Air Protein สตาร์ทอัพจากสหรัฐอเมริกาพัฒนา “เนื้อสัตว์ทดแทน” โดยใช้ ‘อากาศ’ เอาอากาศไป ไปเลี้ยงแบคทีเรียใน ‘ถังหมักระบบปิด’ จนได้กรดอะมิโนเพื่อสกัด เป็นผงแป้งสีน้ำตาลอ่อน และไม่มีรสชาติ แปรรูปเป็นเนื้อสัตว์ทดแทน
เจ้าของไอเดียนี้ก็คือ LISA DYSON และ John Reed นักฟิสิกส์และนักวิทยาศาสตร์ด้าน materials ทำงานร่วมกับ Department of Energy ของ Berkeley Lab โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ การรับมือกับภาวะโลกร้อนโดยมองไปที่อาหาร เพราะภาคการเกษตรนั่นก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกปีละ 350 ล้านตันต่อปี ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี นั่นหมายถึงเราจำเป็นต้องหาโปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ก่อนหน้านี้ในปี 1967 เคยมีงานวิจัยของ NASA ที่เสนอไอเดียการนำสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมารวมกับคาร์บอนไดออกไซด์ที่หายใจออกมาเพื่อมาผลิตอาหารในอวกาศ ซึ่ง LISA DYSON และ John Reed ได้นำเอาแนวคิดนี้มาพัฒนาต่อจนค้นพบ Kiverdi ที่สามารถใชคาร์บอนไดออกไซด์มารีไซเคิลเป็นนำมันปาล์มหรือน้ำมันผิวส้มได้
ในปี 2019 พวกเขาได้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ Air Protein เพื่อผลิตเนื้อสัตว์ทดแทนจากอากาศ ซึ่งกรรมวิธีคือ การดึงคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ มาเปลี่ยนเป็นเนื้อสเต็กหรือชิ้นปลาแซลมอล ซึ่งกรรมวิธีคล้ายการหมักโยเกิร์ตโดยใช้จุลินทรีย์ ซึ่งเขาจะนำแบคทีเรียไปเลี้ยงในถังหมักระบบปิด ภายในจะมีทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน แร่ธาตุ น้ำ และไนโตรเจน จนออกมาเป็นผงโปรตีน คล้ายกรดอะมิโนที่อยู่ในเนื้อสัตว์ จากนั้นก็นำมาแปรรูปเป็นเนื้อสัตว์ทดแทนเพื่อให้มีผิวสัมผัสและหน้าตาเหมือนเนื้อสัตว์จริงๆ
เทคนิคนี้มีข้อดี 2 เรื่องคือ ข้อแรกคือไม่ก่อให้เกิดคาร์บอน เพราะมันเปลี่ยนให้เป็นโปรตีนนั่นเอง แถมสามารถช่วยลดคาร์บอนในอากาศซึ่ง สองลดทรัพยากรในการผลิตเนื้อสัตว์ เช่น ใช้พื้นที่น้อยลง 1.5 ล้านเท่า ลดการใช้น้ำลง 15,000 เท่า เมื่อเทียบกับการเลี้ยงวัวตามปกติ
สิ่งสำคัญคือ ต้นทุนถูกกว่าการเลี้ยงสัตว์ รวมถึงเนื้อสัตว์ทดแทนประเภทอื่นๆที่ผลิตจากถั่วและเนื้อทดแทนที่หมักจากเชื้อรา
ที่มา Wired