ประเด็นเรื่องวิกฤตโลกร้อนและเป้าหมายขององค์กรในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน รวมถึงการวางแผนและ ควบคุมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึถูกพูดถึงมากขึ้นในช่วงหลายปีมานี้  ไม่เว้นแม้แต่โลกไอทีที่หนึ่งในเป้าหมายการพัฒนานวัตกรรมก้าวล้ำ คือการลดการใช้พลังงานและปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

ล่าสุดคุณ ปฐมา จันทรักษ์ MD ไอบีเอ็มประเทศไทย เปิดเผยว่าไอบีเอ็มได้เผยโฉมชิป 2 นาโนเมตร (nm) ตัวแรกของโลก ที่คาดว่าจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 45% แต่ใช้พลังงานน้อยลง 75% เมื่อเทียบกับชิปขนาด นาโนเมตรในปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะเป็นไมล์สโตนสําคัญของวงการไอทีเซมิคอนดักเตอร์แล้ว ยังสะท้อนความมุ่งมั่นของไอบีเอ็มในการต่อกรกับความท้าทายด้านเทคโโลยีและเป้าหมายของบริษัทฯในการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกเหลือศูนย์ภายในปี 2573

ชิปถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ของแทบจะทุกเทคโนโลยีที่เราใช้ในทุกวันนี้ ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าไปจนถึงระบบขนส่งระบบโครงสร้างพื้นฐานสําคัญๆ ในดาต้าเซ็นเตอร์ หรือแม้แต่ระบบ สนับสนุนการป้องกันประเทศ

ชิป 2 นาโนเมตร คือไมล์สโตนที่สําคัญมากในมุมผู้บริโภค นวัตกรรมนี้จะนำสู่การเพิ่มอายุแบตเตอรีโทรศัพท์มือถือ 4 เท่า ซึ่งหมายถึงผู้ใช้สามารถชาร์จโทรศัพท์มือถือทุกๆ สี่วันแทนที่จะต้องชาร์จทุกวันหรือในแล็ปท็อปที่เราใช้ อยู่ชิปนี้จะช่วยเร่งสปีดฟังก์ชันต่างๆอย่างเท่าทวี ช่วยเพิ่มความเร็วระบบประมวลผล ระบบช่วยแปลภาษา หรือแม้แต่การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

ในอีกมุมชิปนี้จะนําสู่การลดปริมาณคาร์บอนฟุตปรินท์ลงอย่างก้าวกระโดด เชื่อหรือไม่ว่าวันนี้ดาต้าเซ็นเตอร์ต่างๆใช้พลังงานคิดเป็น 1% ของการใช้พลังงานทั่วโลก ดังนั้นการเปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดให้เป็นระบบประมวลผล 2 นาโนเมตร จะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานได้อย่างมหาศาล หรือเทคโนโลยีที่เรากําลังจับตามองอย่างยานพาหนะไร้คนขับ ชิปนี้จะเข้ามาช่วยเพิ่มความเร็วในการ ตอบสนองต่อวัตถุของรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองซึ่งเป็นเรื่องที่สําคัญมากสําหรับความปลอดภัย

ก้าวย่างสําคัญของเทคโนโลยีชิปในวันนี้ยังจะช่วยผลักดันความก้าวหน้าในด้าน AI, 5G, 6G การประมวลผล แบบเอ็ดจ์, ระบบออโตเมชัน, การสํารวจอวกาศหรือแม้แต่การประมวลผลควอนตัม

ห้าหมื่นล้านทรานซิสเตอร์บนชิปขนาดเท่าเล็บมือ

การพัฒนาศักยภาพของเซมิคอนดักเตอร์โดยใช้เทคโนโลยีนาโนชีทของศูนย์วิจัยไอบีเอ็มช่วยให้สามารถบรรจุ ทรานซิสเตอร์ห้าหมื่นล้านตัวลงบนชิปที่มีขนาดเล็กเพียงเท่าเล็บมือ โดยการเพิ่มจํานวนทรานซิสเตอร์ต่อชิปจะทําให้ทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กลงแต่เร็วขึ้น เสถียรขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การมีจํานวนทรานซิสเตอร์บนชิปมากขึ้นยังหมายถึงการที่นักออกแบบระบบประมวลผลจะมีตัวเลือกในการผนวกความสามารถของนวัตกรรมระดับ core-level ต่างๆมากขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถให้กับเวิร์คโหลด อย่างเอไอ คลาวด์คอมพิวติ้ง รวมถึงเทคโนโลยีซิเคียวริตี้และการเข้ารหัสที่บังคับใช้บนฮาร์ดแวร์ โดยไอบีเอ็มได้เริ่มผสานความสามารถใหม่นี้เข้ากับระบบอย่าง IBM POWER10 และ IBM z15 แล้ว

ไอบีเอ็มมีห้องแล็บองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในโลกและชิป 2 นาโนเมตรนี้คือหนึ่งในผลผลิตจากการเป็นผู้นํานวัตกรรมเซมิคอนดักเตอร์ยาวนานหลายทศวรรษของไอบีเอ็มโดยมีห้องปฏิบัติการวิจัยอัลบานี นิวยอร์ค เป็นกําลังหลักในการพัฒนาชิปนี้และเป็นที่ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ขงไอบีเอ็มทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตร ภาครัฐและเอกชนในรูปแบบอีโคซิสเต็มด้าน R&D เพื่อทะลายขีดจํากัดของนวัตกรรม logic scaling และเซมิคอนดักเตอร์

เส้นทางความก้าวล้ำในการพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ที่ผ่านมาของไอบีเอ็มยังรวมถึงการนําเทคโนโลยี ประมวลผล 7 นาโนเมตรและ 5 นาโนเมตรมาใช้เป็นครั้งแรก, การพัฒนาเทคโนโลยี DRAM แบบเซลล์เดียว, กฎ Dennard Scaling Laws, สารไวแสงที่ได้รับการขยายทางเคมีให้ทนทานต่อการกัดกร่อน, การเดินสาย เชื่อมต่อระหว่างทองแดง, ซิลิคอนบนเทคโนโลยีฉนวน, ไมโครโปรเซสเซอร์แบบมัลติคอร์, ประตู High-k ไดอิเล็กทริก, DRAM แบบฝังในตัว และการซ้อนชิป 3D เป็นต้น โดยเทคโนโลยีที่ไอบีเอ็มได้ การเปิดให้ใช้เชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก อาทิ ชิป 7 นาโนเมตร จะเริ่มนํามาใช้ในปีนี้บน IBM Power บนพื้นฐานของ IBM POWER10