วันนี้อยากรวบรวมผลงานเจ๋งๆที่ร่วมแข่งขันและผ่านไปชิงชัยในรอบสุดท้ายกันในงาน Google Science Fair
Google Science Fair เป็นการแข่งขันที่เปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนอายุ 13 – 18 ปีทั่วโลก ส่งผลงานเข้าแข่งขันผ่านทางระบบออนไลน์เพื่อเฟ้นหานักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะตัวน้อยๆ และเปิดพื้นที่ให้พวกเค้าแสดงไอเดียและฝีมือได้อย่างเต็มที่
รางวัลชนะเลิศมี 3 รางวัลแบ่งตามช่วงอายุ และจะมีการคัดเลือกผู้ชนะสูงสุดจากสามคนนี้อีกครั้งนึง กูเกิ้ลได้ทำการประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านเข้ารอบการแข่งขัน 15 คนสุดท้าย ทั้งหมดจะได้บินไป สนงใหญ่ Googleplex ใน Mountain View ที่แคลิฟอร์เนีย โดยการแข่งรอบสุดท้ายจะมีขึ้นในวันที่ 11 กรกฎาคมนี้ตัดสินโดยอภิปรายผลงานต่อหน้านักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับ
Google Science Fair จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 15 แล้ว งานปีนี้เริ่มมาตั้งแต่เดือนมกราที่ผ่านมา มีผู้สมัครสนใจเข้าร่วมถึง 7,500 คน และมีเพียง 60 คนที่ถูกโหวตทางออนไลน์เำื่พื่อค้นหา People’s Choice Award winner และผู้ที่คว้ารางวัลนี้ไปคือ Nimal Subramanian ได้รับทุนการศึกษาถึง $10,000 หรือสามแสนบาท เค้าอยากนำเงินก้อนนี้ไปศึกษาเกี่ยวกับสารต่อต้านมะเร็ง ส่วนโปรเจคอื่นๆที่เหลือถูกคัดเลือกให้เหลือ 15 ทีมที่เข้าสู่รอบสุดท้าย โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุ 13-14, 15-16 และ 17-18 ปี ช่วงอายุละ 5 โปรเจค
รายชื่อผู้เข้ารอบในช่วงอายุ 13-14 ปีมีดังนี้
- Michelle Guo, อเมริกา, the effect of cinnamon on β-amyloidcombating Alzheimer’s Disease;
- Anand Srinivasan, อเมริกา, direct brain interfacing of artificial prosthesis via electroencephalography (EEG);
- Lauren Hodge, อเมริกา, identifying inhibitors of carcinogenic Heterocyclic amines (HCAs) in grilled chicken by varying marinades;
- Daniel Arnold, อเมริกา, fixed and spring switches in cause and prevention of train derailments;
- Luke Taylor, แอฟริกาใต้, programming robots to understand and execute commands given in natural human language.
รายชื่อผู้เข้ารอบในช่วงอายุ 15-16 ปีมีดังนี้
- Dora Chen, อเมริกา, facial recognition and audio analysis program compiling important events for patients with dementia or communication disorders;
- Naomi Shah, อเมริกา, effects of air pollution on asthma sufferers;
- Harine Ravichandran, อินเดีย, solutions to power sags;
- Gavin Ovsak fully-submersible geared water turbine;
- Skanda Koppula,อเมริกา, preliminary system to collect physical marine data about the ocean floor.
รายชื่อผู้เข้ารอบในช่วงอายุ 17-18 ปีมีดังนี้:
- Shree Bose, อเมริกา, increase the efficiency of cisplatin, an ovarian cancer chemotherapy drug;
- Christopher Nielsen,แคนาดา, inexpensive alternative to current geo-positioning systems;
- Vighnesh Leonardo Shiv, อเมริกา, algorithms making it easier to analyze and transcribe music;
- Shaun Lim Hsien Yang, สิงคโปร์, identifying the effect of UV light on sunflowers as a natural herbicide;
- Matthew Morris, อเมริกา, improved hydrodynamic sailboat keel.
ทุกโปรเจคจะให้คะแนนจาก 8 หัวข้อ ภายใต้การอภิปรายจากคณะกรรมการที่นำโดย Dr. Kary Mullis ผู้ที่เคยได้รับรางวัลโนเบล, นักเทคโนโลยีชื่อดังจากกูเกิ้ลและ CERN, นักวิทยาศาสตร์จาก National Geographic และ Imperial College รวมถึงนักลงทุนและศาตราจารย์จาก Department of Nutrition, Food Studies, and Public Health และ Centre for Sustainable Materials Research & Technology โดยนำเสนอผลงานผ่านวิดีโอพรีเซนเทชั่นความยาวไม่เกิน 2 นาทีหรือสไลด์ไม่เกิน 20 หน้า
ผู้ชนะจะได้รับทุนการศึกษา $50,000 หรือ 1,500,000 บาทจากกูเกิ้ลพร้อมทริปท่องเที่ยวเกาะ Galapagos ที่ National Geographic ออกค่าใช้จ่ายให้หมด ส่วนรองชนะเลิศอีก 2 คนจะได้รับทุนการศึกษา $25,000 หรือ 750,00 บาท นอกจากนี้สปอนเซอร์อย่าง CERN, Google และ Scientific American ยังมอบทริปดูงานที่เจนาวา ซูริคและนิวยอร์ค แถมพ่วงด้วยตำแหน่งพนักงานฝึกหัดสเมือนที่ LEGO R&D เป็นเวลาหนึ่งปีให้กับผู้ชนะเลิศทั้งสามคน ส่วนรางวัลอื่นๆที่เหลือก็มี มือถือแอนดรอยด์, LEGO mosaics พร้อมถุง goody bags, สมาชิกภาพหนังสือ Scientific American และ National Geographic และโรงเรียนของผู้ชนะจะได้สิทธิเข้าใช้ฐานข้อมูลของ Scientific American
รอบรองและรอบสุดท้ายที่จะตัดสินขึ้นในงาน Google Science Fair ที่สนง.ใหญ่ของกูเกิ้ลในวันที่ 11 กรกฎาคมนี้จะมีการถ่ายทอดสดผ่านเวลา 6pm PST (หรือประมาณตี 2 บ้านเรา) ผ่านทาง YouTube หากงานครั้งนี้ประสบความสำเร็จและได้รับความนิยม งานในปีหน้ารับรองได่ว่าจะต้องดีขึ้นและยิ่งใหญ่กว่าเดิม สำหรับคนที่พลาดไปในปีนี้ก็ลงทะเบียนรับข่าวสารได้ ที่นี่ ปีหน้าจะได้ไม่พลาดอีกนะ
[youtube http://www.youtube.com/watch?v=PkMCDnJm4CI&w=640&h=390]VIA gizmag