้วน
คุณบูม (บรกรณ์ หลงสวาสดิ์) หัวหน้าฝ่ายสร้างสรรค์ Cat Radio เริ่มต้นจากการชอบฟังเพลง เพราะมีแค่ศิลปิน คนฟังเพลง ยุคที่มีเทปโดยไม่รู้เลยว่ามีอีกหลายอาชีพในวงการนี้ หลังจากทำงานเห็นศักยภาพเด็กม.ปลายที่ส่งเพลงเข้ามาอย่าง เดอะทอยส์ที่ประสบความสำเร็จได้ ในยุคนี้ ทำได้มากกว่า ยุคที่เราเด็ก ถ้าน้องๆมีทั้งพรสวรรค์ มีความสนใจและได้เรียนด้วย ก็คิดว่า จะสำเร็จ เร็วขึ้นโดยไปชวน พี่บอย ตรัย , พี่นภ พรชำนิ , พี่เล็ก Greasy Cafe ที่ชอบเขี่ยนเพลงเกี่ยวกับชีวิต มีความดาร์คคนละแนว , คุณ เจ มณฑล เบื้องหลังศิลปินทั้งในและต่างประเทศ เพื่อมาสอนสร้างแรงบันดาลใจในชั้นเรียน
รวมถึงดึงคุณอมราพร แผ่นดินทอง จาก GDH มาสอนเรื่องการทำเอมวียังไงในพลอตเรื่องน่าสนใจทุกวันนี้ยังอยากรู้ว่าเพลง มันต้องเขียนอย่างไรให้ถูกต้อง ครบรอบด้าน ถ้ามีโอกาส อยากเรียนเองครบทุกคลาสเลยด้วยซ้ำ
“การสร้างแรงบันดาลใจ โดยบุคคลระดับมืออาชีพที่น้องๆ ตื่นเต้นมาพูด อธิบายกระบวนการจริงของการทำงาน ได้เจอตัวจริงและพูดคุยกับตัวจริง”
เป็นครั้งแรก ที่เป็นโครงการใหม่ เพื่อตั้งเป้าเยาวชน 15-18 ปี โดยเลือกจาก 40 คน เบื้องต้นกระจายข่าวให้รร.ในเครือพันธมิตร ที่เป็นเด็กที่มีการปูพื้นฐาน มาตั้งแต่ม.ต้น พอมาม.ปลายก็จะเป็นนักเรียนที่พัฒนามาบ้างแล้ว มีการส่งใบสมัครมา ให้เด็กอธิบายตัวตน ความคิดความสามารถ
เบื้องต้นเป็นเครือข่ายเด็กที่เรากำลังต้องการค้นหาอยู่ ไม่เน้นเด็กมีฐานะ เริ่มจากพาร์ทเนอร์ก่อนอันดับแรก แนวคิดเหมือนกันทั้งโลก จึงอยากให้โอกาสกับ “คนที่ไม่ค่อยได้รับโอกาส” คือ รร.รัฐในกทม.และปริมณฑล เพื่อ”ขยายโอกาส”(ม.3-ม.6) เรียกว่า เด็ก”ไม่ค่อยได้รับโอกาส”ที่มี ฐานะครอบครัวค่อนข้างยากจน เมื่อปรับรูปแบบมาจัดในช่องทางออนไลน์ การทำเวิร์คช้อป คือ Apple สนับสนุน “iPad” “ปากกา Apple Pencil” “หูฟัง” และสนับสนุนแอปที่จำเป็นในการเรียนรู้ เช่น iMovie , Garageband เป็นต้น
คุณยีราฟแชร์ว่า “น้องๆแต่ละคนจะได้ค้นหาตัวเองในอุตสาหกรรมเพลงได้มากขึ้นและมีสิทธิเลือกว่า อยากจะไปต่อในจุดไหน เช่น นักสร้างพอตแคสท์ นักแต่งเพลง นักตัดต่อ”
คุณบูมแชร์ว่า “น้องทั้งหมด ชอบดนตรีแน่นอน แต่เสริมการสอนงานเบื้องหลังทุกอย่าง เพื่อในอนาคตจะได้ทราบว่าน้องถนัดอะไร”
แนวทางการวัดผล อยากให้มีการนำเสนอผลงานที่น้องๆได้ผลิตออกมา พร้อมได้ sharing มีการเฉลิมฉลองโครงการน้องๆ เป็นรอบ public ในการบ่มเพาะ 14 สัปดาห์
เริ่มปฐมนิเทศแล้วเมื่อวันที่ 10 กค.ที่ผ่านมา ซึ่งแต่ละสัปดาห์จะสามารถเข้าไปฟังได้ ทุกสัปดาห์ ตั้งแต่ 10.30-14.30 โดยมีเวลาหนึ่งชั่วโมง ครึ่งต่อหนึ่งศิลปิน มีครบทั้งสี่ด้านของการทำเพลง เช่น ทำเพลงแต่งเพลง , การทำบีท ซาวด์ ,โปรดักชั่น และกราฟฟิค.ดีไซน์

Deirdre O’Brien
ทาง Deirdre O’Brien รองประธานอาวุโสฝ่าย Retail + People ของ Apple ได้ให้สัมภาษณ์และตอบคำถามเกี่ยวกับโครงการนี้ไว้อย่างน่าสนใจค่ะ