ยุคนี้คนก้มหน้ามองจอบ่อยกว่าหันไปสบตาคนข้างๆ แชทผ่านแอพบ่อยกว่าโทรศัพทย์คุยกันซะอีก หลายคนเริ่มไม่แน่ใจว่ามือถือช่วยให้ใกล้กันหรือห่างเหินกันมากขึ้นกันแน่
อะไรที่ใช้งานเกินพอดีก็จะเกิดอาการเสพติด หากติดน้อยๆก็จะหงุดหงิดเมื่อมือถืออยู่ห่างตัวหรือเวลาไม่ได้ใช้งาน หากติดขั้นรุนแรงถึงขั้นอาการอาจจะปลีกตัวไปจากสังคมไปเลย แน่นอนค่ะอาการเหล่านี้รักษาได้แต่ต้องรู้ตัวก่อนว่าตัวเองติดก่อน วิธีง่ายๆที่ใช้สำรวจตัวเองว่ามีอาการเสพติดมือรึเปล่าก็คือ นับการปลดล็อคหน้าจอมือถือในแต่ละวันค่ะ
ซีลองสอบถามความเห็นในสื่อสังคมออนไลน์ของซีก็มีคนเข้ามาตอบถึง 200 ความเห็น หลายคนบอกไม่เคยนับ บางคนก็ 100 ครั้งต่อวัน ส่วนค่าเฉลี่ยของคนที่มาตอบจะอยู่ที่ 30-40 ครั้งต่อวัน
แล้วกี่ครั้งถึงจะเรียกว่าเสพติดล่ะค่ะ?
จากสติถิของผู้พัฒนาแอพรายนึงที่เก็บข้อมูลจากผู้ใช้ 150,000 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ออกมาเป็นตัวเลขความถี่ในการล็อคและปลดล็อคหน้าจอมือถือ ผู้ใช้จะหยิบมือถือขึ้นมาเช็คเฉลี่ย 110 ครั้งต่อวัน โดยมีช่วงเวลาที่ปลดล็อคบ่อยสุดก็คือ ระหว่าง 17.00 – 20.00 น. หลังจากเลิกเรียนหรือทำงานแล้ว โดยมีผู้ใช้มือถือมากกว่า 75% หยิบมือถือมาเช็คถึง 9 ครั้งต่่อชั่วโมงเลยทีเดียว
ส่วนช่วงเวลาที่มีการใช้งานน้อยสุดคือ 15.00 -17.00 น. โดยมีผู้ใช้งานมือถือแค่ 24% เท่านั้นหรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยหยิบมือถือขึ้นมาดู 4 ครั้งต่อชั่วโมง
รายงานอีกฉบับจาก Kleiner Perkins Caufield & Byers ก็แสดงให้เห็นถึงตัวเลขที่ใกล้เคียงกัน คือค่าเฉลี่ยปลดล็อคหน้าจอมือถือยู่ที่ 150 ครั้งต่อวัน แต่ลงรายละเอียดลึกกว่า โดยแบ่งเป็นการรับสาย/โทรออก 22 ครั้งค่อวัน ส่ง/ดูข้อความ 23 ครั้งต่อวัน หยิบมือถือดูเวลา 18 ครั้งต่อวัน ที่เหลือเป็นกิจกรรมอย่างอื่นค่ะ
ลองนับดูถ้าคุณเกินค่าเฉลี่ยก็แสดงคุณเริ่มมีอาการเสพย์ติดมือเข้าให้แล้ว ถ้าเกินกว่านั้นไปมากเรียกว่าเริ่มมีสัญญาณอันตรายควรจะปรับปรุงพฤติกรรมก่อนจะสายเกินแก้
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=1TR1iDl479I[/youtube]