Digital Vortex
เทคโนโลยีไม่เพียงแต่จะเปลี่ยนให้ชีวิตของเราสะดวกสบายขึ้น แต่มันกำลังจะก้าวไปมีบทบาทกับทุกวงการ ทุกอุตสาหกรรม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วันนี้เราลองมาดูแนวคิด Digital Vortex ว่าต่อไปทิศทางขององค์กรต่างๆจะเป็นอย่างไร
เรากำลังอยู่ในยุคที่อินเตอร์เน็ตเรียกว่ากำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางของทุกอย่างรอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นการมาสมาร์ทโฟนที่ช่วยอำนวยความสะดวก ค้นหาข้อมูล สั่งงานอุปกรณ์อื่นๆ , ระบบ Cloud เอาไว้จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต , IoT ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ,แอปและ Software as a service การให้บริการซอฟท์แวร์ผ่านอินเตอร์เน็ต แน่นอนว่าเทคโนโลยีก็ต้องมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงหลายๆ ทาง CISCO ได้จัดงาน Asean Cisco Connect แสดงแนวคิดและทิศทางของ IoT ในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรดิจิตัล (Digital Tranformation)
หนึ่งในแนวคิดน่าสนใจก็คือ ดิจิตัลวอร์เท็กซ์ ที่เปรียบภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเหมือนอยู่ในวังน้ำวน เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สร้างแรงกระเพื่อมให้อุตสาหกรรมอื่นๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงตามไปเป็นแบบลูกโซ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เปรียบเหมือนกับน้ำวนที่ทุกอย่างจะค่อยๆถูกดูดไปยังจุดศูนย์กลาง อุตสาหกรรมต่างๆเหมือนถูกบังคับให้ปรับตัวเองไปสู่ดิจิตัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อุตสหกรรมไอทีเป็นอุตสาหกรรมแรกที่มีความเสี่ยงสูง ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองไปสู้องค์กรดิจิตัล เพราะคู่แข่งมากราย หน้าใหม่ไม่จำเป็นต้องมีทุนหนาก็สามารถเข้ามาแจ้งเกิดในตลาดได้จนก้าวขึ้นไปเทียบชั้นกับเจ้าตลาดในอุตสาหกรรมนั้นได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็มี เยอะแยะไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ LINE ที่ก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ต้นๆ ภายในเวลาไม่กี่ปี
อุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงรองลงมาก็คือ Media/entertainment ที่เทคโนโลยีทำให้เราเปลี่ยนพฤติกรรมการเสพสื่อ เราดูทีวีอ่านหนังสื่อพิมพ์น้อยลง ไปอ่านข่าวในเน็ตแทน เปลี่ยนพฤติกรรมจากการซื้อแผ่นก็หันมาดาวน์โหลดแทน ฟังเพลงและดูรายการโปรดผ่านยูทูปได้ทุกเวลาที่ต้องการ เรียกว่าถ้าบริษัทไหนยังคงขายหนังสือเป็นเล่มๆ แผ่นเพลงแผ่นหนังอย่างเดียว ไม่มีช่องทางออนไลน์เพิ่มเข้ามาก็นับวันเจ๊งรอได้เลย
ส่วนอุตสาหกรรมที่ปีนีเรียกว่าตื่นตัวที่สุดก็คงจะไม่พ้นเรื่องของการเงินการธนาคาร ที่เรียกว่าเราเห็น Fintech Startup เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งหลายๆที่ไม่ได้เป็นสถาบันการเงินด้วยซ้ำไป เรียกว่าใครมีไอเดียก็เข้ามาเล่นในอุตสาหกรรมนี้ได้ ส่วนอุตสาหกรรมี่เสี่ยงน้อยสุดคือ อุตสาหกรรมยา นั่นก็เป็นเพราะ มีผู้เล่นน้อยราย นั่นเป็นเพราะมี Barrier of Entry สูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินทุน สิทธิบัตร ทำให้กีดกันคู่แข่งหน้าใหม่ๆให้เข้ามายาก
ในส่วนของพฤติกรรมของผู้บริโภคเองก็เปลี่ยนแปลง ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ต่างๆก็น้อยลง พร้อมที่จะเปลี่ยนไปใช้แบรนด์ใหม่ๆได้ตลอดเวลา ถ้าพวกเค้ามองแล้วว่าให้ Value ที่เค้าต้องการได้ นั่นจึงเป็นโอกาสของบริษัทหน้าใหม่ที่จะสอดแทรกเข้ามาแจ้งเกิดได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่เทรนด์ Startup กำลังมาแรงในปัจจุบัน เพราะขนาดองค์กรที่เล็กกว่า การทำอะไรต่างๆ การตัดสินใจ การลงมือทำทำได้ทันที ไม่จำเป็นต้องผ่านขั้นตอนมากมายเหมือนองค์กรใหญ่ๆ จึงทำให้เราเห็นบริษัทน้องใหม่เติบโตแบบก้าวกระโดดจนมาทัดเทียมบริษัทใหญ่ๆ
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีกำลังจะกลายเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ใครปรับตัวได้เร็วก็จะคว้าโอกาสได้ก่อน หากใครไม่ปรับตัวก็มีโอกาสล้มหายตายจาก นอกจากนั้นเทคโนโลยียังทำให้เส้นแบ่งระหว่างอุตสาหกรรมก็จะเริ่มไม่ชัดเจนแล้วนั่นเอง
จากการสำรวจของ CISCO เชื่อมั้ยว่า 4 ใน 10 ของบริษัทชั้นนำในแต่ละอุตสาหกรรมจะถูกแทนที่ด้วยบริษัทหน้าใหม่ภายใน 5 ปีข้างหน้า ที่น่าห่วงก็คือ บริษัทกว่า 43% ไม่ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น มีเพียงแค่ 25% เท่านั้นที่พร้อมรับมือ ซึ่งการนำเทคโนโลยีมาใช้เปลี่ยนแปลงองค์กรนั้นก็จะมีอยู่ 3 ระดับ คือ การนำมาใช้เสริมการทำงาน ปรับปรุงบริการธุรกิจเดิมให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (enable), การนำเทคโนโลยีมาใช้พื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง (differentiate), และการเปิดธุรกิจใหม่ (define)
CISCO เน้นย้ำว่าการทำธุรกิจในยุคดิจิตัลจะเน้นไปที่ 3+1 เรื่อง คือ
- Hyper-Awareness การเข้าใจลูกค้า เข้าใจตลาดและเข้าใจองค์กรตัวเอง ด้วยข้อมูลในแบบ Real-time ซึ่งตรงจุดนี้ IoT จะมีส่วนช่วยในการเก็บข้อมูล
- Informed Dicission Making คนที่มีหน้าที่ตัดสินใจในองค์กรต้องได้รับ ข้อมูลอย่างครบถ้วนและรวดเร็ว จากนั้นนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์ขององค์กร
- Fast Execution ลงมือทำอย่างรวดเร็ว
- Cybersecurity ความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งองค์กรต่างๆควรจะให้ความสำคัญตั้งแต่ต้นเลย เพราะรูปแบบการโจมตีต่างๆนั้นนับวันก็พัฒนารูปแบบใหม่ๆ การให้ความสำคัญตรวจุดนี้จะช่วยให้เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้า
ทาง CISCO เองก็มี Solution ครอบคลุม พร้อมทีมงานให้คำปรึกษาแบบครบวงจร คำถามต่อมาคือ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าจะต้อง Digitize ส่วนไหนขององค์กรบ้าง
- evaluation พิจารณาข้อมูลให้รอบด้านจาก cost/value + experience + platform รวมถึงข้อมูลจากคนในองค์กร
- กำหนด Business Model จากนั้นนำมากำหนดเป็นกลยุทธธุรกิจขององค์กร
- เราจะรู้ว่าควรจะ Digitize ตรงไหนก่อนหลัง
ทั้งหมดนี้คือแนวโน้มของการปรับตัวเข้าสู้องค์กรดิจิตอลภายใน 3-5 ปีนี้ ที่เราควรจับตาให้ดีๆกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น