ต่อไปในอนาคตถุงพลาสติกเหลือใช้นอกจากจะรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่แล้ว มันยังสามารมรถนำไปใช้ผลิตเป็นคาร์บอนไฟเบอร์ด้วยล่ะ
นี่คือหนึ่งในงานวิจัยของแผนกพลังงานที่ Oak Ridge National Laboratory ด้วยการนำถุงพลาสติกที่เราไม่ต้องการแล้วมารีไซเคิลเป็นคาร์บอนไฟเบอร์ ไม่เพียงเท่านั้นเจ้าเส้นใยไฟเบอร์ที่ได้ยังสามารถนำมาพัฒนาปรับแต่งให้มีคุณสมบัติที่ต่างกันไป เพื่อใช้ในงานที่ต่างกันด้วย
ทีมนักวิจัยจาก Oak Ridge นำโดย Amit Naskar วิศวกรด้านวัสดุศาสตร์ได้นำ polyethylene-base fibers ซึ่งได้มาจากขยะพลาสติก เช่น ถุงก๊อบแก๊บและพลาสติกที่ใช้หุ้มพรม มาผ่านกรรมวิธีหลอมละลายและปั่นเป็นเส้นใยที่มีชื่อว่า multi-component melt extrusion-based fiber spinning method โดยผิวหน้า รวมถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้ยใยไฟเบอร์จะสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ
ต่อจากนั้นก็นำเส้นใยไฟเบอร์หลายๆเส้นมามัดรวมกันแล้วไปผ่านกระบวนการที่มีชื่อว่า sulfonation นั่นก็คือนำไปอาบในกรดน้ำยาเคมีที่จะเข้าไปเกาะกับโมเลกุลของพลาสติก จนกลายเป็นไฟเบอร์สีดำที่เชื่อมกันหมดเพียงเส้นเดียว หลังจากนั้นก็นำไปให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงๆ เจ้าไฟเบอร์นี้จะไม่ละลายง่ายๆค่ะ แต่ความร้อนจะทำให้สารเคมีที่เคลือบกลายเป็นก๊าซ เมื่อมันกลายเป็นก๊าซหมดแล้วก็จะเหลือแต่เส้นใยไฟเบอร์ที่มีองค์ประกอบหลักเป็นคาร์บอน
เส้นใยไฟเบอร์ตัวนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ในกระบวนการกรองหรือเก็บเกี่ยวพลังงาน นอกจากนี้ยังสามารถนำไปผลิตเป็นชิ้นส่วนรถยนต์ที่น้ำหนักเบาและราคาไม่แพงค่ะ ถ้าใครสนใจก็สามารถเข้าไปอ่านเอกสารงานวิจัยได้ในวารสาร Advanced Materials นะ
VIA gizmag