เวลาที่เราซื้ออาหารแช่แข็งตามร้านเราจะรู้ได้ยังไงว่าอาหารนั้นยังไม่เสียล่ะ ถ้าเราไม่เอามาเข้าเตาอบแล้วชิมดูก่อน

ความสงสัยนั้นจะหมดไป ด้วย PST Sensor ที่มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ สามารถเก็บและเขียนข้อมูลทับลงไปใหม่ได้ เมื่อนำแผ่นฟิล์มนี้มาพัฒนาเป็นเซนเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิเพื่อสอดส่องดูแลอาหารที่อาจจะเน่าเสียได้ อย่างเช่น ผัก ผลไม้ อาหารแช่แข็ง หรือใช้ติดกับตัวยาหรือวัคซีนที่สำคัญเพื่อให้มั่นใจว่าเก็บในอุณหภูมิที่ถูกต้องระหว่างการขนส่งก่อนจะถึงมือแพทย์หรือโรงพยาบาล

กุญแจสำคัญของเทคโนโลยีนี้ก็คือแนวความคิดที่เรียกว่า “The Internet of Things” ในอนาคตสิ่งของต่างๆจะถูกฝังชิพเข้าไปเพื่อให้มันเก็บข้อมูลและสื่อสารกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ เจ้า ThinFilm รุ่นแรกนี้สามารถเก็บข้อมูลของวัตถุที่มันติดอยู่ จะคอยเก็บข้อมูลอุณหภูมิย้อนหลัง, เวลา และข้อมูลอื่นๆ เรียกข้อมูลให้แสดงผลออกมาทางคอมพิวเตอร์ได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องเก็บข้อมูลในระบบ cloud หรือเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายอยู่ตลอดเวลา

ในอดีตเราอาจจะเคยเห็นเซนเซอร์ที่สามารถเปลี่ยนสีได้เมื่ออาหารเริ่มที่จะเสีย แต่มันไม่สามารถให้ข้อมูลอะไรอย่างอื่นได้เลย แต่เทคโนโลยี ThinFilm จะรวมหลายองค์ประกอบเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งเซนเซอร์วัดอุณหภูมิ (thermistor), แบตเตอรี่, หน่วยความจำ 20-bit (แบบเดียวกับที่ใช้ในของเล่นและเกม) และออฟชั่นเสริมอย่าง  contact-based readout หรือจอภาพ ที่ผ่านมาเซนเซอร์อุณหภูมิใช้เวลาพัฒนาถึง 10 ปีกว่าจะสำเร็จออกมาใช้ได้จริง ดังนั้นวงจรของเซนเซอร์ใหม่ตัวนี้อาจใช้เวลาพัฒนาอย่างน้อย 6 เืดือนหรือมากกว่านั้นเพื่อให้ใช้พลังงานน้อยกว่า 0.2 microamps จากแบตเตอรี่ขนาด 3 โวลท์ 1-mAhr

นอกจากนี้ Thinfilm ยังมีข้อดีกว่าระบบที่ใช้กันอยู่อย่างเช่น เซนเซอร์ RFID ที่ราคาสูงถึง 100$  ด้วยราคาที่ถูกกว่า มีความยืดหยุ่นในการใช้งานและกำจัดได้ง่าย ทำให้เซนเซอร์ตัวนึงมีค่าใช้จ่ายในการผลิตแค่ 0.30 $ เองโดยมันจะเริ่มดำเนินการผลิตจริงภายในปี 2013 และเมื่อเทคโนโลยีเป็นที่นิยมและมีการผลิตในจำนวนมากๆก็จะทำให้ต้นทุนลดลงไปได้อีก

VIA wired