เทคโนโลยีเพื่อประเทศกำลังพัฒนา ชาร์จมือถือจากดิน Oh! My God

การที่คนในประเทศที่กำลังพัฒนามีมือถือใช้สามารถก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาลเช่น เดียวกับการพัฒนาทางด้านการแพทย์ เพราะคนที่อาศัยในพื้นที่ที่ห่างไกลสามารถใช้ติดต่อบุคลากรทางด้านการแพทย์ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง หรือจะใช้สมาร์ทโฟนโหลดแอพเกี่ยวกับการแพทย์มาใช้ก็ย่อมได้ แต่บางพื้นที่ยังมีปัญหาเรื่องไฟฟ้าที่ยังขาดเรื่องสเถียรภาพหรือไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง ทำให้การชาร์จแบตโทรศัพท์เมื่อแบตหมดจึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย

ดังนั้นทีมวิจัยจาก Harvard School of Engineering and Applied Sciences (SEAS) จึงได้พัฒนาโทรศัพท์ที่สามารถชาร์จแบตได้จากเซลล์เชื้อเพลิงเเบคทีเรีย ( microbial fuel cell-based charger) โครงการนี้ริเริ่มโดย Dr. Aviva Presser Aiden และนักศึกษา Harvard Medical School อุปกรณ์ที่เธอคิดค้นขึ้นมาโดยใช้วัตถุผิวหน้าที่เป็นสื่อนำไฟฟ้าจากอิเลคตรอนที่เกิดจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ของแบคทีเรียในดิน โดยเธอได้ใช้กรรมวิธีนี้ผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้กับหลอดไฟ LED ในห้องทดลองมานาน 14 เดือนแล้ว

เมื่อพวกเขาพร้อม Aiden วางแผนที่จะทำการศึกษาภาคสนามโดยการนำที่ชาร์จนี้ไปแจกจ่ายในพื้นที่ชนบทของประเทศแอฟริกา แต่เป้าหมายสูงสุดของเธอคือ การที่ให้พวกเค้ายืนได้ด้วยลำแข้งของตัวเอง สามารถสร้างเครื่องชาร์จได้เองจากวัสดุที่มีอยู่แล้ว อย่างเช่นบานกระจกหรือกระป๋องน้ำอัดลม เธอเชื่อว่าเครื่องชาร์จนี้สร้างเองได้ภายในเวลาไม่กี่นาทีในราคาที่ไม่ถึง 30 บาท และสามารถชาร์จแบตให้เต็มได้ในเวลา 24 ชั่วโมง

ปัจจุบันแอฟริกามีประชากรประมาณ 500 ล้านคน ส่วนใหญ่ไม่มีไฟฟ้าใช้ และมีครัวเรือนแค่ 22 % เท่านั้นที่มีมือถือใช้ ดังนั้นเมื่อแบตหมด คนส่วนใหญ่จำเป็นต้องเดินทางไกลs ไปหาจุดบริการชาร์จไฟ ที่คิดค่าบริการตั้งแต่ 15-30 บาทต่อครั้ง ในขณะที่ชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นทางเลือกก็มีราคาแพงเกิน แถมยังหาซื้อยากและบริการซ่อมก็ไม่หาค่อยมี ล่าสุด โปรเจ็คนี้เพิ่งได้รับเงินทุนสนับสนุน 100,000$ ในสาขานวัตกรรมทางด้านสุภาพจากมูลนิธิของบิลเกตต์และมิลินดาไปแล้ว น่าชื่นชมจริงๆนะคะกับเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนบางกลุ่มให้ดีขึ้น

VIA Gizmag