AWS เผยทิศทางดำเนินงานปี 2022 ในไทย เร่งเพิ่มและพัฒนาทีมงาน พาร์ทเนอร์ และบริการด้านคลาวด์ในไทย เพื่อตอบโจทย์องค์กรในการเตรียมพร้อมรับมือ digital transformation และมุ่งมั่นลงทุนระยะยาวในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
เมื่อมองที่รายได้รวมของ AWS ทั่วโลกในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 อยู่ที่ 18.44 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะธุรกิจคลาวด์ของ Amazon เติบโต 36.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วในไตรมาสแรก ซึ่งเติบโตมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ส่วน AWS นั้นมีรายได้จากการดำเนินงานที่ 6.52 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสแรก เพิ่มขึ้นเกือบ 57%
ทาง AWS มองไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่สำคัญ ซึ่งผลการเติบโตของไทยก็สอดคล้องตามตลาดโลก คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส ประเทศไทย ได้เผย กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของ AWS ในประเทศไทยปี 2565 เน้นให้ความสำคัญ 3 ด้าน
- การสร้างทีมงานที่หลากหลายในประเทศไทยเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าทุกขนาดและประเภทอุตสาหกรรม เราขยายทีมที่มีความเชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็นด้านการขาย ด้านเทคนิค การบริการระดับมืออาชีพ และ solution architect รวมถึงทีม Digital Native Business (DNB) ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับการเติบโตของลูกค้ากลุ่มยูนิคอร์นที่กำลังเติบโตในประเทศไทย
- การสร้างความแข็งแกร่งในด้านความร่วมมือกับคู่ค้าใน AWS Partner Network อาทิ SiS Distribution (SiS) ผู้จัดจำหน่ายไอทีมูลค่าเพิ่มชั้นนำของประเทศไทยที่ให้บริการพันธมิตรกว่า 7,000 ราย เข้าร่วม AWS Distribution Program ในฐานะผู้จัดจำหน่าย AWS ในเดือนตุลาคม 2564 SiS เป็นผู้จัดจำหน่าย AWS รายแรกในประเทศไทยสำหรับกลุ่มการค้าของ AWS ซึ่งขับเคลื่อนการเติบโตทางดิจิทัลโดยการให้บริการของ AWS กับฐานที่ขยายตัวของคู่ค้าในไทย เร่งการเปลี่ยนแปลงจากผู้จำหน่ายไอทีแบบเดิมเป็นคู่ค้าที่ปรึกษาด้านคลาวด์ นอกจากนี้ AWS ยังทำงานร่วมกับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อิสระในประเทศไทยผ่าน AWS ISV Accelerate Program ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการขายร่วมสำหรับองค์กรที่ให้บริการโซลูชันซอฟต์แวร์ที่ทำงานหรือผสานรวมกับ AWS โปรแกรมนี้ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ขับเคลื่อนธุรกิจใหม่และเร่งวงจรการขายโดยเชื่อมต่อ ISV กับฝ่ายขายของ AWS
- Technology simplification วิวัฒนาการของเทคโนโลยี
Stage 1: Secured cloud infrastructure – AWS ทำงานร่วมกับลูกค้าที่อยากนำระบบคลาวด์มาใช้ โดยเน้นที่การมอบแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของด้านสถาปัตยกรรม (AWS Well-Architected Framework) และมีความปลอดภัย ช่วยองค์กรต่าง ๆ ย้ายโครงสร้างพื้นฐานจาก on-premise มาสู่คลาวด์ ในปัจจุบัน องค์กรส่วนใหญ่ทั่วโลกยังใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบ on-premise และ hybrid มีการใช้จ่ายเพียงประมาณ 5% เท่านั้นที่อยู่บนคลาวด์
Stage 2: Modernization – เมื่อลูกค้าได้ใช้ระบบคลาวด์ของ AWS มาซัก 2-3 ปี และวางแผนที่จะใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขึ้น เช่น AI และ ML ทีมงาน Solution Architect ในประเทศไทย จะทำงานร่วมกับฝ่ายขายอย่างใกล้ชิด เพื่อตอบโจทย์ความต้องของลูกค้าและช่วยให้ลูกค้าเข้าใจในเทคโนโลยีขั้นสูงและเริ่มนำมาใช้ได้ง่ายขึ้น เช่น
- Amazon Personalize – ทำให้การสร้างแอปพลิเคชันของนักพัฒนานั้นง่ายขึ้น สามารถมอบประสบการณ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างหลากหลายและเหมาะกับลูกค้าแต่ละราย รวมถึงให้คำแนะนำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ การจัดอันดับผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และการตลาดที่กำหนดเองได้
- Amazon Forecast – บริการที่ใช้ ML เต็มรูปแบบในการนำเสนอการคาดการณ์ที่มีความแม่นยำสูงสำหรับธุรกิจ
- AWS Rekognition – บริการวิเคราะห์ภาพด้วย ML สามารถทำการวิเคราะห์รูปภาพและวิดีโอในจำนวนนับล้านภายในไม่กี่นาทีด้วย AI
ประกันภัยไทยวิวัฒน์ (TVI) เป็นตัวอย่างบริษัทที่ได้นำเทคโนโลยี AI และ ML มาใช้เพื่อทำการตรวจสอบรถยนต์แบบเรียลไทม์และแม่นยำอย่างง่ายดายแค่ปลายนิ้ว ช่วยให้การเคลมประกันสามารถดำเนินการได้เร็วกว่าการประกันภัยแบบเดิมถึงสิบเท่า นอกจากนี้ยังช่วยในการลดต้นทุน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตอย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่ง
Stage 3: Intelligent services and sustainability – เตรียมความพร้อมลูกค้าสู่ความยั่งยืน ตามโมเดล Bio-Circular-Green Economic (BCG) ที่ได้รับการยอมรับจากงานวิจัยและรัฐบาลไทยได้ส่งเสริมให้เป็นโมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่มีความครอบคลุมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ BCG ยังนำข้อได้เปรียบในด้านความหลากหลายของเชื้อชาติและวัฒนธรรมมาใช้ รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ในปัจจุบันบางบริการของ AWS อยู่ระหว่างการพัฒนาให้รองรับภาษาไทย และรองรับอุตสาหกรรมที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น ด้านการแพทย์ การเงิน อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งมอบทั้งความสะดวกสบายแก่องค์กรที่ใช้และความอัจฉริยะของเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อน
AWS มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนลูกค้าและคู่ค้าในประเทศไทย – ทั้งในระยะใกล้และระยะยาว
ในเดือนมีนาคม 2565 AWS ประกาศแผนเตรียมเพิ่มบริการใหม่ที่มีชื่อว่า AWS Local Zone ในกรุงเทพฯ AWS Local Zone ดังกล่าวเป็นการต่อยอดบริการด้านการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ Edge กับคลาวด์ ที่มีให้บริการในประเทศไทยก่อนหน้านี้ ซึ่งได้แก่ Amazon Cloudfront และ AWS Outposts AWS Local Zone แห่งใหม่ในกรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งของ AWS Local Zone ที่มีอยู่แล้ว 16 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกาและอีก 32 แห่งที่วางแผนจะเปิดตัวใน 25 ประเทศทั่วโลกเริ่มในปี 2565 ซึ่งมอบประสิทธิภาพ latency ในหลักหน่วยของมิลลิวินาที (single-digit millisecond) ที่ Edge ของคลาวด์ให้กับผู้คนหลายร้อยล้านคนทั่วโลก
องค์กรต่าง ๆ กำลังเร่งการนำระบบคลาวด์ของ AWS ไปใช้ด้วยการกระจายประเภทของปริมาณงานที่ใช้ระบบคลาวด์
AWS ทำงานร่วมกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารชั้นนำของประเทศไทย ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจครบวงจรตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ และการแปรรูปอาหาร ธุรกิจครอบคลุม 17 ประเทศและส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังกว่า 30 เมืองทั่วโลก การเดินทางของ CPF สู่การใช้ AWS Cloud เริ่มต้นขึ้นในปีพ.ศ. 2559-2560 บริษัทค่อย ๆ ย้ายแอปพลิเคชันไปยังระบบคลาวด์ ซึ่งส่งผลให้มีปริมาณงานจำนวนมากในปีพ.ศ. 2563 ระบบคลาวด์ของ AWS ช่วยปรับปรุงในสามด้านหลัก ได้แก่ ประสบการณ์ลูกค้า ระบบอัตโนมัติ และข้อมูลและการวิเคราะห์
กลุ่มปูนซิเมนต์ไทย (SCG): AWS ร่วมมือกับบริษัทในเครือ SCG หลายแห่ง เพื่อสร้างนวัตกรรม เรากําลังทํางานร่วมกับ SCG Ceramics และ SCG Packing ในการย้าย SAP มายัง AWS นอกจากนี้ เรายังทํางานร่วมกับเอสซีจี ซีเมนต์–วัสดุก่อสร้าง เพื่อเปิดตัวโซลูชั่นสมาร์ทโฮมโดยใช้ AWS IoT Greengrass นอกจากนี้ เอสซีจียังใช้ AWS สําหรับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เช่น NocNoc.com, bigthailand.com และ qchang.com
กลุ่มบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ผู้ให้บริการพลังงานที่ยั่งยืนในประเทศไทย GPSC เลือก AWS เป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์และย้ายแอปพลิเคชันส่วนใหญ่ของกลุ่มไปยังระบบคลาวด์ หลังจากใช้งานศูนย์ข้อมูลแบบดั้งเดิมมานานกว่าหลายสิบปี AWS แนะนำ DailiTech ที่เป็น AWS Partner ช่วยในการโยกย้ายข้อมูลและการใช้งาน โดยพิจารณาจากความเชี่ยวชาญและความสามารถที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในการโยกย้ายข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบัน GPSC สามารถลดต้นทุนในด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และใบอนุญาตได้ถึง 20-25%
ด้วยการทำงานร่วมกับ AWS ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย (Thai Credit Retail Bank: TCRB) สามารถมอบบริการทางการเงินที่ทั่วถึงสำหรับไมโครไฟแนนซ์และกลุ่มไมโคร SME โดยธนาคารได้ เปิดตัวแพลตฟอร์มธนาคารแบบเปิดที่ขับเคลื่อนด้วย API บน AWS ซึ่งช่วยให้ลูกค้าใช้ระบบดิจิทัลและสร้างโอกาสใหม่ ๆ สำหรับคู่ค้าทางธุรกิจ ธนาคารใช้บริการต่าง ๆ ของ AWS ได้แก่ Amazon RDS, AWS CloudWatch และ AWS Lambda ร่วมกับเทคโนโลยีไร้เซิร์ฟเวอร์เพื่อขับเคลื่อนบริการไมโครเซอร์วิสของธนาคารทางอินเทอร์เน็ตและระบบสนับสนุน สถาปัตยกรรม AWS แบบไร้เซิร์ฟเวอร์ช่วยให้บริษัทสามารถขับเคลื่อนโซลูชันที่มีความยืดหยุ่นสูง ลดงานในด้านการบำรุงรักษาลง ในขณะที่ช่วยให้ธนาคารบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจที่แตกต่าง
ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (Small and medium sized business: SMB) เป็นแกนหลักของเศรษฐกิจในอาเซียน พวกเขาใช้ AWS Cloud เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลให้ได้มากที่สุด
SMB เป็นรากฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจของประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการจ้างงานมากกว่า 80% ของแรงงานในภูมิภาคและมีส่วนขับเคลื่อน GDP ของภูมิภาคได้มากกว่า 50% เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสำหรับ SMB ในการเพิ่มศักยภาพในด้านดิจิทัลของกลุ่มธุรกิจนี้ การประมวลผลบนคลาวด์ช่วยลดอุปสรรคทางด้านเทคโนโลยี เช่น ความสามารถในการเข้าถึงและต้นทุน เห็นได้จากการเติบโตของการใช้คลาวด์ของกลุ่ม SMB ในประเทศแถบอาเซียน จากการสำรวจของ IDC ในหัวข้อ “SMB Cloud Trends in Asia/Pacific” (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) พบว่าการลงทุนใช้งานระบบคลาวด์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในกลุ่ม SMB โดยมากกว่า 80% ของ SMB คาดว่าจะเพิ่มการใช้งานระบบคลาวด์มากขึ้นในอนาคตอันใกล้
ดร.เวอร์เนอร์ โวเกิลส์ รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ Amazon.com เผย 8 เทรนด์ด้านเทคโนโลยีที่สำคัญที่จะเข้ามาเปลี่ยนชีวิตของพวกเรา ว่าเราคาดหวังว่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ SMB ในการเริ่มใช้เทคโนโลยีคลาวด์ขั้นสูงเพื่อเข้าถึงลูกค้า ขับเคลื่อนโดยประสบการณ์ที่ SMB ส่วนใหญ่เผชิญในปีที่ผ่านมา ซึ่งการนำธุรกิจให้พ้นวิกฤตขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เราคาดว่าจะได้เห็นเทคโนโลยีขั้นสูงและผู้ให้บริการสำหรับ SMB ที่มากขึ้น ช่วยให้ SMB ในทุกขั้นตอนตั้งแต่การสร้างและฝึกอบรมแชทบอทเพื่อช่วยตอบคำถามที่พบบ่อย ไปจนถึงทำให้ระบบ CRM พร้อมใช้งานภายในไม่กี่นาที SMB สามารถใช้ผลประโยชน์จากสถาปัตยกรรมและแอปพลิเคชันที่ซับซ้อนได้โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนา คลาวด์ทำให้ SMB หลายพันรายทั่วทั้งอาเซียนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น
AWS ทำงานร่วมกับ AMPOS ซึ่งเป็น SMB ที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี HR เพื่อติดตามแนวโน้มการจัดการผู้มีทักษะ AMPOS ประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือผู้ผลิต ร้านอาหาร ธุรกิจค้าปลีกในการปรับปรุงการจัดการหรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นต้น โดย AMPOS มีความเชียวชาญด้านเทคโนโลยีคลาวด์ของ AWS และเป็นคู่ค้าด้านเทคโนโลยี APN Select Tier อย่างเป็นทางการของ AWS
Farmbook ใช้พลังของ AWS Cloud เพื่อค้นหาสิ่งที่สมาชิกต้องการในยุค ‘Agriculture 4.0’ ทำให้พวกเขาสามารถใช้ฟังก์ชันต่าง ๆ ได้ เช่น แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวมถึงการจัดพื้นที่เพาะปลูก การใช้ทฤษฎีหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในพื้นที่ต่าง ๆ การบันทึกการทำงาน การทำบัญชีสำหรับการประเมินทางการเงิน การหมุนเวียนผลิตภัณฑ์ในชุมชน หรือการเพิ่มช่องทางการขายเพื่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชนมากขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีทางด้าน ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการสำรวจระยะไกล อากาศยานไร้คนขับ Deep Learning ระบบบัญชี และ IOT มาใช้
Hytexts คือ สตาร์ทอัพของไทยที่สร้างแพลตฟอร์มห้องสมุดออนไลน์ขับเคลื่อนโดย AWS Cloud บริษัทได้เลือกบริการคลาวด์ของ AWS ที่มีความสามารถในการปรับขนาดและความเสถียรเพื่อมอบรูปแบบบริการที่ครอบคลุม ในการสร้าง e-library แอปพลิเคชันที่เข้าถึงได้ ใช้งานง่าย และน่าสนใจ
สตาร์ทอัพและผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อิสระ (ISV) – AWS มีความภูมิใจในประสบการณ์อันยาวนานในการทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพ และบทบาทของเราที่ช่วยให้สตาร์ทอัพของไทยเติบโตและประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ได้แก่
Bitkub เป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายแรกของประเทศไทย เป็นแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลและสกุลเงินดิจิทัลชั้นนำที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีทั้งหมดของ AWS เพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับขนาด ความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และลดต้นทุน
Pomelo เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซแฟชั่นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่ใช้ Amazon Personalize เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพข้อเสนอสำหรับลูกค้าทางออนไลน์ ส่งผลให้จำนวนคลิกเพิ่มขึ้น 60% ซึ่งนําไปสู่รายได้ที่เพิ่มขึ้น 15%
Omise เป็นผู้นำในภาค FinTech ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ให้บริการการชำระเงินเกตเวย์แก่ร้านค้า ตั้งแต่เปิดตัวในประเทศไทยในปี 2556 บริษัทได้ขยายไปยังประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท ได้แก่ Application Programming Interface (API) สำหรับการประมวลผลบัตรเดบิตและบัตรเครดิต และนำเสนอผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งรวมถึงการชำระเงินด้วย PayNow QR บนมือถือในสิงคโปร์ พร้อมเพย์ในประเทศไทย และการชำระเงินผ่านร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่น ตั้งแต่ย้ายมายัง AWS Cloud กระบวนการจัดการการปฏิบัติตามข้อกำหนดของบริษัทก็กลายเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น Omise ต้องดำเนินการตรวจสอบประจำปีตามที่รัฐบาลและธนาคารในแต่ละประเทศที่ดำเนินการกำหนด ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำได้รวดเร็วขึ้นด้วยระบบเอกสารที่พร้อมใช้งาน AWS Artifact ด้วยการเลือก AWS เป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์เพียงรายเดียว บริษัทสามารถขยายโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ไปยังประเทศใดก็ได้ โดยปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลอุตสาหกรรมบัตรชำระเงิน (PCI DSS)
Amity เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ด้านการสื่อสารที่ให้บริการทั่วโลกและใช้ AWS เพื่อเปลี่ยนสู่การเป็นแพลตฟอร์มการมีส่วนร่วมทางโซเชียลมีเดียที่ครอบคลุม และขับเคลื่อนการขยายตัวของบริษัท โดยโควิด-19 ช่วยให้องค์กรเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ใช้และสร้างชุมชนดิจิทัลผ่าน Amity Social Cloud ที่ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถผสานรวมคุณสมบัติของโซเชียลมีเดียเข้ากับแอปและเว็บไซต์ขององค์กรได้โดยใช้โค้ดเพียงไม่กี่บรรทัด ทำให้ลูกค้าและผู้ใช้รายเดือนที่มากกว่า 10 ล้านคนสามารถส่งข้อความได้หลายพันล้านข้อความ โดยในปี 2563 องค์กรต่าง ๆ มีความต้องการใช้บริการของ Amity เพิ่มขึ้นถึงห้าเท่า ในการผสานรวมฟีเจอร์โซเชียลมีเดียเพื่อดึงดูดลูกค้า ผู้ใช้ และพนักงานให้ดีขึ้น
2C2P เป็นบริการชําระเงินชั้นนําของอาเซียนตะวันออกเฉียงใต้ในรูปแบบ B2B2C ที่ให้บริการร้านค้าอีคอมเมิร์ซและสายการบิน ช่วยให้สามารถชําระเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต เพิ่มเติมจากช่องทางธนาคาร เช่น ตู้เอทีเอ็ม อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง และแอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือ การย้ายข้อมูลของ 2C2P ไปยัง AWS Cloud ช่วยเพิ่มความพร้อมใช้งานของระบบได้ถึง 99.999% โดยมีการประมวลผลธุรกรรมหลายหมื่นรายการทุกวันบน AWS การใช้ AWS ช่วยให้ 2C2P สร้างสรรค์บริการการชำระเงินที่หลากหลายสำหรับบุคคลทั่วไปได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ทําให้โครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์อัตโนมัติ เพื่อรองรับช่วงเวลาโปรโมชั่นของผู้ค้าที่มีความต้องการใช้งานสูง ซึ่งช่วยลดความจำเป็นในการมีพนักงานที่ต้องคอยดูแลระบบ
พันธมิตร – AWS มองว่าคู่ค้าคือส่วนขยายของทีม และเรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาชุมชนคู่ค้าที่มีความหลากหลายทั้งในภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทย เรารู้สึกตื่นเต้นมากกับการที่องค์กรเทคโนโลยีและที่ปรึกษาของอาเซียนเปิดรับระบบคลาวด์ของ AWS และอัตราการสร้างที่ขับเคลื่อนโดยลูกค้าซึ่งเกิดขึ้นในชุมชนคู่ค้าของ AWS
AWS Partner Network (APN) ช่วยให้บริษัทไทยประสบความสําเร็จในการสร้างธุรกิจบนระบบคลาวด์ของ AWS โดยให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและการตลาดที่สำคัญ ทําให้ลูกค้าเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้นและช่วยให้พวกเขามุ่งเน้นที่การมีส่วนร่วมของลูกค้า
คู่ค้าเช่น MFEC, NTT (ประเทศไทย), True Internet Data Center (True IDC) และ Dailitech สร้างโซลูชันระบบคลาวด์แบบครบวงจรที่สามารถยกระดับธุรกิจและช่วยลูกค้าขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงบน AWS Cloud ได้
ในประเทศไทยและทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลูกค้าเช่น GPSC, aCommerce, Central Group, TISCO Bank และอื่น ๆ อีกมากมายประสบความสำเร็จในการใช้ประโยชน์จาก AWS Partners เพื่อตระหนักถึงลำดับความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงระบบคลาวด์
เรากำลังขยายาระบบนิเวศคู่ค้าโดย 90% ของบริษัทที่อยู่ใน Fortune 100 และบริษัทส่วนใหญ่ที่อยู่ใน Fortune 500 ใช้โซลูชันและบริการของคู่ค้าใน AWS Partner Network ขณะนี้เรามี Partner Competencies 20 รายในอาเซียนที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น SAP, Data and Analytics, DevOps และ Microsoft Workloads ผ่าน AWS Competency Program
คู่ค้าของเราได้รับประโยชน์จากการทำงานร่วมกับ AWS อย่างไร ตัวอย่างหนึ่งคือ เงินติดล้อ ผู้นําด้านสินเชื่อรถยนต์เพื่อเงินสดและประกันวินาศภัยในประเทศไทย ได้มอบหมายให้ True IDC เปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีผ่านกลยุทธ์ Cloud Transformation เพื่อสนับสนุนฟังก์ชันการทํางานและการเติบโตทางออนไลน์ เงินติดล้อตัดสินใจย้ายเว็บไซต์ทั้งหมดไปยัง AWS Cloud เพื่อความยืดหยุ่น ความต่อเนื่อง และความพร้อมในการขยายระบบ เงินติดล้อใช้โมเดล AWS Landing Zone เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเว็บไซต์ใหม่และรองรับปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยให้ทีมสร้างและเสนอโปรโมชันได้โดยไม่หยุดชะงัก บริษัทยังเสนอเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับบริการสินเชื่อและประกันภัยเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า
ความยั่งยืนจากการใช้คลาวด์ – AWS มุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพและการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องในโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกของเรา ในขณะที่มุ่งสู่การดำเนินงานด้วยพลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2568
นอกจากการช่วยเหลือลูกค้าให้ประสบความสำเร็จแล้ว ระบบคลาวด์ยังช่วยสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ลดผลกระทบที่องค์กรมีต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ผลการสำรวจของบริษัทวิจัย 451 Research พบว่าโครงสร้างพื้นฐานของ AWS มีประสิทธิภาพด้านพลังงานมากกว่าค่าเฉลี่ยของศูนย์ข้อมูลที่ทำการสำรวจถึง 3.6 เท่า เมื่อพิจารณาถึงความเข้มข้นของคาร์บอนของไฟฟ้าที่ใช้และการซื้อพลังงานหมุนเวียน พบว่า AWS ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 88% เมื่อเทียบกับปริมาณงานเดียวกัน
เมื่อไม่นานมานี้ AWS เปิดตัว AWS Customer Carbon Footprint Tool ช่วยให้ลูกค้าคำนวณและเห็นภาพการปล่อยคาร์บอนของบริษัทได้ง่ายขึ้น โดยสามารถคำนวณค่าประมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่โดยใช้ AWS แทนศูนย์ข้อมูลภายในองค์กร และช่วยคาดการณ์ตัวเลขที่เปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไปตามการใช้งานในปัจจุบัน
AWS มุ่งมั่นที่จะสร้างความยั่งยืนและสร้างอนาคตที่ดี โดยในปี 2562 Amazon ได้ร่วมก่อตั้ง The Climate Pledge ซึ่งเป็นคำมั่นสัญญาที่จะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2583 หรือเร็วกว่าข้อตกลงปารีสถึง 10 ปี ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีธุรกิจมากกว่า 300 แห่ง ใน 51 อุตสาหกรรม ใน 29 ประเทศได้ร่วมลงนาม
AWS ช่วยลูกค้าจากทุกอุตสาหกรรมที่กำลังสร้างอยู่บนระบบคลาวด์ ให้สร้างสรรค์ เร่งการเติบโต และปรับขนาดโซลูชันที่ส่งผลต่อความยั่งยืน ลูกค้าสามารถใช้บริการของ AWS เพื่อนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ และจัดการข้อมูลอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างโซลูชันตั้งแต่การติดตามคาร์บอนไปจนถึงการอนุรักษ์พลังงานและการลดของเสีย AWS ให้บริการที่หลากหลายและซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็น AI, ML, IoT, การวิเคราะห์ข้อมูล และการประมวลผล เพื่อช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน
AWS Well-Architected ช่วยให้สถาปนิกระบบคลาวด์สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูง ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพสำหรับแอปพลิเคชันและปริมาณงานที่หลากหลาย
AWS สั่งสมความเชี่ยวชาญ ความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพที่ไม่มีใครเทียบได้ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 AWS Well-Architected Framework ได้ช่วยเหลือลูกค้าและคู่ค้าของ AWS ในการปรับปรุงสถาปัตยกรรมระบบคลาวด์เพื่อความสามารถในการปรับขนาด ความเสถียร และความปลอดภัย
Scalability: คลาวด์คอมพิวติ้ง – ความต้องการที่เพิ่มขึ้นและจ่ายตามการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต ช่วยให้องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ ขยายขนาดขึ้นและลง และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB) องค์กรขนาดใหญ่ สตาร์ทอัพ และภาครัฐที่นำระบบคลาวด์มาใช้แล้วนั้น จะมีความพร้อมในการรับมือและแก้ปัญหาได้ ในประเทศไทยคลาวด์คอมพิวติ้งสามารถเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในนโยบายประเทศไทย 4.0
ไทยแลนด์ 4.0 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศ ความต้องการใช้คลาวด์คอมพิวติ้งในประเทศไทยนั้นได้รับแรงผลักดันจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและอินเทอร์เน็ตบนมือถือที่สูง และบริษัทต่างๆ ที่ปรับตัวเข้ากับบรรทัดฐานทางธุรกิจใหม่ของการทำงานเสมือนจริง
ยกตัวอย่างธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการศึกษา เช่น บริษัท Vonder ในประเทศไทย ที่สร้างเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมมากขึ้นแต่ต้องใช้งานได้ง่าย แม้กระทั่งกับผู้เรียนที่ไม่พยายามมีส่วนร่วมในห้องเรียนเอาเสียเลย ปรากฎว่าเกมการเรียนรู้ที่เป็นการแยกย่อยเนื้อหา (micro learning) ของ Vonder ได้รับความนิยมในทันที จนสามารถขยายฐานผู้ใช้งานมากถึง 50,000 คน ภายในเวลา 3 เดือน และเรียนวิชาต่าง ๆ ครบจบไปแล้วถึง 500,000 บทเรียน โดยวิชาพื้นฐานเหล่านี้ ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการศึกษาอีกรายคือ OpenDurian ซึ่งมีวิสัยทัศน์ในการจัดทำเนื้อหาสำหรับเตรียมสอบออนไลน์และเข้าถึงได้ง่ายสำหรับนักเรียนและผู้เรียนต่อเนื่องทั่วประเทศ ได้สร้างแพลตฟอร์มของการเรียนและการเตรียมการทดสอบที่รองรับผู้ใช้ได้ถึงสี่ล้านคนทั่วไทย
ในส่วนของรัฐบาลเองก็สามารถเป็นผู้นำในการนำระบบคลาวด์มาใช้ และยังสามารถสนับสนุนระบบนิเวศทางธุรกิจของธุรกิจสตาร์ทอัพได้โดยการออกนโยบายต่าง ๆ รวมถึงนโยบายเฉพาะภาคส่วน เพื่อช่วยให้เกิดการใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์ได้อย่างเต็มที่ เช่น การอนุญาตให้มีการไหลของข้อมูลข้ามพรมแดน (cross border flow) สามารถช่วยให้ธุรกิจสตาร์ทอัพและธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางขยายขนาดธุรกรรมและต่อยอดธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมไปทั่วโลก จากรายงานประจำปีพ.ศ. 2564 ของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม พบว่าการสนับสนุนให้เกิดการไหลของข้อมูลข้ามพรมแดนสามารถเพิ่มพูนผลิตภาพ (productivity) การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการค้าได้ รวมถึงการพัฒนานโยบายที่อนุญาตให้ใช้บริการคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบ และส่งเสริมการค้าดิจิทัลในภูมิภาค จึงจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้อย่างแท้จริง
Reliability: AWS มีความน่าเชื่อถือและความเป็นมาที่ยาวนานกว่าผู้ให้บริการระบบคลาวด์รายอื่น ๆ เป็นผู้นำด้านความน่าเชื่อถือที่นับได้ว่าเป็นความสำเร็จด้านวิศวกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อน เราเข้าใจดีว่าบริการของเรามีความสำคัญต่อลูกค้าและผู้ใช้มากเพียงใด และเราจะไม่หยุดพัฒนาจนกว่าลูกค้าจะแยกไม่ออกระหว่างประสิทธิภาพของบริการและความสมบูรณ์แบบ
Security: ความปลอดภัยคือสิ่งที่เราให้ความสำคัญสูงสุดเสมอ สภาพแวดล้อมของการประมวลผลบนระบบคลาวด์ของ AWS ได้รับการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นและปลอดภัยมากที่สุดที่มีอยู่ในปัจจุบัน โครงสร้างพื้นฐานหลักของเราตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นด้านการทหาร ธนาคารทั่วโลก และองค์กรที่ต้องมีการป้องกันความเสี่ยงสูง ซึ่ง AWS ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ปลอดภัยในการสร้างและให้บริการในแต่ละภูมิภาค ดังนั้น ลูกค้าทั้งหมดของเราใช้งานระบบคลาวด์เดียวกันกับที่ให้บริการและได้รับการยอมรับว่ามีความปลอดภัยมากพอสำหรับปริมาณงานที่ต้องได้รับความปลอดภัยสูงสุด AWS ใช้ชุดเครื่องมือรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ที่ซับซ้อน ด้วยบริการรักษาความปลอดภัย การปฏิบัติตามข้อกำหนด และการกำกับดูแลมากกว่า 230 รายการ
AWS มีโมเดลความรับผิดชอบร่วมกันกับลูกค้า (shared responsibility model) โดยที่ AWS จะเป็นผู้ดำเนินการ จัดการ และควบคุมคอมโพเนนต์จากระบบการปฏิบัติการโฮสต์และการแสดงข้อมูลที่ในระดับที่ลึกถึงระบบรักษาความปลอดภัยทางกายภาพของสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีการใช้บริการนี้อยู่ ลูกค้ามีความรับผิดชอบในการสร้างแอปพลิเคชันที่ปลอดภัย AWS มีเอกสารแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เครื่องมือเข้ารหัส และคำแนะนำอื่นๆ มากมายที่ลูกค้าของสามารถใช้ในการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน นอกจากนี้ คู่ค้าของ AWS ยังมีเครื่องมือและฟีเจอร์หลายร้อยรายการที่จะช่วยให้ลูกค้ากำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ตั้งแต่การรักษาความปลอดภัยเครือข่าย การจัดการการตั้งค่า การควบคุมการเข้าถึง และการเข้ารหัสข้อมูล
ที่ AWS การรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดของเรา และเราเชื่อว่าการที่ลูกค้าเข้าใจแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ได้อย่างปลอดภัยนั้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยของการใช้คลาวด์มาตรฐานระดับโลกที่คอยตรวจสอบระบบของเราทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อปกป้องข้อมูลของลูกค้า ลูกค้าจะเป็นเจ้าของและควบคุมข้อมูลของตน รวมถึงกำหนดที่จัดเก็บ วิธีการจัดเก็บ ตลอดจนผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ AWS ทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าในประเทศไทยเพื่อช่วยให้มีหลักปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยบนคลาวด์ของตนให้เหมาะสม โดยเริ่มจากการให้ความรู้แก่ลูกค้าเกี่ยวกับรูปแบบความรับผิดชอบร่วมกัน ของการรักษาความปลอดภัย (shared responsibility model) AWS มีหน้าที่ปกป้องโครงสร้างพื้นฐานที่ดำเนินการบริการทั้งหมดบน AWS Cloud ลูกค้ามีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการข้อมูลของตนเอง รวมถึงวิธีเลือกการเข้ารหัส (encryption) การจัดประเภทความสำคัญของข้อมูล และใช้เครื่องมือจัดการสิทธิ์การเข้าถึงทรัพยากรและบริการอย่างปลอดภัย (Identity Access Management: IAM) เพื่อคำขออนุญาตใช้สิทธิ์ที่เหมาะสม โปรแกรมการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ AWS (AWS Compliance Program) ช่วยให้ลูกค้าเข้าใจการควบคุมที่มีประสิทธิภาพที่ AWS เพื่อรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกำหนดในระบบคลาวด์ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกค้าในประเทศไทยสามารถมีมาตรฐานความปลอดภัยที่รองรับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 The Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) (PDPA) ได้อีกด้วย