ผู้บริหาร Facebook, Google และ Twitter เข้าคุยกับรัฐสภาสหรัฐฯ หลังถูกตอกย้ำว่าเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์รายใหญ่ที่มีส่วนในการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดๆ ทำให้เกิดการเสพติดเทคโนโลยีและเกิดปัญหาอื่นๆตามมา

ตอนนี้สื่อสังคมออนไลน์ต่างเจอปัญหาอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่ข่าวผิดๆเกี่ยวกับโควิด 19, การแบนไม่ให้มีการโฆษณาการเลือกตั้ง 2020 รวมถึงประเด็นอื่นๆ ส่งผลให้สร้างความตึงเครียดระหว่างแพลตฟอร์มเหล่านี้กับรัฐบาลในการออกกฎหมายใหม่เพื่อควบคุมปัญหา

เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา ทาง Mark Zuckerberg ผู้บริหารของ Facebook ,  Sundar Pichai ผู้บริหารของ Google และ Jack Dorsey ผู้บริหารของ Twitter ได้เผชิญหน้ากับรัฐสภาเป็นครั้งแรกหลังเกิดเหตุจราจลเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยมีการถกกันยาวถึง 5 ชั่วโมงในการสอบถามข้อเท็จจริงต่างๆ โดยมีประเด็นน่าสนใจดังนี้

เด็กและการใช้เวลาหน้าจอ (Screen time)

สองพรรคการเมืองทั้ง Democrats และ Republicans ต่างก็แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับผลกระทบทางลบของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อเด็ก

ทาง Bill Johnson สส.จากโอไฮโอเปรียบเทียบว่า “บริษัทเทคโนโลยีกำลังยื่นบุหรี่ให้เด็ก โดยหวังว่าจะเสพติดไปทั้งชีวิต แม้ Instagram จะจำกัดการใช้งาน ต้องมีอายุ 13 ปีถึงใช้งานได้ แต่ทาง Facebook กลับพัฒนาแอปเวอร์ชันสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี นอกจากนั้น Messenger ยังมีเวอร์ชันเด็กแล้ว ส่วน YouTube ก็มีเวอร์ชันสำหรับเด็ก เช่นกัน”

Zuckerberg: ลูกสาวทั้งสองคนของเขาไม่ได้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของบริษัทมากนัก ลูกสวาคนโตใช้ Messenger Kids เพื่อส่งข้อความหาญาติ ใช้ YouTube เพื่อดูวิดีโอด้านการศึกษา Zuckerberg ไม่เห็นด้วยกับการกล่าวหาว่าผลิตภัณฑ์ของ harm ทำอัยตรายกับเด็ก แต่ก็รับรู้ถึงปัญหาที่ต้องแก้ไข เช่น การควบคุมการใช้งานของเด็ก

Pichai: ถูกถามว่าได้ทำการวิจัยว่าผลิตภัณฑ์ของ Google มีผลต่อจิตใจของเด็กรึไม่ ทาง Pichai ตอบว่าทางบริษัทได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงองค์กรด้านสุขภาพจิต พร้อมบอกว่า YouTube ทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อช่วยจัดการเนื้อหาให้เหมาะสมกับเด็ก เขาเห็นด้วยว่ายังมีเรื่องสำคัญต้องจัดการ

มาตรา 230

ทางรัฐสภากำลังพิจารณากฎหมายใหม่ รวมถึงมาตรา 230 ของพรบ.การสื่อสาร ที่ปกป้องบริษัทออนไลน์โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ผู้ใช้โพลต์บนแพลตฟอร์ม ซึ่งกฎหมายปัจจุบันจำกัดแค่การเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดๆเท่านั้น

Zuckerberg: Facebook สนับสนุการแก้มาตรา 230 ซึ่งเขาก็พร้อมโชว์ระบบในการระบุและลบเนื้อหาที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย แต่ก็ต้องเผื่อในกรณีที่บางเนื้อหาอาจจะหลุดรอดการตรวจสอบได้

Pichai: Google เป็นห่วงต่อการเปลี่ยนแปลงมาตรา 230 จะทำให้การดำเนินเนื้อหามีความยากขึ้น รวมถึงส่งผลต่อเรื่องของ free expression เมื่อถูกถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนกฎหมายว่าเห็นด้วยรึไม่ เขาตอบว่าเป็นเรื่องที่บริษัทยินดี เพราะเป็นเรื่องของความดปร่งใส อธบายได้

Dorsey: เห็นด้วยกับ Pichai บอกว่าความโปร่งใสเป็นเรื่องที่ดีแต่ก็ยากว่าจะตัดสินว่าแพลตฟอร์มไหนเป็นแพลตฟอร์มใหญ่หรือเล็ก

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ยกแรกเท่านั้น  ในอนาคตเราน่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของสื่อสังคมออนไลน์ในอีกหลายๆด้านเพื่อปกป้องผู้ใช้ให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น

ที่มา CNET