ใช้เสาอากาศขนาดนาโนมาทำแผงโซล่าร์เซลล์ทำให้ผลิตไฟฟ้าได้ดีกว่าเดิม

คลื่นวิทยุเป็นพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอีกรูปแบบนึง ที่เราจะรับสัญญาณได้ก็ต้องใช้เสาโลหะเป็นตัวรับ แล้วอิเลคตรอนที่ถูกสร้างขึ้นมากจะเปลี่ยนไปเป็นกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้แสงอาทิตย์ที่เราเห็นก็เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอีกประเภทนึง ทีมนักวิจัยจาก Tel Aviv University ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าเราใช้เสาอากาศแบบเดียวกันมาเปลี่ยนแสงแดดมาเป็นกระแสไฟฟ้าล่ะ ถ้าทำเป็นเสาที่มีขนาดสั้นมากๆ หรือจะเรียกว่าเป็น เสาอากาศนาโน (nanoantenna) ที่สามารถนำมาทดแทนเซมิคอนดักเตอร์ที่ใช้ในแผงโซล่าร์เซลล์แบบพิเศษ นั่นจะทำให้เก็บเกี่ยวพลังงานจากดวงอาทิตย์ได้ในสเปคตรัมที่กว้างแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

เสาอากาศนาโนตัวนี้สร้างมาจากอลูมิเนียมและทองคำ และมีขนาดสั้นไม่ถึงหนึ่งไมครอน เนื่องจากแสงเป็นคลื่นสั้น เสาที่สั้นจะทำให้ดูดซับแสงได้เหมาะสมที่สุด เมื่อเสาอากาศนี้โดนแสงมันก็จะตัดสินใจว่าจะทำยังไงให้รับและส่งพลังงาน ในการทดสอบช่วงเริ่มต้นเสานี้ ไฟฟ้า 95% จะถูกดูดซับและส่งออกมา มีเพียงแค่ 5 % ที่สูญเสียไปนำมาใช้ไม่ได้

เสาอากาศแบบใหม่นี้นอกจากจะทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้น แต่ถ้าเราปรับเปลี่ยนความยาวให้ต่างกันไป ก็จะดูดซับความยาวของคลื่นแสงที่ต่างกันไปได้ ทางนักวิจัยเชื่อว่าถ้าแผงโซล่าร์เซลล์หนึ่งแผงใช้เสาที่มีความยาวต่างๆมาผสมกันก็จะทำให้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าการใช้เซมิคอนดักเตอร์ที่ปัจจุบันนิยมใช้กันอยู่ ตอนนี้ทางทีมนักวิจัยกำลังทดลองพัฒนาแผงโซล่าร์เซลล์จากพลาสติกที่ติดเสาอากาศนาโนเข้าไปค่ะ

VIA gizmag