จบลงไปแล้วกับงาน CISCO Innovation Challenge 2019 ที่ทางซิสโก้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในไทย เปิดเวทีให้คนรุ่นใหม่ ใช้นวัตกรรม IoT มาช่วยแก้ปัญหาสังคมไทย ยกระดับชีวิตและเศรษฐกิจให้ดีขึ้น

CISCO Innovation Challenge 2019

การแข่งขั้นครั้งนี้เปิดโอก่สให้คนรุ่นใหม่ที่มีไอเดียนำเทคโนโลยี IoT และ Cybersecurity มาพัฒนาสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อแก้ปัญหาที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งปีนี้มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมมากกว่า 70 ทีม โดยเริ่มให้ผู้ที่สนใจทั่วประเทศส่งผลงานเข้ามาประกวดตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึง 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา ในโจทย์การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา สาธารณสุข พลังงาน สิ่งแวดล้อม คมนาคม ที่เราเจอเป็นประจำในสังคมไทย โดยจะวัดจากความเป็นไปได้ในการมาเปลี่ยนแปลงสังคมได้จริง เพื่อช่วยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

CISCO Innovation Challenge 2019

ทีมที่ผ่านเข้ารวมนั้นจะได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมชี้ให้เห็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพแนวคิดของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นให้กลายเป็นวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง  ปีนี้มีทีมที่ผ่านเข้ารวมทั้งหมด 10 ทีมด้วยกันคือ

1 ทีม Parkspace กับแอป Parking Space

2 ทีมฮีโรจิ๋ว..สู้ไฟป่า กับผลงาน มอนิเตอร์ไฟป่าด้วย IoT

3 ทีม mVillege ผลงานนวัตกรรมบ้านเพื่อผู้สูงอายุ

4 ทีม Ricult ผลงาน แพลตฟอร์มดิจิทัลช่วยชาวนาตัดสินใจจาก DataDriven

5 ทีม Quarter ผลงาน อุปกรณ์ตรวจวัดกระแสน้ำ

6 ทีม Hello World!! ผลงาน ทุ่นลอยน้ำตรวจสอบคุณภาพน้ำ

7 ทีม Nuovo futuro, TD ผลงาน Intelligent Traffic Vehicle Emergency

8 ทีม Captain Thai-Nichi ผลงาน การควบคุมฟาร์มนกนางแอ่น

9 ทีม Tree story ผลงาน Tree Tracking System

10ทีม SaveTheBulb ผลงาน preventive Maintenance for Suvanabhumi Airport

ricult

รางวัลชนะเลิศและ Popular Vote ตกเป็นของทีม Ricult ผลงาน แพลตฟอร์มดิจิทัลช่วยชาวนาตัดสินใจจาก DataDriven ที่นำเทคโนโลยีมาวิเคราะห์วางแผนการปลูกพืช ช่วยให้เกษตรกรรู้ว่าควรปลูกพืชช่วงไหน ที่ดินตรงไหนมีปัญหาต้องรีบแก้ไข เพื่อให้ได้ผลผลิตดีและลดต้นทุน ผ่านแอปบนสมาร์ทโฟน ด้วยข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม คุณภาพดิน ความชื้น คุณภาพอากาศที่แสดงในรูปแบบกราฟที่เข้าใจง่าย แถมยังพยากรณ์ได้ล่วงหน้าถึง 9 เดือน จึงทำให้การวางแผนเพาะปลูกออกมาประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้คุณภาพชีวิตเกษตรกรดีขึ้น

รางวัลที่สองตกเป็นของ Captain Thai-Nichi ผลงาน การควบคุมฟาร์มนกนางแอ่น ที่เอาเทคโนโลยี IoT มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตรังนกที่ถือว่าเป็นสินค้าเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ด้วยการนำเทคโนโลยี IOT มารวมกับเซ็นเซอร์และระบบ Cloud มาใช้ควบคุมสภาพแวดล้อมในฟาร์มบ้านนกนางแอ่นให้เหมาะสม ทั้งความชื้น อุณหภูมิในการทำฟาร์มเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้นและลดต้นทุนการผลิตให้ถูกลง

รางวัลที่สามตกเป็นของทีม Parkspace กับแอป Parking Space นำเทคโนโลยี IoT มาช่วยแก้ปัญหาการวนหาที่จอดรถ ทั้งการนำทางไปยังที่จอดรถที่ว่างอยู่ การจองที่จอดรถล่าวงหน้าผ่านออนไลน์ เพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ใช้ ประหยัดเวลามากขึ้น

ทางทีมผู้ชนะจะได้เงินรางวัล 100,000 บาท, 50,000 บาทและ 30,000 บาทตามลำดับ ทุกทีมจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมเรียนหลักสูตรออนไลน์ Introdution to IoT และ Introduction tp Cybersecurity โดย CISCO Networking Academy ส่วนทีมชนะเลิศจะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งนขันต่อในรายการระดับโลก

นายวัตสัน ภิทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการซิสโก้ประจำประเทศไทยและภูมิภาค อินโดจีน กล่าวว่า “ซิสโกมีความดั้งใจมาโดยตลอดที่จะสนับสนุนให้คนไทยสร้างสรรค์ความคิดในการแก้ไขปัญหาสังคมที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยใช้ประโยชน์จาก oT และ Cybersecurity ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยดิจิทัล ดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่นในปัจบันป็นสิ่งที่องค์กรและธุรกิจให้ควมสนใจอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่ช่วยยกระดับเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังช่วยแก้ไขปัญหาที่สังคม รวมทั้งสร้างโอกาสใหม่ๆ ทุกวันนี้องค์กรและธุรกิจต่างๆไม่มีคำถามว่ควรจะทรานส์ฟอร์เมชั่นหรือไม่แต่”เมื่อไหร่”ที่จะทรานส์ฟอร์ม เราหวังว่จะได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันแนวคิดเหล่านี้และช่วยสานฝันของพวกเขาให้กลายเป็นจริง รวมทั้งกระตุ้นให้คนทั่วไปเล็งเห็นความสำคัญของดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่นที่จะส่งผลกระทบวงกว้าง และพร้อมรับมือสู่การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ซึ่งองค์กรหรือธุรกิจต่างๆที่ไม่ปรับตัวจะไม่สามารถตามคู่แข่งได้ทัน

ตลอดระยะเวลาของการแข่งขัน ซิสโก้ได้เห็นมุมมอง แนวคิดตัวอย่างของโชลูชั่นแปลกใหม่ที่พัฒนาด้วยความตั้งใจจริงของคนรุ่นใหม่ที่จะนำเอา IoT และเทคโนโลดิจิทัลมาเชื่อมเข้ากับดาต้าและอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อตอบสนองความต้องการของคนมากกว่าแต่ก่อน ทุกไอเดียที่เสนอมาเป็นแนวคิดสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างรวดเร็วและซิสโก้จะช่วยทำให้ฝันของพวกเขาเป็นจริงให้ได้”

ซิสโกมุ่งมั่นในการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเชิงสร้งสรรค์พื่อนำประโยชน์มาสู่ท้องถิ่นและแก่ไขปัญหาที่มนุษย์กำลังเผชิญด้วยเทคโนโลยี โดยในปี พ.ศ. 2557 ซิสโก้ได้ริเริ่มโครงการ “Problem Solver Challenge” นำไปสู่การพัฒนาดิจิทัลแผลดฟอร์มที่สามารถใช่งานได้จริงไม่ว่าจะเป็นระบบรดน้ำพลังงนแสงอาทิตย์, แพลตฟอร์มวิดีโอที่ภาพคมชัดบนทุกความเร็วอินเทอร์เน็ต แอปพลิเคชันเพื่อการวินิจฉัยโรคหรือ กล้องที่สามารถตรวจจับท่าทางการเคลื่อนไหวของคนได้ นวัตกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นไอเดียของการประยุกต์ซึ่งเทคโนโลยีและจินตนาการของมนุษย์ ผนวกกันจนกลายเป็นนวัตกรรมสุดล้ำ ที่ช่วยแก้ปัญหาหรืออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของเราให้ง่ายและสบายยิ่งขึ้น และนวัตกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นผลงานที่มาจากการประกวดไอเดียและนวัตกรรมของซิสโก้นั่นเอง