นักวิจัยจาก University of Minnesota Twin Cities พัฒนาการพิมพ์หน้าจอ OLED แบบยืดหยุ่นด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ เพื่อใช้งานกับแก็ดเจ็ตขนาดเล็ก

ในกรณีที่หน้าจอ OLED เกิดแตกหรือเสืยขึ้นมา สิ่งเดียวที่เราทำได้คือ ส่งศูนย์เพื่อทำการเปลี่ยนจอใหม่อย่างเดียว เรายังไม่สามารถซ่อมหรือเปลี่ยนจอด้วยตัวเองได้ แต่ในอนาคตเราจะสามารถพิมพ์จอใช้เองได้แล้ว เมื่อทางนักวิจัยจาก University of Minnesota Twin Cities ได้ประสบความสำเร็จในการคิดค้นวิธีพิมพ์หน้าจอ OLED แบบยืดหยุ่น เพื่อสร้างหรือซ่อมอุปกรณ์ของตัวเองได้

กระบวนการพิมพ์หน้าจอนั้นจะประกอบด้วยการพิมพ์ทั้งหมด 6 ชั้นถึงจะทำงานได้ ซึ่งทางทีมพัฒนาได้ใช้เครื่อง extrusion printing เพิ่อทสร้างอิเล็กโทรด, การห่อหุ้ม, การทำฉนวนและเชื่อมต่อวงจรเข้าด้วยกันส่วนชั้นที่เป็น active layers จะใช้การพ่นสเปรย์ที่อุณหภูมิห้อง

ปัญหาที่ทางทีมงานเจอก่อนหน้านี้คือ การที่แสงไม่สามารถกระจายได้อย่างทั่วถึง รวมถึงเทคนิคการพิมพ์สามมิติต้องใช้วิธีที่เหนือขึ้นไปอีก เพื่อให้ติดตั้งบางชิ้นส่วนได้ เช่น การใช้เทคนิค spin-coating หรือ เคลือบฟิล์มบางด้วยไอร้อน (thermal evaporation)

หน้าจอต้นแบบมีความกว้างแค่ 1.5 นิ้ว ความละเอียดอยู่ที่ 64 พิกเซล ซึ่งในอนาคตนั้นจะเพิ่มความละเอียดให้สูงขึ้นได้ ( ความละเอียด 1080p นั้นจะต้องใช้ความละเอียดมากกว่า 2 ล้านพิกเซล) รวมถึงต้องเพิ่มความสว่างให้มากขึ้น หากเทคโนโลยีนี้ถูกใช้งานในวงกว้างเมื่อไหร่ก็จะเกิดประโยชน์มากมาย ทั้งการซ่อมจอด้วยตัวเอง การสร้างแก็ดเจ็ตขนาดเล็กที่มีหน้าจอได้

นั่นหมายความว่าอาจจะต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่ถึงจะใช้งานได้จริงที่บ้าน เพราะตัวเครื่องพิมพ์สามมิติต้นแบบที่ใช้นั้นมีราคาเท่ากับรถยนต์  Tesla Model S เลยทีเดียว

ที่มา Engadget