เปลี่ยนจากไอเดียให้เป็นจริง เมื่อ NIA สานฝันสตาร์ทอัพระดับเริ่มต้นด้วยโปรแกรมบ่มเพาะสตาร์ทอัพแบบ Jump Start ไปกับโครงการ “Bangkok CyberTech District Sandbox”  โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพระดับเริ่มต้นน้องใหม่ ที่น่าจับตามอง!

เราจะเห็นว่า ตลอดหลายปีมานี้ การสนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชนรุ่นใหม่ อันเป็นกำลังสำคัญของประเทศ ที่มีไอเดียอยากทำธุรกิจ โดยไม่ยึดติดว่าต้องมีพื้นฐานและประสบการณ์การทำธุรกิจมาก่อนต่าง ได้รับการช่วยเหลือและผลักดันจากทั้งภาครัฐและเอกชนเรื่อยมา

หนึ่งในโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพระดับเริ่มต้น ที่เปิดโอกาสให้ เยาวชนรุ่นใหม่ที่มีไอเดียอยากทำธุรกิจแต่อาจจะขาดทั้งความรู้ ประสบการณ์ ที่ปรึกษาและที่สำคัญคือเงินอัดฉีดสนับสนุนเพื่อ “Jump Start” ธุรกิจให้เข้าสู่ตลาดในช่วงเริ่มต้นได้อย่างรวดเร็ว ที่น่าจับโครงการหนึ่งคือ Bangkok CyberTech District Sandbox โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพระดับเริ่มต้น ในย่านพื้นที่นวัตกรรม Bangkok Cybertech District หนึ่งในย่านนวัตกรรมที่ได้รับการรองรับจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)  โดยย่านพื้นที่ดังกล่าวนี้ เกิดจากการผลักดันในเกิดนวัตกรรมเชิงพื้นที่ (Area-based innovation) พัฒนาย่านนวัตกรรมเพื่อเป็นต้นแบบ ในการผลิตหรือใช้นวัตกรรม (Test base area) ของ Startup และกลุ่ม Digital Industry (ธุรกิจด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล) เพื่อต่อยอดและนํานวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับคนในพื้นที่

นอกจากนี้ยังมีการทำศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจใหม่เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยให้เข้าสู่การเป็น Startup Nation

เหตุผลที่ทำให้โครงการ Bangkok Cybertech District Sandbox ถึงโดดเด่นและน่าสนใจ มีดังนี้ 

  • เป็นโครงการที่เน้นบ่มเพาะสตาร์ทอัพตั้งแต่เริ่มต้น หรือ Early Stage

ช่วงเริ่มต้นทำธุรกิจสตาร์ทอัพถือเป็นก้าวสำคัญ เพราะมันจะตัดสินเลยว่าธุรกิจคุณจะได้ไปต่อหรือหยุดแค่นี้ ปัญหาของสตาร์ทอัพเปิดใหม่มักจะเริ่มต้น Passion ที่ตัวเองมี อยากเอาเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหา ต้องบอกว่าแค่นั้นไม่พอ เพราะใช้ชีวิตจริงมีอะไรต้องเจออีกเยอะ ต้องผ่านการลองผิดลองถูกว่าจะเจอสูตรสำเร็จที่ต้องการ เพราะแม้จะเป็นไอเดียที่ดีแต่ถ้าไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้หรือผู้ใช้จำนวนไม่มากพอก็ไปต่อในระยะยาวได้ลำบาก บางรายเริ่มจากสายเทคเต็มตัวแต่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการตลาดก็อาจจะส่งผลต่อเรื่องของการเงินได้  ยิ่งไม่มีคนคอยแนะนำเราอาจจะเดินผิดทิศผิดทางได้ง่ายๆ

จะดีกว่ามั้ยถ้าเราจะนำพาธุรกิจให้ดำเนินไปอย่างมีที่พึ่งพาและสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยการเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์ (Mentor) ที่คอยให้คำแนะนำ ปรึกษาตลอดเส้นทาง ซึ่งโครงการ CyberTech District Sandbox เองก็ให้การสนับสนุนสตาร์ทอัพตั้งแต่เริ่มต้น  ( Early Stage ) ขอแค่มีไอเดียและผลิตภัฑณ์ที่น่าสนใจและสามารถทดสอบตลาดได้ ก็มีโอกาสได้รับการผลักดันต่อ ที่สำคัญมีพี่เลี้ยง (Mentor) มากประสบการณ์จะช่วยติดสปีดให้เหล่าสตาร์ทอัพได้ Jump start ผลักดันนวัตกรรมเข้าสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วแบบไม่ต้องลองผิดลองถูกมากเกินไป

  • มี Ecosystem ที่ค่อนข้างพร้อมคอยสนับสนุนตลอดเส้นทาง

โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และภาคีเครือข่ายพันธมิตรภายในย่านนี้มากมาย ซึ่งต้องบอกว่าระบบนิเวศที่ส่งเสริมสตาร์ทอัพของย่านนวัตกรรมแห่งนี้ ได้ถูกวางแผนและจัดเตรียมเพื่อรองรับการดำเนินโครงการอย่างครบถ้วน อาทิเช่น การช่วยเหลือด้านสตาร์ทอัพเพื่อเชื่อมโครงกับพันธมิตรธุรกิจในอนาคตในด้านต่างๆ ตลอดไปจนถึงการสนับสนุน ด้านข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งาน (Testimonial User) ที่จำเป็นในการทดสอบตลาด นอกเหนือจากการสนับสนุนจากตัวโครงการแล้ว ย่านนวัตกรรม Bangkok Cybertech District ยังตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีศูนย์กลางคือตึก True Digital Park ดังนั้นจึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน ที่สนับสนุนให้สตาร์ทอัพทำงานได้คล่องตัวมากขึ้น โดย ทรู ดิจิทัล พาร์คได้ให้การสนับสนุน ออฟฟิศส่วนตัว และ Co-working Space ให้สตาร์ทอัพที่ร่วมโครงการเข้ามาใช้งานได้ตลอดโครงการ

  • มีการเตรียมความพร้อมก่อนลงสนามจริงด้วย Workshop สุดเข้มข้นและสุดยอด Mentor คอยประกบอย่างใกล้คิด

ก่อนที่สตาร์ทอัพทั้ง 2 ทีมจะลงมือทดสอบผลิตภัณฑ์จริง ทางโครงการยังได้มีการจัด Workshop  อย่างเข้มข้นและต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพและเตรียมความพร้อมของแต่ละทีมก่อนลงสนามจริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสร้างความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของหลักการที่จะนำมาใช้ในการทดสอบและวัดผลจากผู้ใช้งานจริงในย่านปุณณวิถี, การวางกลยุทธ์ด้านการตลาดดิจิทัล และการวางแผนการเงินสำหรับสตาร์ทอัพ นอกจากนั้นทั้งสองทีมยังมีที่ปรึกษาโครงการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาคอยให้คำแนะนำ ปรึกษาและชี้แนะแนวทางอย่างใกล้ชิด 

  • มีสนามให้ทดสอบกับผู้ใช้งานจริง  

ผู้ที่ชนะการประกวดรอบคัดเลือกเพื่อเข้าสู่โครงการบ่มเพาะ CyberTech District Sandbox 2021 จำนวน 2 ทีม จะได้รับ เงินทุนสนับสนุนเพื่อนำไปใช้ในการทดสอบผลิตภัณฑ์กับผู้ใช้งานจริงในย่านนวัตกรรม Cybertech District ( ย่านปุณณวิถี) เสมือนได้ลงไปทดสอบตลาดจริง เป็นจำนวนเงิน ทีมละ 150,000 บาท ซึ่งเงินก้อนนี้เป็นการให้เปล่าแบบไม่มีเงื่อนไข ไม่มีข้อผูกมัดใดๆทั้งสิ้น

ซึ่งการทดสอบตลาด (Testing ) จากข้อมูลที่ได้จากผู้ใช้จริงนั้น ถือว่าสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะสามารถนำมาแก้ไขปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ก่อนปล่อยสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์เพื่อให้ตรงใจกับผู้ใช้มากขึ้น นั่นหมายถึงโอกาสที่ผลิตภัณฑ์ของเราจะล้มเหลว ก็ย่อมลดน้อยลงไปด้วย

มาทำความรู้จักกับ 2 สตาร์ทอัพผู้ชนะที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่ Bangkok Cybertech Sandbox ปี 2021

  • Garoo-Let’s talk

Garoo-Let’s talk สตาร์ทอัพที่มุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการ One-stop service ทางด้านสุขภาพจิตแบบครบวงจร ผ่านรูปแบบของแอปพลิเคชัน มี 3 ฟังก์ชันหลัก ได้แก่

1) Garoo Help! นัดหมายกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้ารับบริการคำปรึกษากับจิตแพทย์ นักจิตวิทยา และผู้รับฟังเชิงลึกจาก มูลนิธิ iShare Thailand

2) Garoo Check-up! ประเมินแนวโน้มเบื้องต้นสำหรับภาวะซึมเศร้า (PHQ-9) และภาวะวิตกกังวล (GAD-7) ด้วยตนเองภายใน 5 นาที

3) Sound Therapy (SST) เข้าถึงบริการดนตรีบำบัด ได้ทุกที่ ตลอดเวลา โดยทีมวิจัย Suandok Sound Therapy (SST) ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นอกเหนือไปจากนี้แล้วทางทีม Garoo ยังคงพัฒนาแอปพลิเคชันและการบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ใช้ได้มั่นใจในความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัย (Privacy & Securities) รวมถึงได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด (Trusted Services with Warmly Support) โดยปราศจาก การตีตรา และการเลือกปฏิบัติ (Non Stigmatization) และแน่นอนว่าการพัฒนาของทีม Garoo จะเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนในเรื่องความสำคัญของสุขภาพจิตและวงการ Health Tech ของประเทศไทย โดยสามารถร่วมกันสนับสนุนและติดตามทีม Garoo-Let’s talk ได้ที่ https://www.facebook.com/Garooletstalk หรือ https://telemeditex.com Garoo-Let’s talk อีกหนึ่งแอปพลิเคชั่นที่เหมาะกับบุคคลทั่วไปที่ใส่ใจสุขภาพใจของตัวเอง เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้ทั้งบน iOS และ Android 

  • UpSqill

UpSqill สตาร์ทอัพที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาวงการการศึกษาไทยด้วยพลังของเทคโนโลยี ด้วยระบบ AI-TOEIC tutoring application ที่มีติวเตอร์ส่วนตัว ด้วยการใช้เทคโนโลยีทางด้านปัญญาประดิษฐ์ ทำให้ผู้เรียนสามารถอัพคะแนน จากการฝึกฝนได้อย่างตรงจุดและพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด รวมทั้งประเมินคะแนนแบบ real-time ทำให้รู้ว่าคะแนนปัจจุบันห่างจากเป้าหมายเท่าไร พร้อมที่จะสอบจริงแล้วหรือไม่ ซึ่ง Upsqill เกิดจากการสังเกตเห็นปัญหาของการศึกษาทั่วไปที่ควรได้รับการแก้ไขใน 3 เรื่องหลัก ๆ ได้แก่ 

1) ความไม่มั่นใจของผู้เรียน 

2) ผู้เรียนไม่สามารถวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของตนเองได้ 

3) ระบบ One size fit all หรือการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรเดียว 

จากปัญหาข้างต้นนี้นำ ไปสู่การเริ่มต้นพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับนักเรียนหรือบุคคลทั่วไปที่จะเตรียมความพร้อม ในการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษโดยมุ่งเน้นไปที่ข้อสอบ TOEIC เป็นอย่างแรกเนื่องจากเป็นข้อสอบที่ได้รับความนิยมเป็นวงกว้าง โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปทำแบบทดสอบ TOEIC จำลอง เมื่อทำเสร็จระบบจะประมวลผลด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ทำนายเปอร์เซ็นความสามารถของผู้ใช้เมื่อทำข้อสอบ TOEIC กล่าวคือ สามารถวัดระดับความสามารถของตนเองได้ผ่านการทำแบบทดสอบที่มีจำนวนข้อน้อยกว่าข้อสอบจริง อีกทั้งยังช่วยให้รู้ว่าคะแนนปัจจุบันห่างจากเป้าหมายเท่าไร พร้อมที่จะสอบจริงแล้วหรือไม่ ที่พิเศษไปกว่านั้นตัวแอพพลิเคชั่นยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถเพิ่มคะแนนได้มากกว่า 100 คะแนนด้วยเวลาเพียงแค่ 20 ชั่วโมงอีกด้วย! เปรียบเสมือนมีติวเตอร์ส่วนตัว เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา และระบบยังช่วยนำเสนอคอร์สเรียนที่สอดคล้องกับความสามารถของผู้ทดสอบ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกเรียนได้ตามความเหมาะสม ในอนาคตทาง Upsqill มีแผนในการขยายระบบให้ครอบคลุมถึงข้อสอบ สนามต่าง ๆ รวมถึงเพิ่มฟีเจอร์อื่น ๆ ในการเตรียมความพร้อมอีกด้วย โดยคาดว่าจะมีการเปิดให้ทดลองใช้แอปพลิเคชัน ได้ในช่วงปลายปี 2564 – ต้นปี 2565 UpSqill จึงเป็นอีกหนึ่งสตาร์ทในสาขา EdTech ของไทยที่น่าติดตามและจะช่วยขับเคลื่อน วงการการศึกษาให้ก้าวหน้าไปได้ในอนาคตอย่างแน่นอน

เปิดใจ 2 สตาร์ทอัพ หลังจากเข้าร่วมโครงการ Bangkok CyberTech District Sandbox แล้ว มีความ เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคล?

UpSqill : “เปลี่ยนแปลงแน่นอนครับ อย่างแรกเลยเป็นส่วนของความรู้ที่เพิ่มขึ้นทั้งจากกิจกรรม workshop และ weekly mentorship เลยครับ ทั้งเรื่อง Digital marketing strategy หรือการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัล เรื่อง Financial Planning for Startup หรือการวางแผนทางการเงิน และที่ขาดไม่ได้คือเรื่อง Product Testing หรือการทดสอบผลิตภัณฑ์ ที่ได้ทั้งลงมือวางแผน ทดสอบกับผู้ใช้จริง ๆ และวิเคราะห์ผลครับ จากความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างเข้าร่วม โครงการทำให้ได้มองในหลายมิติมากขึ้น ได้เปิดโลกทัศน์และคิดว่าจะมีประโยชน์อย่างมากในการคิดกลยุทธ์ทางธุรกิจในอนาคตครับ ในระดับขององค์กรคิดว่าสมาชิกในทีมมองเห็นเป้าหมายเดียวกันชัดเจนมากขึ้นครับ มีความสามัคคีกันมากขึ้นด้วย”

Garoo : “สำหรับในระดับบุคคลคิดว่าจากกิจกรรมของทางโครงการที่เข้าร่วมเนี่ยทำให้เราคิดกันเป็นระบบมากขึ้น มีความรู้ในหลายด้านที่จำเป็นต่อผลิตภัณฑ์ของเรามากขึ้น และที่สำคัญเลยคือการได้ทดสอบผลิตภัณฑ์กับผู้ใช้จริง มันทำให้เราได้ค้นพบความจริงจาก user หลาย ๆ ข้อลึกยิ่งขึ้นแล้วมั่นใจในการวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้นอีกด้วย”

ผลักดันต่อ

หลังจากนั้นสตาร์ทอัพทั้งสองรายนี้ ได้รับการผลักดันต่อด้วยการเป็นตัวแทนของสตาร์ทอัพไทยเข้าร่วมงาน Asia Berlin Summit (Virtual Event) ที่จัดต่อเนื่องมากว่า 23 ปี เน้นแลกเปลี่ยนความรู้และขยายความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาค เอเชียกับยุโรป รวมถึงมีเพิ่มโอกาสทางธุรกิจผ่านการพิชชิ่งเพื่อรับเงินลงทุนเพิ่มเติมเพื่อนำไปขยายธุรกิจให้เติบโตขึ้นไปอีก

สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจ ที่มีไอเดีย มีไฟ มีความฝัน และอยากพัฒนาทักษะพร้อมรับโอกาสดีๆแบบนี้ หากสนใจเข้าอยากจะร่วมโครงการในรุ่นต่อไป สามารถติดตามโครงการนี้ให้ดี เพราะปีหน้า กลับมาอีกครั้งแน่นอน ! ใครไม่อยากพลาด กดติดตาม FACEBOOK fanpage :  Global Startup Hub Thailand จะได้ไม่พลาดโอกาสครั้งสำคัญ