ล่าสุดวนมาอีกปีแล้ว กับการประกาศรางวัลสุดยอดนักพัฒนาแอปทุกแพลตฟอร์มที่ทำให้ ผู้คนเชื่อมต่อกันได้อย่างเป็นสุข ประเด็นสำคัญที่ดึงดูดน่าจะเป็น “หัวข้อการแจกรางวัลความเป็นสุดยอดนั้น” ไม่ได้หมายรวมเพียงแค่ “ยอดฝีมือ”แต่มีโจทย์ตีความ”ด้านสังคม”เข้ามาเกี่ยวข้อเสมอเมื่อพูดถึงแบรนด์แอปเปิ้ล ที่มี “ผู้ใช้เป็นศูนย์กลางของระบบ”

แม้ไม่ใช่นักพัฒนา ก็คงต้องอิจฉาตาร้อนอยากมี “โล่สุดเท่ห์”ทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส เจิดจรัสไว้ประดับบ้านเหลือเกิน เพราะนอกจาก เหลือบมองได้ความภูมิใจว่าแอปเราติดอันดับโลก ตัวโล่เอง ทำจากอะลูมินั่มรีไซเคิล ดูแล้วน่าจะมีน้ำหนักไม่น้อย มินิมอล แต่ก็วิบวับจับตา แต่ละสาขาจะมีผู้ชนะเพียงแค่ 5ราย เนื่องจาก ถึงจะเป็นประเภทรางวัลเดียวกัน แต่บอกได้ว่า แต่ละตัวแข่งกันยากเพราะมี จุดเด่นที่ต่างกันไป ตามสไตล์ผู้ใช้ เหมือนการ segmentation ของโลกดิจิทัลนี่เอง

ซีมีโอกาสได้สัมภาษณ์นักพัฒนา 3รายที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติที่ เหล่านักพัฒนาทั่วโลกต้องจับตามอง และบอกได้ว่าเหลือเชื่อกับ แนวคิดที่ทั้งโฟกัส และ ทั้งทุ่มเท ที่แตกต่างกันไป เมื่อมีโอกาสก็ไม่พลาดหัวข้อสำคัญอย่าง METAVERSE สักหน่อยแหละค่ะ

รายแรกเริ่มจาก แอป TOCA LIFE  แอปเกมสำหรับเด็ก 7-10 ขวบ ที่โด่งดังมาจากแอปเกม Toca Boka เติบโตเป็นอีกหลายแนวทางเกมสำหรับเด็กแต่ปีนี้ที่ชิงรางวัลมาได้เข้าเค้าการเข้าสู่โลก Metaverse เพราะเป็นแอปให้เด็กแสดงตัวตน ความรู้สึกแบบไม่มีการตัดสินผิดถูกให้อึดอัดใจ

ภายในแอป TOCA LIFE เด็กน้อยสามารถสร้างคาแรคเตอร์ตัวเอง สีผิวสีผมได้อย่างใจเพื่อแสดงออกตัวตนที่ชื่นชอบ ไปได้ถึง”สีหน้าแววตา” แค่ดีเทลใบหน้าก็เหมือนมี แคตตาลอคอีโมจิให้เลือกกันแล้ว (โลกความเป็นจริง อาจมีกรอบความถูกต้อง ถูกใจแต่ละวัฒนธรรม) เพื่อเป็นตัวเองเต็มที่ไร้ข้อจำกัด ไร้กฎบังคับ ทำให้ในโลกเกม TOCA LIFE มีสีสันสนุกได้เต็มที่

จุดน่าสังเกต คือการสร้างฉากสถานที่ และ ดีเทลพร้อพประกอบฉากแต่ละจุดเป็นสิ่งที่”เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน” ที่เด็กๆต้องเห็นต้องเจอ เลยทำให้ยิ่งรู้สึกใกล้ตัวมากขึ้นสำหรับเด็ก ที่เพิ่มเติมคือจินตนาการ แต่งแต้มสีสัน น่าจะเทียบได้กับผู้ใหญ่เวลาแต่งบ้านแต่งห้องรู้สึกยังไง การจำลองเกมนี้ทำให้เด็กได้พัฒนาความกล้าแสดงออกในการแต่งบ้านเสมือนของตัวเอง บนนั้น

โจทย์สำคัญ คือ “ผู้พัฒนามองว่า เป็นการทำแอปจากมุมมองของเด็ก”เพื่อเด็ก

ส่วนคำถามสุดท้ายเรื่อง Metaverse แน่นอน ทางสตูดิโอนักพัฒนา TOCALIFE แชร์กับ dailygizmo.tv ว่าแน่นอน มีแผนระยะยาวในการนึกถึงเรื่องนี้เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกคนต่างพูดถึง แต่ต้องมั่นใจว่า มีการศึกษาถึงความเหมาะสมสำหรับเด็กจริงๆด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้คงต้องใช้เวลากลั่นกรอง และ พัฒนามากพอสมควร (ไม่ได้มุ่งจะทำเพราะมีกระแส แต่มีคำว่า กลั่นกรอง ก่อนด้วยนะจ้ะ)

เห็นเจตนารมณ์ของคนทำแอปสำหรับเด็กที่คิดเพื่อ “เด็ก”ทุกมิติ ทุกดีเทลก็คงสบายใจในการให้เด็กๆ เล่นแอปนี้กันได้ สมรางวัล App of the Year ด้านเกมกันล่ะค่ะ