นักวิจัยจากเยอรมันกำลังทำการทดสอบรถขนส่งมวลสาธารณะ ที่มีรูปร่างหน้าตาที่ไม่เหมือนใคร โดยขอยืมส่วนที่ดีๆมาจากรถเมล์, รถไฟฟ้า,รถไฟและรถรางเพื่อให้ยานพาหนะคันนี้มีอัตราการปล่อยมลพิษอยู่ที่ศูนย์ค่ะ
ยานพาหนะคันนี้มีชื่อว่า AutoTram ใช้พลังงานจากไฟฟ้าทั้งหมด แต่แทนที่จะพึ่งพาการชาร์จไฟแค่ครั้งเดียวแล้วค่อยชาร์จใหม่ตอนพลังงานใกล้หมด แต่รถคันนี้จะทำการชาร์จไฟทุกครั้งที่รถจอดรับผู้โดยสาร โดยใช้เวลาแค่ 30 วินาที ก็ได้พลังงานไฟฟ้าจำนวนนึงแล้วเพื่อไปต่อแล้ว
โปรเจคนี้เริ่มต้นมาจาก Fraunhofer Institute for Transportation and Infrastructure Systems IVI และต่อมาก็ได้รับเงินทุนสนับสนุุน 34.5 ล้านยูโรจากรัฐบาลเยอรมัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารถเมล์ที่มีความสะดวก เดินทางได้อย่างยืดหยุ่นและมีราคาที่เหมาะสม บวกกับความต้องการลดมลพิษที่เกิดจากท่อไอเสียและเสียงด้วย
รถคันนี้ได้แรงบันดาลใจส่วนนึงมาจากระบบรถไฟรางเบา อย่างรถราง แต่มันไม่จำเป็นต้องใช้รางทั้งที่อยู่บนพื้นหรือรางเหนือศีรษะเลยค่ะ ทำให้ผลิตออกมาได้ไม่แพง นำมาใช้ได้เลยแถมไม่ต้องทำรางเพิ่มด้วยล่ะ ส่วนระบบขับเคลื่อนจะใช้ระบบอัตโนมัติค่ะ ตัวยางของรถจะทำหน้าที่ขับตามเส้นสีขาวที่ขีดไว้บนพื้นถนน ระบบบังคับด้วยเพลาหลายตัวทำให้มันบังคับทิศทางได้ง่ายเหมือนรถเมล์ปกติค่ะ
นอกจากนี้พวกเค้ายังตระหนักถึงปัญหาเรื่องไซเคิลของการชาร์จแบตเตอรี่อีกด้วย รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่เมื่อชาร์จแบตครั้งนึงจะวิ่งได้ไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน ส่วนรถสาธารณะจะต้องสามารถวิ่งได้นานกว่านั้น โดยต้องทำให้เหมือนกับไม่ต้องชาร์จแบตเลย เค้าก็เลยได้แนวคิดการชาร์จแบตตอนที่รถหยุดนี่แหละค่ะ ตามจุดจอดของ AutoTram จะเชื่อมต่อด้วย supercapacitors ที่จะคอยจ่ายไฟขนาด 700 โวลต์ เพื่อชาร์จแบตตอนที่รถคันนี้จอดรับผู้โดยสาร ทางนักวิจัยเลือกที่จะไม่ใช้แบต lithium-ion ที่ทั้งหนักและใช้เวลาในการชาร์จมากกว่า แต่ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินอย่างเช่น ขณะที่รถกำลังวิ่งแล้วแบตเกิดหมดขึ้นมา ตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลก็จะทำงานแทนเพื่อให้รถวิ่งต่อไปได้จนถึงจุดชาร์จไฟได้ค่ะ
สนนราคาของ AutoTram คันนึงจะมีราคาถูกกว่ารถระบบรางเบา 30 – 50 เท่า แต่ราคาก็ยังสูงกว่ารถเมล์ที่ใช้น้ำมันดีเซลอยู่ค่ะ แต่ถ้ามันช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้วละก้อซีว่าก็คุ้มค่าต่อการลงทุนนะ
VIA techcrunch