ปัจจุบันเฟซบุ้คมี active user ประมาณ 850 ล้านคน แต่ส่วนหนึ่งเป็นหน้าโปรไฟล์เฟซบุ้คปลอมที่ทำขึ้นเพื่อใช้เผยแพร่สแปมหรือไวรัส

ทาง Barracuda Networks บริษัทด้านรักษาความปลอดภัยได้เปิดเผยผลการศึกษาเพื่อช่วยให้เราแยกได้ว่าโปรไฟล์เฟซบุ้คไหนเป็นของจริงและอันไหนเป็นของปลอม

ข้อมูลทั้งหมดในการศึกษาครั้งนี้ได้มาจาก Barracuda Profile Protector เครื่องมือฟรีที่ช่วยวิเคราะห์และป้องกัน malicious activity บนเฟซบุ้คและทวิตเตอร์ และข้อมูลสาธารณะอีกส่วนหนึ่งจาก streams and network crawling นี่คือเนื้อหาสำคัญ 4 ข้อของการศึกษาครั้งนี้

  • เฟซบุ้คปลอมกว่า 60 % จะอ้างว่าตัวเองมีรสนิยมทางเพศเป็นไบเซ็กชวล
  • เฟซบุ้คปลอมจะมีเพื่อนเป็นจำนวนมาก และมากกว่าผู้ใช้จริงถึง 6 เท่า (ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 726 คน กับ 130 คน)
  • เฟซบุ้คปลอมจะมีการแท๊กรูปมากกว่าผู้ใช้ปกติถึง 100 เท่า (ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นรูปที่มีการล่วงละเมิด) โดยรูปหนึ่งรูปจะมีการแท๊กชื่อคนอื่นๆถึง 136 ครั้ง ส่วนผู้ที่ใช้งานจริงจะมีการแท๊กชื่อบนรูปแค่เพียงครั้งเดียว
  • เฟซบุ้คปลอมมักจะบอกว่าตัวเองเป็นเพศหญิงถึง 97 % ในขณะที่ผู้ใช้งานจริงเป็นเพศหญิงแค่ 40%

นอกจากนี้ เฟซบุ้คปลอมจะไม่ค่อยอัพเดทสเตตัส และมีเฟซบุ้คปลอมถึง 40% ที่ไม่เคยอัพเดทสถานะอะไรเลย ดังนั้นถ้าคุณพบคนที่อยู่ในรายชื่อเพื่อนของเพื่อนคุณที่เป็นเพศหญิง มีรสนิยมทางเพศเป็นไบเซ็กชวล มีเพื่อนเยอะๆ ไม่ค่อยอัพเดทสเตตัส แถมยังชอบแท๊กชื่อคนอื่นเยอะๆในรูปภาพเดียว นั่นหมายความว่าเค้าคนนั้นอาจจะไม่ใช่คนจริงๆ

Paul Judge ผู้นำการวิจัยครั้งนี้กล่าวว่า ” นอกจากเฟซบุ้คปลอมจะเป็นที่เผยแพร่สแปมแล้ว เฟซบุ้คปลอมที่เป็นเพื่อนกับคุณสามารถเข้าถึงบัญชีผู้ใช้ของคุณด้วยการใช้ฟีเจอร์ trusted-friend account recovery ซึ่งคุณอาจจะตกเป็นเหยื่อของการพิชชิ่งหรือโดยจู่โจมด้วยไวรัสได้

คุณสามารถเข้าไปดูรายละเอียดของ infographic เพิ่มเติมว่าจะแยกผู้ใช้เฟซบุ้คตัวจริงกับเฟซบุ้คปลอมได้ ที่นี่ ค่ะ

VIA CNET