danger_clip.jpg 

ข่าวภาพถ่ายดิจิตอลตลอดจนคลิปของดาราหนุ่มฮ่องกงกับแฟนสาวที่เป็นดาราด้วยกันถูกแพร่

กระจายไปบนเน็ตอย่างรวดเร็ว นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น แต่ที่ต้องให้ความสนใจ

กันมากขึ้นเป็นพิเศษก็คือ เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นกับเฉพาะดารา หรือคนดังเท่านั้น…

พอดีว่า เมื่อคืนวันเสาร์ที่ผ่านมาช่วงเวลาประมาณทุ่มครึ่ง ซึ่งเป็นเวลาที่ซีจัดรายการวิทยุอยู่ที่

คลื่น 106 ซีได้มีโอกาสสนทนาออนแอร์กับบรรณาธิการที่ปรึกษานิตยสารคอมพิวเตอร์ทูเดย์

คุณประสิทธิ์ วรฉัตราวณิช ในหัวข้อเกี่ยวกับประเด็นข้างต้น โดยมุ่งเน้นไปที่การป้องกันไม่ให้

เกิดเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวกับผู้ใช้อย่างเราๆ ท่านๆ ที่ใช้มือถือสมาร์ทโฟนตลอดจนโน้ตบุ๊ก

คุณประสิทธิ์เล่าให้ฟังว่า สาเหตุส่วนใหญ่จะเกิดจากความรู้ไม่ถึงการณ์ โดยเฉพาะการส่งซ่อม

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟนที่มีข้อมูลส่วนบุคคลตลอดจนไฟล์ภาพถ่าย และวิดีโอ

คลิปที่ถ่ายไว้อยู่ในนั้น ซึ่งความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นคือ การลบไฟล์ออกไปด้วยคำสั่ง delete

ก็เพียงพอแล้ว แต่ในทางปฏิบัติข้อมูลเหล่านี้จะสามารถกู้กลับคืนมาได้อย่างง่ายดาย

เนื่องจากคำสั่งที่ใช้ลบไฟล์เป็นแค่เพียงการบอกระบบปฏิบัติการว่า ข้อมูลในบริเวณดังกล่าว

ถูกลบไปแล้วสามารถเขียนข้อมูลทับได้ ในขณะที่ความจริงคือ ข้อมูลยังอยู่ จนกว่าจะมีการ

สั่งเขียนข้อมูลใหม่ทับลงไป ซึ่งจะทำให้การกู้ข้อมูลทำได้ยากขึ้นจนถึงทำไม่ได้เลย

ดังนั้นก่อนส่งมือถือ หรือโน้ตบุ๊กซ่อมที่ร้าน ควรจะสำรองข้อมูลออกมาก่อน แล้วลบข้อมูล

ทั้งหมดด้วยโปรแกรมอย่าง Eraser หรือถ้าเป็นมือถือก็ถอดการ์ดหน่วยความจำออก แล้ว

Hard Reset เพื่อล้างข้อมูลส่วนตัวที่อยู่ในหน่วยความจำของมือถือออกไปค่ะ แต่ถ้าจะให้

ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับ Smart Phone ที่ใช้หน่วยความจำแฟลช ก็ควรจะหาโปรแกรมลบที่

เขียนข้อมูลใหม่ทับลงไปด้วยเลยจะปลอดภัยกว่าค่ะ เท่าที่จำได้ก็ประมาณนี้ค่ะ รายละเอียด

เพิ่มเติมแนะนำให้อ่านนิตยสาร Computer.Today ปักษ์หลังเดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้ค่ะ

ctm_cover_328.jpg