ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตมีทั้งจริงและปลอม โดยเฉพาะบนสื่อสังคมออนไลน์เนี่ยข่าวสารแพร่ไปไวมาก ทั้งที่จริงไม่จริงก็ไม่รู้หลายคนก็เลือกเชื่อไปซะก่อนแล้ว

จากเอกสารงานวิจัยในปี 2010 ที่วิเคราะห์ข่าวลือที่เผยแพร่ไปทั่วทวิตเตอร์เมื่อช่วงที่เกิดแผ่นดินไหวที่ชิลี เค้าพบว่าข่าวลือมักจะถูกทวีตด้วยความสงสัยไปก่อนแล้วค่อยไปหาความจริงทีหลัง

Patrick Meier แห่ง Qatar Foundation’s Computing Research Institute และนักวิจัยกลุ่มนึงกำลังซุ่มพัฒนาโปรเจค machine-learning algorithms ที่สักวันนึงมันจะสามารถตรวจจับทวิตปลอมบนทวิตเตอร์ได้อัตโนมัติค่ะ เจ้า machine-learning algorithms นี้จะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่เปิดขึ้นมาในช่วงที่เกิดภัยพิบัติ เป้าหมายก็คือเพื่อสร้างอัลกอริทึ่มอัตโนมัติที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากทวิตเตอร์และทำการตรวจสอบประเมินความน่าเชื่อถือของทวีตนั้นๆในช่วงที่มีภัยพิบัติได้ ด้วยการใช้ 16 ปัจจัยเป็นเกณฑ์เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของทวีต เช่น ความยาวของทวีต จำนวนคนที่ติดตามทวีต(ยิ่งเยอะความน่าเชื่อถือก็เพิ่มขึ้น) การโพสต์ในเชิงบวกหรือเชิงลบ เป็นต้น นอกจากข้อความแล้ว อัลกอริทึ่มตัวนี้ยังตรวจสอบลิ้งค์ URL ที่มาพร้อมกับข้อความอีกด้วย

VIA Slashgear