มันไม่ใช่แค่แอปแต่มันมาในระบบปฏิบัติการ เมื่อสองผู้ยิ่งใหญ่ Apple และ Google จับมือร่วมทำระบบเดียวกันติดตาม”การระบาด”เพื่อรับมือสถานการณ์ ระบบนี้เค้าเรียกมันว่า Contact Tracing
Contact Tracing คือระบบระบุตัวและติดตาม ตามดู ตามรู้ผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 จากการที่เคยอยู่ใกล้หรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ โดยใช้บีคอนหรือจะเรียกให้ถูกต้องคือ บลูทูธพลังงานต่ำ (BLE-Bluetooth Low Energy) บนมือถือสมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลอัตโนมัติ เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่า”ใคร”มีความเสี่ยงในการใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
การแจ้งเตือนก็ไม่เสียเพื่อนเพราะจะเด้งเฉพาะ “คุณได้เข้าใกล้กลุ่มเสี่ยงหรือผู้ติดเชื้อมา ไม่บอกด้วยซ้ำว่าที่ไหน หรือคนชื่ออะไรที่ติดมา” แต่อาจจะเสี่ยงเรื่องการ PANIC ที่ต้องสู้กับความอยากรู้อยากค้นหาความจริงของตัวเองหน่อย
ครั้งนี้เป็นการจับมือร่วมกันของทาง แอปเปิ้ล และกูเกิลที่ผสาน API ในการเก็บข้อมูลคนที่อาจจะเสี่ยงเป็น covid-19 ซึ่งตามได้ทั้งคนใช้มือถือแอนดรอยด์และไอโฟน เพราะความร่วมมือสองค่ายยักษ์นี้เอง เพื่อสนับสนุนงานของสาธารณสุข
แน่นอนว่า “ผู้ใช้มือถือมีสิทธิ์เลือกไม่ร่วมโครงการก็ได้” และ การรายงานการติดเชื้อจะอยู่แค่บนอุปกรณ์เราเท่านั้น ถ้ามีบุคคลที่สามรู้เห็นจะเด้งแจ้งเตือนเราให้ทราบก่อน และ ที่สำคัญไม่ได้บอก “ตัวตน แบบชื่อ พิกัดให้บุคคลอื่นรับทราบ ยกเว้นกรณีเกิดเราได้รับเชื้อ รายชื่อคนที่เราใกล้ชิดย้อนหลังบันทึกไว้ 14วัน จะให้เราแชร์ให้คนเหล่านั้นรับทราบได้”
คำถามแรกคือ ถ้าอุปกรณ์ iOS และ Android ฝังมาในระบบปฏิบัติการแล้วจะมีแอปเพื่ออะไร?
ถ้าถามนักพัฒนาก็จะบอกว่า “ทุกวันมีค่ามาก กับการยับยั้งการติดเชื้อ คงรอระบบไม่ได้อะไรที่ทำได้ต้องทำก่อน ระบบปฏิบัติการมาอัปเดตแบบนี้ก็ค่อยเสริมการทำงานทีหลังได้”
ในประเทศไทย อย่าง”หมอชนะ” แอปที่ร่วมมือเอกชน รัฐบาล ประชาชน” สามฝ่ายทำขึ้นมาก่อน แหล่งข่าวระบุว่า เทคโนโลยีของแอปหมอชนะก็มีความคล้ายคลึง เพราะดึงความสามาถเครื่องมือถือดังกล่าวมาใช้ แต่หากทั้งสองระบบมีการอัปเดตเป็นนโยบาย ก็จะทำให้ได้รับข้อมูลการระบาด จำนวนมากได้ ง่ายและน่าเชื่อถือมาก คาดว่าน่าจะช่วยให้ข้อมูลเพื่อควบคุมการระบาดกับทาง สธ.ได้มากขึ้น***
ไม่ต่างจากหลายประเทศ เช่นอย่างสิงคโปร์ แอปเค้ามีคนใช้อยู่หลักล้านแล้วเพื่อติดตามกาารระบาด อย่างใกล้ชิด เมื่อระบบปฏิบัติการสองค่ายอัปเดตเฟิมแวร์เหมือนกัน ที่จริงจะเป็นตัวช่วยให้แอปที่มีอยู่แล้วทำงานได้แม่นและน่าเชื่อถือขึ้นได้อีก “แต่จะเปิด API ให้เฉพาะทางการ กระทรวงสาธารณสุชประเทศเท่านั้นที่เข้าถึงได้” การแจ้งเตือนควรมาจาก ภาครัฐเท่านั้นเพื่อให้รัฐ รับมือสถานการณ์ได้มากขึ้น
โดยเบื้องต้น ในความร่วมมือ ของสองระบบปฏิบัติการของโลก จะเปิดเป็น”คำสั่งให้นักพัฒนาดึงข้อมูลไปใช้ได้ง่ายมากๆ โดยได้ลิสต์ของคนที่ติดต่อมาเลยทันที เพื่อให้ สธ.ของแต่ละประเทศเอาข้อมูลไปวิเคราะห์และบริหารจัดการต่ออย่างทันท่วงที
ความรู้เพิ่มเติม : Bluetooth Low Energy จะใหม่กว่า Bluetooth ปกติหน่อยแต่ก็ถือว่าเก่าอยู่ ก็น่าจะประมาณ 5 ปีแล้ว แต่ไม่ได้แปลว่ามี Bluetooth ก็ใช้ได้ ข้อจำกัคทางฮาร์ดแวร์ก็มีอยู่ โดยเฉพาะมือถือจีนที่ใช้ Chipset Bluetooth ถูกๆ และไม่สนับสนุน Bluetooth Low Energy ก็จะใช้ฟีเจอร์ตรงนี้ไม่ได้ ถ้าเป็นมือถือมาตรฐานโลก Samsung, LG, Motorola ฯลฯ ไม่มีปัญหาคะ
กักตัวแล้วต้องอัปเดตระบบแบบนี้เพื่ออะไร หรือเพื่อให้เรากลับมาทำงานได้เหมือนเดิมแล้ว?
1) ชีวิตจริงถึงจะกักตัว แต่ก็ไม่ใช่จะอยู่บ้าน 24/7 ต้องมีออกไปไหนบ้าง หรือบ้านมี 4 คน อาจจะมีคนนึงต้องออกไปไหนมาไหนเพื่อซื้อของ สุดท้ายการพบเจอผู้คนก็ยังมีอยู่ดี เราอาจจะเที่ยวเล่นน้อยลง 55% แต่เชื่อมั้ยว่า สถิติ Google บอกว่า คนที่ต้องออกไปทำงานมีถึง 79% อยู่บ้าน Work From Home กันแค่ 21% เองเทอว์
2) การกักตัวเมื่อถึงจุดนึงก็จะสิ้นสุดลง ไม่ว่าจะเพราะไวรัสหยุดแล้ว (เหมือนจีน) หรืออาจะเพราะเศรษฐกิจและสังคมจะรับไม่ไหว การที่ทุกคนลงแอป ไว้ จะช่วยตอน Wave นั้นมาก ๆ อย่างตอนนี้จีนกลัว Wave 2 มาก ซึ่งส่วนตัวคาดว่าไม่น่ารอด ยังไงมันก็กลับมา
ตัวกุญแจ Bluetooth identifiers นั้นจะมีการหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆเพื่อป้องกันการติดตามให้รู้ว่าเป็นใคร ยืนยันว่าจะ…ไม่มีการระบุตัวตนของผู้ติดเชื้อ Google และ Apple สามารถปิดการทำงานได้ในระดับพื้นที่ในกรณีที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้งานแล้ว
ตัวอย่างการทำงานของระบบ

- เจนและนุ่นไม่รู้จักกัน แต่บังเอิญได้คุยกัน 10 นาที ระหว่างนั้นมือถือของทั้งคู่จะทำการแลกกุญแจที่เป็นข้อมูล privacy- preserving anonymous identifier beacons ผ่านบลูทูธ
- ต่อมานุ่นไปตรวจพบการติดเชื้อ COVID-19 จึงทำการกรอกข้อมูลลงไปในแอปของหน่วยงานสาธาณสุข
- เมื่อนุ่นให้ความยินยอม สมาร์ตโฟนก็จะส่งข้อมูลกุญแจที่เก็บมาตลอด 14 วันย้อนหลัง ส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ Beacon
- ส่วนมือถือของเจนจะทำการเช็คข้อมูลกับเซิร์ฟเวอร์ Beacon เป็นระยะๆ ในกรณีที่โหลดเจอข้อมูลกุญแจที่มีผลเป็นบวกตรงกันก็จะได้รับการแจ้งเตือนว่า เจนเคยเข้าใกล้ผู้ติดเชื้อ (โดยข้อมูลนี้จะไม่มีการระบุตัวตนว่าเป็นนุ่น) เจนจะได้การแจ้งเตือนและคำแนะนำว่าต้องทำอย่างไรต่อดีกับชีวิต
แล้วจะเริ่มใช้งานได้เมื่อไหร่?
กำหนดการคือเปิดให้ใช้ได้ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ปล่อยอัปเดตระบบปฏิบัติการให้สนับสนุนการทำงานของระบบติดตาม เริ่มเฟส 1 เปิด private proximity contact detection API ให้ผู้พัฒาแอป third party เชื่อมต่อมาใช้งานได้ ประเทศเรานักพัฒนาก็ติดตามเรื่องนี้ให้ดีค่ะ
เขาระบุอีกว่า หลายเดือนต่อมาจะอัปเดตระบบปฏิบัติการให้สนับสนุนการทำงานในเฟส 2 ให้ระบบทำงานได้ในระดับ OS โดยไม่ต้องลงแอปเพิ่มอีกด้วย คือมากับระบบปฏิบัติการเลยค่ะ
***เครดิตสัมภาษณ์เนื้อหาและรายละเอียดประกอบ จาก “1ในทีมนักพัฒนา Code for Public ที่จัดทำแอปหมอชนะ”