Bloomberg รายงานว่ากูเกิลกำลังพิจารณาการผลิตชิพเซิร์ฟเวอร์ด้วยตัวเองภายใต้ความช่วยเหลือของบริษัท ARM ผู้ผลิตชิพชื่อดังจากอังกฤษ

ปัจจุบันยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิลนั้นเป็นลูกค้าที่ซื้อชิพจาก Intel มากเป็นอันดับที่ 5 การเปลี่ยนมาใช้ชิพที่ผลิตเองด้วยเทคโนโลยีของ ARM จะช่วยให้กูเกิลสามารถควบคุมการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ในระบบของตัวเองได้มากยิ่งขึ้น ทางฟากแอปเปิ้ลเองก็เพิ่งเปลี่ยนมาใช้ชิพเซ็ตแบบสั่งทำสำหรับไอโฟนและไอแพดรุ่นใหม่ ข้อดีของชิพนตระกูล ARM นั้นก็คือมีราคาถูก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าจึงต้องการระบบทำความเน็นที่น้อยลงเมื่อเทียบกับชิพของอินเทล นั่นจึงเป็นจุดสำคัญที่ทำให้กูเกิลสนใจทำชิพตัวนี้เอง

นวัตกรรมใดๆที่กูเกิลใช้ในการพัฒนาชิพตัวนี้จะช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์ข้อมูล (data centers) ที่มีขนาดใหญ่มากซึ่งจะช่วยให้ได้เปรียบเหนือคู่แข่งอย่างเฟซบุ้คและ Amazon ถ้าหากใช้ประโยชน์จากสถาปัตยกรรมการออกแบบและฮาร์ดแวร์ที่ให้สิทธิเฉพาะในการเข้าถึง

Bloomberg อ้างถึงแหล่งข่าวที่ไท่ประสงค์จะออกนามที่รู้เรื่องนี้บอกว่า ณ จุดนี้ทางกูเกิลยังไม่ได้ตัดสินใจเด็ดขาดว่าจะเดินหน้าต่ออย่างเต็มตัวรึไม่ ด้าน Liz Markman โฆษกของกูเกิลบอกกับทาง Bloomberg ว่า “เรามีความตื่นตัวและผูกพันกับการออกแบบโครงสร้างที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งรวมทั้งการออกแบบฮาร์ดแวร์ทุกระดับและซอฟท์แวร์”

ชิพที่มีโครงสร้างพื้นฐานบนสถาปัตยกรรมของ ARM จากบริษัทอย่าง Qualcomm และ Samsung ถือว่าเป็นก้างชิ้นโตในการขยายตลาดเข้าสู่อุตสาหกรรมมือถือและแท็บเล็ตของบริษัท Intel ถ้าหากกูเกิลตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้ซีพียูของตัวเองกับเซิร์ฟเวอร์แทนที่ของอินเทล นั่นหมายถึงรายได้จำนวนมหาศาลและส่วนแบ่งทางการตลาดที่อินเทลจะสูญเสียไป ทางตลาดเองก็ตอบรับกับข่าวนี้ผ่านมูลค่าหุ้นซึ่งหุ้นของอินเทลลดลง ในขณะที่หุ้นของ ARM เพิ่มขึ้น แต่ก็มีแนวโน้มว่ากูเกิลอาจจะมีทางเลือกอยู่สามทาง หนึ่งคือมองหาพันธมิตรในการช่วยดูความเป็นไปได้ในการผลิตชิพของตัวเอง สองเดินหน้าโปรเจคนี้อย่างเต็มที่ และข้อสุดท้ายคือล้มเลิกการผลิตชิพแต่ยังอินเทลเหมือนเดิม แต่อาจจะเจรจาต่อรองให้อินเทลลดราคาชิพให้ถูกลง

VIA digitaltrends