เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีบริการรถรับส่งได้เป็นปกติ รถโดยสารภายในมหาวิทยาลัย Georgia Tech จึงได้คำนวณการวิ่งโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างรถมากกว่าการกำหนดตารางอย่างเข้มงวด

หลายๆคนคงเคยเจอเหตุการณ์ “bus bunching” หรือรถเมล์หลายๆคันพยายามเร่งความเร็วเพื่อให้ทันกับกำหนดเวลาในจุดจอดรถป้ายต่อไป จนทำให้รถขาดช่วงต้องรอเป็นเวลานานหรือไม่ก็เจอรถสายเดียวกันมาพร้อมกันสองคัน ด้วยเหตุนี้ทางทีมนักศึกษาจึงได้พัฒนาระบบแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์และเครื่องรับส่งเรดาร์ GPS ในการติดตามการเคลื่อนไหวของรถเมล์ แล้วแจ้งให้คนขับรู้ว่าแต่จะมีเวลาพิเศษในการจอดรถคอยในแต่ละป้ายมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้มีรถบริการที่ต่อเนื่อง กระบวนการนี้มีชื่อว่า“self equalizing” ซึ่งมันใช้สมการคณิตศาสตร์มาคำนวณเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นมากกว่าการใช้ตารางเดินรถที่ตรงตัวเป๊ะๆ

เวลาออกของรถบัสแต่ละคันจะคำนวณโดยใช้ระยะห่างเฉลี่ยระหว่างรถคันนั้นกับรถคันที่อยู่ข้างหน้าและรถคันที่ตามหลัง คนขับจะต้องจอดรอที่ป้ายจนกว่าเวลาออกรถครั้งใหม่จะคำนวณออกมาซึ่งมันจะช่วยหลีกเลี่ยง bus bunching ได้ ในกรณีที่รถเสียให้บริการไม่ได้หรือเส้นทางเดินรถมีการเปลี่ยนแปลงเพราะการจราจรหรือการก่อสร้าง การคำนวณต่างๆก็ยังคงปรับให้ระยะเวลาการคอยรถแต่ละคันเท่ากันอยู่เหมือนเดิม

ระบบนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากในการทดลองใช้กับระบบขนส่งในมหาวิทยาลัย Georgia Tech ที่มีผู้โดยสารกว่า 5,000 คนต่อวัน ทำให้พวกเค้าไม่ต้องเสียเวลาในการคอยรถนานแถมยังทำให้คนใช้บริการบ่อยขึ้นด้วย ส่วนคนขับก็ให้ผลตอบรับกลับมาในเชิงบวกเช่นกัน ระบบนี้มีความง่ายและนำไปใช้จริงได้ทันที ทางผู้พัฒนาหวังว่ามันคงจะเป็นประโยชน์ ถ้าหากนำไปใช้กับระบบขนส่งในระยะทางสั้นๆอย่างรถไฟใต้ดินหรือรถรับส่งในสนามบิน

 

VIA wired