เกาหลีใต้กำลังประสบปัญหาเรื่องขยะอย่างหนักโดยเฉพาะพลาสติก บริษัทรีไซเคิลเองก็เมินเก็บขยะประเภทนี้เพราะกำไรน้อยลง ส่งผลให้เกิดธุรกิจใหม่มาแรง Upcycling เอาของเหลือและขยะ มาประดิษฐ์ของใหม่ สร้างมูลค่า

Upcycling

upcycling โครงการใหม่ลดปัญหาขยะล้นเมือง

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา กรุงโซลเมืองหลวงของเกาหลีใต้กำลังประสบปัญหาขยะล้นเมือง โดยเฉพาะพลาสติกและไวนิล เนื่องจากบริษัทรีไซเคิลปฏิเสธที่จะเก็บขยะประเภทนี้ เพราะไม่ทำกำไรอีกต่อไป ผลก็คือขยะล้นถังทั่วกรุงโซล ทำให้ทางภาครัฐต้องมาเจรจากับผู้ทำธุรกิจเหล่านี้ เพื่อให้มั่นใจว่าขยะรีไซเคิลจะหมดไปใน 2 สัปดาห์ แต่ปัญหาที่ยังเหลืออยู่ก็คือ จะทำยังไงกับขยะที่ยังไม่นำไปรีไซเคิล

ทางการของกรุงโซลจึงได้นำเสนอวิธี upcycling ในการแก้ปัญหา  ซึ่ง “upcycling” ก็คือการใช้ของเก่าหรือวัสดุเหลือทิ้งมาประดิษฐ์เป็นของใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น เอาเคสทาวเวอร์คอมพิวเตอร์เก่ามาดัดแปลงเป็นตู้จดหมาย เป็นต้น

recycle

ข้อจำกัดของการรีไซเคิล

ด้วยเหตุนี้จึงเกิดหน่วยงานใหม่ขึ้นมา นั่นก็คือ Seoul Upcycling Plaza (SUP) รับบทบาทสำคัญในการเก็บขยะ, คัดแยกขยะ และแยกเป็นชิ้นส่วนย่อยๆเพื่อนำไปใช้ต่อ กำจัดหรือรีไซเคิลได้  จากนั้นก็คัดเลือกธุรกิจ 35 รายเข้ามาแข่งขันและทำงานในศูนย์แห่งนี้

Upcycling นั้นจะมาช่วยอุดจุดอ่อนของการรีไซเคิล เพราะขยะทุกชนิดไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ทั้งหมด ขยะบางประเภทจะรีไซเคิลได้เฉพาะบางส่วนประกอบเท่านั้น ซึ่งกระบวนการ upcycling นั้นจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับขยะหรือชิ้นส่วนที่คนไม่ต้องการ ให้ทำประโยชน์ในรูปแบบที่ต่างออกไป

ทางกรุงโซลวางแผนว่าภายในปี 2030 จะรีไซเคิลขยะพลาสติกให้ได้มากกว่า 70% ด้วยเหตุนี้ทาง SUP จึงได้ตั้งธนาคารวัตถุดิบขึ้นมา สำหรับคนที่อยากประดิษฐ์ของใช้ด้วยการ Upcycling โดยมีวัตถุดิบให้เลือกมากกว่า 400 ประเภท

Upcycling เทรนด์ธุรกิจใหม่มาแรง

ด้วยกระแสของ upcycling ทำให้หลายบริษัทเริ่มหันมาจับธุรกิจนี้ ออกผลิตภัณฑ์พิเศษจากขยะที่เก็บมา เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทโอริกามิ (กระดาษพับของญี่ปุ่นที่สามารถพับเป็นสัตว์หรือสิ่งของต่างๆได้) ที่ผลิตมาจากกล่องนม, จานอาหารที่ผลิตมาจากขวดไวน์ โดยที่ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม SUP สามารถซื้อของที่ถูกใจกลับไปได้

นอกจากนั้น SUP ยังมีบริการรับซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชิ้นส่วนเสียหาย โดยนำอะไหล่มาเปลี่ยนจากเครื่องเก่าที่ถูกทิ้งเพราะใช้งานไม่ได้แล้ว

เนื่องจากเป็นเทรนด์ใหม่จึงทำให้ทางผู้ที่ผลิตนั้นยังมีจำนวนน้อยอยู่ จึงขาดแรงงานฝีมือ จึงไม่สามารถเพิ่มกำลังผลิตให้มากขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น Touch4Good ที่เอาป้ายไวนิลเหลือทิ้งมาผลิตเป็นกระเป๋าสตางค์และกระเป๋าถือ ทาง Park Mi-hyeon เจ้าของกิจการบอกว่ากระบวนการผลิตเป็นสิ่งสำคัญ เพราะ upcycling นั้นเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าเฉพาะ มากกว่าการผลิตจำนวนมากๆเหมือนโรงงาน เพราะการแยกวัตุดิบและประกอบเป็นสินค้าใหม่ ส่วนใหญ่ยังต้องใช้แรงงานคน

เธอเริ่มธุรกิจนี้มาตั้งแต่ปี 2008 และตอนนี้รับผิดชอบเรื่องของศูนย์วิจัยวัสดุสำหรับการ upcycling เธอมองว่าธุรกิจนี้มีโอกาสเติบโตสูง ปัจจุบันมีมากกว่า 200 บริษัทที่มาทำธุรกิจประเภทนี้

แต่ปัญหาอีกข้อนึงก็คือ ฝั่งผู้ซื้อบางกลุ่มที่มองว่าราคาของสินค้า Upcycling นั้นมีราคาขายสูงเกินกว่าที่คิดไว้

แน่นอนว่าการ upcycling นั้นเป็นการแก้ปัญหาขยะล้นเมืองที่ปลายเหตุ หากจะแก้จริงๆก็คือต้องลดที่ต้นเหตุ คือการลดใช้พลาสติกและวัสดุอื่นๆที่ยากต่อการกำจัดและรีไซเคิล เริ่มง่ายๆที่ตัวเราเองอย่างการลดใช้ถุงพลาสติกเปลี่ยนไปใชถุงผ้าแทน หรือเวลาไปซื้อกาแฟก็เอาแก้ไปใส่เอง

VIA voanews