เคยสงสัยกันมั้ยว่าบนหน้านิวฟีดเฟซบุ้คของเราบางครั้งก็ชอบเปลี่ยนมาโชว์เรื่องราวที่น่าสนใจ แม้เราจะตั้งให้แสดงเรื่องราวล่าสุดเอาไว้ก็ตาม วันนี้ซีมีคำตอบให้ค่ะ

แน่นอนว่าเดี๋ยวนี้ใครไม่มีเฟซบุ้คถือว่าเชยมาก แต่คุณรู้มั้ยว่าเฟซบุ้คก็มีการแข่งขันในตัวเองสูงมาก โดยเฉลี่ยผู้ใช้เฟซบุ้คหนึ่งคนจะมีเพื่อนประมาณ 190 คน มีการอัพเดทต่างๆทั้งโพสต์ข้อความ โพสต์รูป กดแชร์ รวมๆกันแล้ววันละ 1,500 ครั้ง นั่นหมายความนิวฟีดในแต่ละวันจะอัพเดทไปเร็วมากจนอาจทำให้คุณพลาดเรื่องราวๆที่สำคัญๆได้หากคุณไม่ได้เข้ามาเช็คเฟซบุ้คบ่อยๆ

ทางเฟซบุ้คเองก็เลยคิดอัลกอริทึ่มให้หน้าฟีดของคุณเปลี่ยนมาแสดงเรื่องเด่นให้อัตโนมัติเมื่อคุณไม่ได้เข้ามาเช็คเฟซบุ้คในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อช่วยโปรโมทสิ่งที่เพื่อนคุณชื่นชอบ และเข้าไปดูกันมากที่สุด คุณจะได้คุยกับเค้ารู้เรื่อง ไม่ตกข่าวจนพลาดอะไรน่าสนใจไป

หลายคนคงเริ่มสงสัยแล้วว่าเฟซบุ้คใช้เกณฑ์อะไรในการเลือกโพสต์เก่าๆมาแสดงบนหน้านิวฟีด? อะไรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ตัดสินว่าเพื่อนจะเห็นสิ่งที่คุณโพสต์? ปัจจัยหลักๆก็มีอยู่ 4 ข้อด่านล่างค่ะ

  • เฟซบุ้คมักจะโชว์เนื้อหาของเซเล็บและคนที่คุณปฏิสัมพันธ์ด้วยอยู่เป็นประจำ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมาเม้นท์ในเพจ Ceemeagain บ่อยๆ เนื้อหาจากเพจนี้ก็จะแสดงในหน้านิวฟีดของเรื่องเด่นค่ะ
  • เฟซบุ้คจัดลำดับความสำคัญของการแสดงโพสต์เก่าๆจากจำนวนไลค์, แชร์และคอมเม้นท์ อัลกอริทึ่มจะให้น้ำหนักกับความคิดเห็นและการกระทำของเพื่อนคุณก่อนหน้าเพจ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีคลิปไวรอลแมวน่ารักๆกระจายบนหน้าวอลของกลุ่มเพื่อน เฟซบุ้คก็จะนำโพสต์นี้มาแสดงในเรื่องเด่นเพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะไม่ตกเทรนด์
  • เฟซบุ้คจะนำประเภทของคอนเท้นท์ที่คุณชอบไปกดไลค์มาพิจารณาด้วย เช่น ถ้าคุณชอบกดไลค์รูปของเพื่อน เฟซบุ้คก็จะโชวร์รูปของเพื่อนบนเรื่องเด่นให้ ในทางตรงข้ามถ้าคุณไม่สนใจโพสต์อัพเดทจากเกมที่เพื่อนๆเล่นอย่าง Farmville เฟซบุ้คก็จะทำการเอาโพสต์ประเภทนี้ไปอยู่ล่างๆของเรื่องที่คุณสนใจแทน
  • เฟซบุ้คจะไม่โชว์โพลต์ที่เพื่อนคุณทำการซ่อนไว้ไม่ให้ใครเห็น รวมถึงโพสต์ที่มีการแจ้งลบ อันนี้ถือว่าสมเหตุสมผลเพราะโพสต์แบบนี้มักจะก่อให้เกิดกระแสด้านลบตามมา

สรุปง่ายๆว่าสิ่งที่คุณทำบนเฟซบุ้คไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ชอบหรือไม่ชอบ ทุกครั้งที่คุณคลิกอะไรไปเฟซบุ้คจะจดจำและเรียนรู้เอาไว้หมด ถ้าไม่อยากพลาดเรื่องราวจากเพื่อนคนไหนก็ให้กด เข้ารายชื่อเพื่อนสนิทเลยค่ะ

หากใครสนใจจะศึกษาเรื่องอัลกอริทึ่ม news feed ของเฟซบุ้ค ก็ไปตามอ่านได้ใน official Facebook business blog ค่ะ

VIA techlicious