ฮ่องกงสู้สุดพลัง รับเป็น “หน้าต่างสู่โลกกว้างของประเทศจีน” พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจเต็มสูบด้วย การส่งเสริมการค้าบนโลกดิจิทัลและสร้างการบริหาร 1 ประเทศ 2 ระบบผ่านจุดแข็งคือการบูรณาการระหว่างหน่วยงานแบบ “สามัคคีคือพลัง”

ฮ่องกงได้กลายเป็นเขตบริหารพิเศษของสาธารณะประชาชนจีนมาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 1997 ภายใต้แนวคิด หนึ่งประเทศสองระบบ ส่งผลให้ HKSAR มีอำนาจในการตัดสินใจเองสูงมาก ทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ การค้า การเงินและการลงทุน โดยยึดนโยบายตลาดเสรี ครอบคลุมทุกการค้าและการลงทุนใน HKSAR.

ภาพจาก Asstinker~commonswiki 

ทั้งหมดนี้รับรองโดยกฎหมายพื้นฐานเพื่อให้มั่นใจว่าองค์ประกอบต่างๆจะทำให้ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางด้านการเงินในระดับนานาชาติ ซึ่งทางภาครัฐยังลงทุนด้านเศรษฐกิจและระบบการค้า การเคลื่อนย้ายสินค้าและเงินทุนได้อย่างเสรี รวมถึงท่าเรือฟรี ระบบภาษีแยกตามพื้นที่ การให้สิทธิพิเศษทางภาษี ภายใต้การใช้ชื่อ “Hong Kong, China”.

ภาพรวมเศรษฐกิจของฮ่องกง

เศรษฐกิจของฮ่องกงขึ้นอยู่กับเศณษฐกิจส่วนอื่นๆของโลก ในปี 2021 มูลค่าการค้าอยู่ที่ 10,268,400 ล้านฮ่องกงดอลลาร์หรือคิดเป็น 358% ของ GDP มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 5,307,800 ล้านฮ่องกงดอลลาร์ คิดเป็น 185% ของ GDP ส่วนมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 4,960,700 ล้านฮ่องกงดอลลาร์ คิดเป็น 173% ของ GDP ส่งผลให้ Hong Kong ขึ้นแท่นอันดับ 6 ของโลกในด้านของการค้าขายสินค้า อันดับ 7 ในด้านของการส่งออก และอันดับ 6 ในแง่ของการนำเข้าสินค้า ฝั่งของธุรกิจบริการนั้นถือเป็นอีกส่วนที่มีความสำคัญอย่างมาก คิดเป็น 93% ของ GDP และทำให้เกิดการจ้างงานถึง 89% จากจำนวนการจ้างงานทั้งหมดในปี 2020

ฮ่องกงและจีนเป็นพันธมิตรการค้ารายสำคัญต่อกัน

  • นับตั้งแต่จีนปฎิรูปแลละเปิดประเทศ การค้าของฮ่องกงในระดับโลกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เพิ่มจาก 9.3% ในปี 1978 เป็น 52.4% ในปี 2021
  • Hong Kong และจีนได้เซ็น “Mainland and Hong Kong Closer Economic Partnership Arrangement” (CEPA) เมื่อมิถุนายน June 2003 เพื่องดเก็บภาษีสินค้าที่มีต้นกำเนิดจากฮ่องกงที่เข้าเกณฑ์ของ CEPA ทำให้เกิดการพัฒนาการค้าระหว่างทั้งสองประเทศ
  • ปี 2021 ฮ่องกงถือเป็นพันธมิตรการค้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ถัดจากสหรัฐ, ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยมูลค่าคิดเป็น 6.0% ของการค้าจีนทั้งหมด
  • Hong Kong เป็นประเทศส่งออกรายใหญ่เป็นอันดับที่สองของจีน โดยคิดเป็น 10.4% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดในปี 2021
  • จีนถือเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ของฮ่องกงมาตั้งแต่ปี 1982 มูลค่าการนำเข้าสินค้าจากจีนคิดเป็น 2,433,500 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือ 45.8% ของการนำเข้าทั้งหมดในปี 2021 โดยสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า, อุปกรณ์และเครื่องมือโทรคมนาคม, อุปกรณ์สำนักงานและระบบอัตโนมัติ เป็นต้น
  • ปี 2021 จีนถือเป็นประเทศที่ฮ่องกงส่งออกสินค้าในประเทศไปขายมากที่สุด คิดเป็น 29,100 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือ 39.0% ของสินค้าส่งออกทั้งหมด สินค้าส่วนใหญ่เป็นพลาสติก, แร่โลหะ รวมถึงเศษโลหะ ยาและเวชภัณฑ์ เป็นต้น
  • ฮ่องกงมีตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ โครงสร้างพื้นฐานที่ดี มีเครือข่ายการสื่อสารระดับนานาชาติ ทำให้มีบทบาทสำคัญด้สนการค้าระหว่างจีนและประเทศอื่นๆในโลก ปี 2021 มูลค่าการส่งออกจากจีนไปฮ่องกงเพื่อส่งต่อไปยังประเทศอื่นๆนั้นมูลค่าอยู่ที่ 4,373,00 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง

จีนเป็นพิกัดยุทธศาตร์ที่สำคัญต่อการส่งออก

  • มลฑลกวางตุ้งของจีนนั้นได้พัฒนาสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการลงทุนและโครงสร้างพื้นฐาน ที่สำคัญอยู่ใกล้กับฮ่องกง ซึ่ง 3 เมืองหลักที่เป็นฐานสำหรับการส่งออกของฮ่องกงคือ ตงกวน, เซิ่นเจิ้นและกวางโจว
  • ปี 2021 การส่งออกของฮ่องกงไปจีนคิดเป็น 19.1% ของการส่งออกทั้งหมด

ฮ่องกงเป็นจุดยุทธศาสตร์ของบริษัทจากจีน

  • จีนเป็นประเทศที่ฮ่องกงไปลงทุนโดยตรงใหญ่เป็นอันดับที่สอง ปลายปี 2020 มูลค่าการลงทุนในจีนคิดเป็น 27.1% ของการลงทุนตรงทั้งหมดหรือเทียบเท่ามูลค่า 3,893,400 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง
  • เมือมิถุนายน 2021 มีบริษัท 252 บริษัทจากจีนมาตั้งสำนักงานใหญ่ที่ฮ่องกง มีทั้งบริษัทการเงินการธนาคาร, นำเข้า/ส่งออก, ค้าปลีก/ค้าส่ง, บริษัทเทคโนโลยี, การขนส่ง เป็นต้น นอกจากนั้นอีก 377 บริษัทยังเลือกตั้งสำนักงานระดับภูมิภาคที่ฮ่องกง
  • เมื่อ 31 ธันวาคม 2021 มีธนาคาร 32 ธนาคารจาก 160 ธนาคารที่ได้รับใบอนุญาตในฮ่องกง เป็นธนาคารจากจีน

ฮ่องกงเป็นแหล่งลงทุนจากต่างชาติรายใหญ่ในจีน

  • ฮ่องกงเป็นแหล่งการลงทุนตรงจากต่างประเทศของจีน คิดเป็น 53.3% ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดในปี 2020 ซึ่งมีการลงทุนสะสมแล้วมากกว่า 10,094,200 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง
  • การลงทุนของฮ่องกงในจีนเน้นไปที่มลฑลกวางตุ้ง ในปี 2021 มลฑลกวางตุ้งได้รับเงินลงทุนไปมากกว่า 143,200 ล้านหยวนหรือเพิ่มขึ้น 20.4% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยฮ่องกงเข้าไปลงทุนในจีนหลากหลายด้าน ทั้งสารสนเทศ/การสื่อสาร, อสังหาริมทรัพย์, บริการด้านธุรกิจ, บริการการเงิน, การผลิต รวมถึงการค้าปลีกและค้าส่ง

ฮ่องกงกับเขตการค้าเสรี

  • ฮ่องกงสนับสนุนระบบการค้าแบบพหุภาคี ตามหลักการ WTO/GATT ไม่มีการกีดกันทางการค้าหรือปฏิบัติต่อชาติใดเป็นพิเศษ ฮ่องกงให้ความสำคัญกับสิทธิและปฏิบัติตามกฎในฐานะสมาชิกของ WTO พร้อมมีนโยบายการค้าเสรี
  • ฮ่องกงได้อันดับประเทศที่มีเศรษฐกิจเสรีที่สุดจาก Fraser Institute’s Economic Freedom of the World 2021 Annual Report เนื่องจากฮ่องกงไม่มีการอุดหนุนการส่งออก ไม่มีการเก็บภาษีสินค้าที่เข้าฮ่องกง โดยภาษีนั้นจะเก็บเฉพาะสินค้า 4 กลุ่มเท่านั้น ซึ่งปี 2021 มีการเก็บภาษีนำเข้าแค่ 0.5% จากสินค้านำเข้าทั้งหมด
  • ฮ่องกงไม่มีกำแพงการค้า รวมถึงปฏิบัติบริษัทในประเทศและต่างประเทศเท่าเทียมกัน

ยิ่งทั้งฮ่องกงและจีน เพิ่มความร่วมมือในการบูรณาการต่าๆเพื่อให้ส่งเสริมการค้าทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ทำให้กลายเป็นจุดแข็งในการส่งออกสินค้านวัตกรรมจากจีนไปสู่สายตาชาวโลก