ผลวิจัยทางจิตวิทยาพบว่าเฟซบุ้คและสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆจะครอบงำภาพลักษณ์ของแต่ละคนและทำให้ความสัมพันธ์กับเพื่อนเป็นแบบผิวเผิน

นักวิจัยได้สร้างความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างจำนวนเพื่อนที่มีบนเฟซบุ้คและระดับความหลงตัวเอง เพื่อยืนยันผลสรุปจากสิ่งที่น่าสงสัยหลายๆอย่างของสื่อสังคมออนไลน์

นักวิจัยได้พบหลักฐานที่มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น คนที่อายุน้อยๆมักจะหลงตัวเองมากขึ้น และจะถูกภาพลักษณ์ที่ตัวเองสร้างเข้าครอบงำและมีความสัมพันธ์กับเพื่อนแต่ผิวเผิน ในงานวิจัยชิ้นล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Personality and Individual Differences คนที่ได้คะแนนสูงจากการทำแบบสอบถาม Narcissistic Personality Inventory มักจะมีเพื่อนเป็นจำนวนมากบนเฟซบุ้ค พวกเค้าจะได้รับการแท็กชื่ออยู่บ่อยๆและมีการอัพเดทหน้าวอลเป็นประจำ  นอกจากนี้คนที่หลงตัวเองมักจะเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ตัวเองบ่อยๆและโต้ตอบอย่างก้าวร้าวกับคนที่มาคอมเม้นท์ในเชิงไม่ดีบนหน้าวอลของพวกเค้า

ยังมีงานวิจัยหลายชิ้นก่อนหน้านี้ที่พบความเชื่อมโยงระหว่างการหลงตัวเองและการใช้เฟซบุ้ค แต่งานวิจัยชิ้นนี้เป็นหลักฐานชิ้นแรกที่ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบนเฟซบุ้คและองค์ประกอบที่เป็นอันตรายของการหลงตัวเอง นักวิจัยจาก Western Illinois University ได้ทำการศึกษานิสัยการใช้เฟซบุ้คของนักศึกษา 294 คน ที่มีอายุระหว่าง 18 – 65 ปี โดยทำการวัดผลเสียเชิงสังคมของการหลงตัวเองสองตัว อันได้แก่ grandiose exhibitionism (GE) และ entitlement/exploitativeness (EE)

GE ประกอบไปด้วย ”แนวโน้มความเห็นแก่ตัว, ความหยิ่งยโส, ความรู้สึกเหนือกว่าผู้อื่นและการแสดงความโอ้อวด” คนที่ได้คะแนนสูงๆในแง่มุมเหล่านี้มักจะทำให้ตัวเองเป็นเป้าของความสนใจอย่างสม่ำเสมอ พวกเค้ามักจะพูดเรื่องที่ทำให้กลายคนช็อคได้อยู่บ่อยๆ รวมถึงเปิดเผยตัวเองมากเกินไปจนไม่เหมาะสม เพราะพวกเค้าไม่สามารถทนต่อการถูกละเลย หรือไม่ยอมปล่อยให้โอกาสที่จะโปรโมตตัวผ่านไปอย่างเปล่าประโยชน์

ส่วน EE จะประกอบไปด้วย “ความรู้สึกที่ตนเองสมควรจะได้รับความนับถือและความพยายามที่จะบงการและใช้ประโยชน์จากบุคคลอื่น” คนที่ได้คะแนน GE สูงๆ ก็จะมีจำนวนเพื่อนบนเฟซบุ้คเยอะ ซึ่งบางคนอาจจะมีเพื่อนมากกว่า 800 คนทีเดียว

ผลการวิจัยพบว่าคนที่ได้คะแนนสูงทั้ง EE และ GG จะมีแนวโน้มยอมรับการขอเป็นเพื่อนจากคนแปลกหน้าได้ง่ายและมักจะขอความช่วยเหลือจากคนอื่น (แต่จะไม่ค่อยช่วยคนอื่น)

Carol Craig นักวิทยาศาสตร์ด้านสังคมและผู้บริหารของ Centre for Confidence and Well-being กล่าวว่า คนที่อายุน้อยๆในอังกฤษเริ่มเป็นคนที่หลงตัวเองมากขึ้นและเฟซบุ้คก็เป็นต้นเหตุของอาการนี้ ด้วยระบบการศึกษาที่มุ่งเน้นความสำคัญไปที่ self esteem (การที่คุณเป็นอย่างไรในสายตาคนอื่น) ในขณะที่เฟซบุ้คเป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้ผู้คนใช้สำหรับโปรโมทตนเอง ด้วยการเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ที่ดูดีและแสดงให้เห็นถึงเพื่อนในเครือข่ายที่มีจำนวนมาก”

Dr Viv Vignoles อาจารย์อาวุโสสาขาจิตวิทยาสังคมจาก Sussex Universityกล่าวว่า การวิจัยครั้งนี้คือหลักฐานที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่านักศึกษาในอเมริกากำลังมีอาการหลงตัวเองมากขึ้น เขายังเสริมด้วยว่า “แต่ว่าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นกับนักศึกษาหรือคนที่มีอายุน้อยๆในประเทศอื่นหรือเปล่ามันคงยังเป็นคำถามปลายเปิด ที่ต้องพิสูจน์กันต่อ Vignoles กล่าวว่าธรรมชาติของความสัมพันธ์ในการศึกษาครั้งล่าสุดนี้ มันเป็นการยากที่จะระบุว่าการหลงตัวเองนำไปสู่พฤติกรรมบางอย่างในการใช้เฟซบุ้คหรือ พฤติกรรมการใช้เฟซบุ้คนำไปสู่การหลงตัวเอง หรือทั้งสองสิ่งนี้เกิดควบคู่กัน

Christopher Carpenter ผู้ที่ทำการวิจัยครั้งนี้กล่าวว่า ” ผลกระทบด้านมืดของเฟซบุ้คจำเป็นต้องได้รับการวิจัยและศึกษาเพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจแง่มุมที่เป็นประโยชน์และแง่มุมที่เป็นอันตรายเชิงสังคมให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ถ้าหากเฟซบุ้คเป็นสถานที่ที่ผู้คนเข้ามาเพื่อแก้ไขอีโก้ของตนเอง และหาการสนับสนุนทางสังคม มันจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องค้นหาผลลบของการสื่อสารที่เป็นไปได้บนเฟซบุ้ค และคนกลุ่มไหนที่จะได้รับผลกระทบบ้าง”

VIA theguardian