ข้อเสียของหน้าจอสัมผัสขนาดเล็กก็คือ ไม่ค่อยมีที่ว่างพอให้ใช้งานได้เยอะสำหรับฟีเจอร์อื่นๆ จะสั่งงานแต่ละทีต้องจิ้มเมนูเลือกคำสั่ง ช้าไม่ทันใจวัยซะรุ่นเลย

ทีมนักวิจัยจากสถาบัน Human-Computer Interaction Institute แห่ง Carnegie Mellon University ได้พัฒนาระบบจอสัมผัสทางเลือกขึ้นมา โดยตัวต้นแบบนี้มีชื่อว่า TapSense system โดยมันสามารถแบ่งแยกสิ่งที่สัมผัสหน้าจอได้ว่าคือส่วนไหนของนิ้ว แถมยังทำงานต่างไปตามส่วนที่ใช้สัมผัสด้วยล่ะ

TapSense ทำงานโดยวิเคราะห์เสียงของวัตถุที่กระทบแผ่นกระจกบนหน้าจอภาพระบบสัมผัส ด้วยการใช้ไมโครโฟนราคาไม่แพงติดเข้าไปกับอุปกรณ์ (ทีมงานลองใช้บิ้วท์อินไมโครโฟนแล้วพบว่ามันไม่ค่อยได้ผล) ระบบสามารถบอกถึงความแตกต่างว่าใช้ส่วนใดสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นปลายนิ้ว, เล็บมือ หรือข้อนิ้วมือ นอกจากนี้ยังบอกความแตกต่างของสไตลัสที่ใช้จิ้มจอว่ามันทำมาจากวัสดุอะไร ไม่ว่าจะเป็นไม้, อะคริริค และโฟมโพลีสไตรีน

ส่วนแอพพลิเคชั่นที่ทำงานบนสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์จิ้มจออย่างอื่นก็สามารถติดตั้ง TapSense เข้าไปใช้ร่วมกันได้ โดยมันจะทำงานด้วยฟังก์ชั่นที่แตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับว่าคุณใช่ส่วนใดสัมผัสกับหน้าจอ นั่นหมายความว่าผู้ใช้งานมีแค่หน้าจอเดียวก็สามารถสั่งงานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นโดยเปลี่ยนแค่ส่วนที่ใช้สัมผัส

ทีมนักวิจัยได้สาธิตหนึ่งในตัวอย่างที่นำเทคโนโลยีนี้ไปประยุกต์ใช้ นั่นคือการเปิดอีเมล เมื่อนำข้อนิ้วไปแตะที่หัวเรื่องอีเมลใน inbox มันก็จะเป็นการเรียกเมนู options ขึ้นมาโดยไม่ต้องเปิดเมลขึ้นมาดูเลย อีกตัวอย่างก็คือแอพวาดรูป ผู้ใช้สามารถวาดเส้นใดๆได้อย่างอิสระ การลากเส้นตรงจะใช้ปลายนิ้ว นอกจากนี้ยังใช้เรียกคีย์บอร์ดเพื่อเพิ่มตัวอักษรได้อีก ส่วนการลบหรือย้อนกลับจะใช้เล็บแตะที่หน้าจอค่ะ

การที่ TapSense บอกได้ว่าใช้สไตลัสชนิดไหนในการจิ้มจอ นั่นหมายความว่ามันรองรับการใช้งานหลายๆแบบหลาบๆคนในเวลาเดียวกันได้ เพราะมันระบุได้ว่าผู้ใช้งานคนไหนใช้สไตลัสแบบไหนอยู่ ทำให้ระบบป้อนคำสั่งอ้างอิงตามวัสดุที่ใช้ทำสไตลัสได้ค่ะ

[youtube http://www.youtube.com/watch?v=-oN96cucBr4&w=420&h=315]

VIA gizmag