ฝนหลวง
ประเทศจอร์แดนถือเป็นประเทศที่มีฝนตกไม่มากนัก นั่นจึงเป็นที่มาของการนำเทคโนโลยีฝนหลวงของไทยไปใช้ เพื่อกระตุ้นให้ฝนตกมากขึ้น
นับตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ทางประเทศจอร์แดนจะนำเทคโนโลยีทำฝนเทียมของไทยไปใช้กระตุ้นและเร่งให้เกิดฝนตกมากขึ้นทั่วประเทศ
เทคโนโลยีฝนเทียมถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี 1969 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ พระองค์ทรงค้นพบเทคนิคใหม่ในการเพิ่มความหนาแน่นของเมฆ ซึ่งผลต่อเนื่องก็คือช่วยเพิ่มปริมาณการตกของฝนให้มากขึ้น
Mohammad Samawi อธิบดีกระทรวงเกษตรของจอร์แดน กล่าวว่า ประเทศจอร์แดนถือเป็นหนึ่งในประเทศยากจนของโลกในแง่ของปริมาณน้ำที่มีเพื่อใช้อุปโภคบริโภค เมื่อเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา รวมถึงสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้รูปแบบการตกของฝนก็เปลี่ยนไป ผลค้างเคียงก็คือการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมก็เกิดข้อจำกัด
ปัจจุบันมีแหล่งน้ำให้ใช้ในจอร์แดน 800-900 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีซึ่งเพียงพอต่อคน 3 ล้านคนเท่านั้นแต่ปัจจุบันมีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน ทำให้น้ำไม่เพียงพอต่อการใช้ ทางรัฐบาลของจอร์แดนเล็งเห็นความสำคัญจึงได้ขอพระราชทานอนุญาตนำเทคนิคการสร้างฝนเทียมของไทยไปใช้ ซึ่งพระองค์ก็ยินดีให้นำไปใช้เพื่อให้นำความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการทำฝนเทียมไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับเอเชียตะวันออก ซึ่งโครงการฝนเทียมในจอร์แดนจะได้รับการสนับสนุนโดย Royal Jordanian Air Force, the Ministry of Water และ Ministry of Agriculture ของจอร์แดน
จริงๆแล้วทางจอร์แดนเคยคิดที่จะทำฝนเทียมด้วยตัวเองในช่วงปี 1989 – 1995 แต่ก็พบข้อจำกัดหลายอย่างจนทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งการทำฝนเทียมนั้นจะใช้สารเคมีโปรยไปยังก้อนเมฆเพื่อเพิ่มความชื้นจนตกลงมากลายเป็นฝน
VIA incarabia