ถ้าใครยังยึดติดว่าการเป็นทหารยังเชยยังล้าหลัง คิดใหม่ได้นะ เพราะตอนนี้เค้าเอาสื่อสังคมออนไลน์มาใช้แล้ว

ไม่น่าแปลกใจกับการที่กองทัพสหรัฐนำสื่อสมัยใหม่มาใช้ เพราะกองทัพเองก็ออกโฆษณาทีวีเชิญชวนให้พลเมืองผู้ที่สนใจมาสมัครเป็นทหารอยู่แล้ว แถมยังทำเป็นแคมเปญทางทีวีออกต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2006 แต่การมาของสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ้ค ทวิตเตอร์ flickr และ Youtube ทำให้ผู้คนใช่เวลาส่วนใหญ่ไปกับมันมากกว่าทีวีซะอีก ด้วยเหตุนี้กองทัพจึงต้องผสมผสานสื่อเก่าและใหม่เข้าด้วยกันเพื่อกระตุ้นให้คนมาสมัครทหารมากขึ้น

Lt. Gen. Benjamin C. Freakley นายทหารผู้ที่รับผิดชอบโปรเจคนี้ได้กล่าวกับหนังสือพิมพ์ New York Times ว่า “เราทำงานกันหนักเพื่อเพิ่มช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ของเรา เรารู้ว่าคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยดูโฆษณา หรือหันไปทำกิจกรรมอย่างอื่นตอนที่โฆษณามา เช่น เล่นสมาร์ทโฟน หรือเฟซบุ้ค ปัญหาคนสมัครทหารน้อยลงเริ่มมาตั้งแต่ปลายยุค 80 มีพลเมืองแค่ 9 % ที่เต็มใจสมัครเป็นทหาร ซึ่งน้อบลงมากเมือบเที่ยบกับยุค 1970s ด้วยเหตุนนี้ เราจึงต้องหาช่องทางที่เข้าถึงพวกเค้า เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะคติ ให้ข้อมูลเพื่อให้พวกเขารู้ว่าเป็ทหารแล้วได้อะไรมากกว่าที่คิด นั่นจึงเป็นที่มาของการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อขยายความสิ่งที่ปรากฎอยู่ในโฆษณานั่นเอง”

เป้าหมายในปีนี้ของกองทัพ คือการดึงคนหนุ่มสาวอายุ 17 ถึง 24 ปีให้มาสมัครรับใช้ประเทศชาติโดยใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวกระตุ้น ส่วนข้อความหลักยังคงใจความแบบเดียวกับในโฆษณานั่นคือ “Army Strong” ที่ใชัชุดทหารแสดงภาพลักษณ์ความเข้มแข็ง การอุทิศตัว ความสำเร็จ และความเป็นผู้นำ เน้นสื่อสารผ่านหลายแพลตฟอร์ม ทั้งเวปไซท์อย่าง Army Strong Stories บล๊อกที่เขียนเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับกองทัพโดยนายทหารยศต่างๆ มีทั้งรูป วิดิโอ และลิ้งค์ไปหน้าเวปรับสมัครนายทหารด้วย หรือเฟซบุ้ค Go Army ที่นอกจากจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับกองทัพแล้ว ยังเพิ่มเนื้อหาสุด exclusive อย่างตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง “X-Men: First Class,” ที่กองทัพได้เข้าไปเป็นผู้สนับสนุนหลักของหนังฮอลีวูดเรื่องนี้ แถมยังหาดูได้ที่นี่ทีเดียว ก่อนฉายจริงในวันที่ 6 มิถุนายนนี้

นอกจากเวปไซท์หลักแล้ว กองทัพยังเสริมด้วยช่องทางการสื่อสารอื่นๆอย่าง YouTube ,  Twitter , MySpace page หรือแม้แต่กระทั่ง แอพพลิเคชั่นบนไอโฟน ก็มี

[youtube http://www.youtube.com/watch?v=9vOdXsg4f6k&w=640&h=390]

VIA readwriteweb