นี่คือเทคโนโลยีใหม่สำหรับพลังงานหมุนเวียน ที่ใช้ประโยชน์จากกระแสน้ำในทะเลมาผลิตกระแสไฟฟ้า

turbine-farm1

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่เรียกตัวเองว่า “nerds in wetsuits and flippers” ได้เปิดตัวแคมเปญหาเงินระดมทุน Crowd Energy เพื่อสร้างฟาร์มกังหันขนาดยักษ์สำหรับผลิตไฟฟ้าใต้น้ำ โดยอาศัยกระแสน้ำใต้ทะเลลึกอย่าง Gulf Stream นอกชายฝั่งฟลอริด้า วิธีนี้จะช่วยให้เราลดการพึ่งพาน้ำมัน แถมพลังงานที่ได้ยังเป็นพลังงานสะอาดด้วย ใช้ยังไงก็ไม่มีวันหมด

หลายคนคงจะคุ้นเคยกับกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้ามาบ้างแล้ว แต่มันก็ยังมีข้อจำกัดก็คือลมไม่ได้พัดอยู่ตลอดเวลา แถมพื้นที่ที่จะสร้างได้ก็ต้องมีลมพัดแรงพอสมควรถึงจะคุ้มค่ากับการลงทุน แต่กระแสน้ำนั้นต่างออกไปจะมีการไหลอยู่ตลอดเวลาและมีความแรงค่อนข้างสม่ำเสมอ ก่อนหน้านี้ Todd Janca เจ้าของแคมเปญนี้กล่าวว่าได้ทำเคยใช้เรือดำน้ำ submersibles ลองบังคับให้มันลอยอยู่กับที่เหนือก้นมหาสมุทรที่มีกระแสน้ำไหลแรง เค้าเลยคิดว่าน่าจะนำกระแสน้ำนี้มาใช้ประโยชน์ได้ 

หลายๆบริษัทอย่าง General Electric ก็พยายามดัดแปลงกังหันลมผลิตไฟฟ้ามาใช้กับกระแสน้ำในมหาสมุทร แต่ก็ไม่ได้ผลเพราะกระแสลมมีความหนาแน่นน้อยกว่ากระแสน้ำจึงต้องใช้วิธีอื่นที่ต่างออกไป Janca และทีมงานได้ออกแบบระบบที่มีชื่อว่า “ocean energy turbine” ด้วยการใช้กังหันที่หมุนช้ากว่าแต่สร้างแรงบิดได้มากกว่า กังหันของ Crowd Energy ประกอบด้วยใบพัดสามชุด ประกอบกันเหมือนม่านหน้าต่าง โดยมันจะปิดเมื่อกระแสน้ำไหลไปในทางเดียวกันกับการเคลื่อนไหวของใบพัด และมันจะเปิดเมื่อกระแสน้ำพัดไปในทิศทางตรงข้าม แรงของกระแสน้ำจะทำให้ใบพัดหมุนและเครื่องปั่นไฟทำงาน กังหันขนาด 30 เมตร ซึ่งหนึ่งตัวสามารถผลิตกระแสไฟได้ประมาณ 13.5 เมกะวัตต์ ซึ่งก็เพียงพอสำหรับใช้กับ 13,500 หลังคาเรือนได้สบายๆ นอกจากผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว เจ้ากังหันตัวนี้ยังสามารถใช้ผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลได้อีก เพียงแต่เพิ่มปั๊มน้ำและระบบกรองเข้าไป

 Todd Janca เจ้าของแคมเปญนี้กล่าวว่า “กระแสน้ำถือเป็นหนึ่งในพลังงานธรรมชาติที่หลายคนนึกไม่ถึงมาก่อน หรือยังไม่มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าพอที่จะนำมาใช้ผลิตพลังงาน นอกจากนี้การใช้กังหันใต้น้ำยังต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ดังนั้นระบบจะต้องถูกออกแบบมาอย่างดีเพื่อให้สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลได้รับผลกระทบน้อยที่สุด รวมถึงต้องมีการศึกษาอย่างเป็นทางการถึงผลที่จะเกิดขึ้นด้วย”

แต่ทั้งหมดนี้ยังเป็นแค่แนวความคิดต้องรอทดสอบในสภาวะจริงก่อนค่ะว่าจะได้ผลแค่ไหน

 VIA livescience