Grab ให้ความสำคัญกับผู้ใช้มากขึ้น นำเทคโนโลยี Safer Everyday มาช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้ทั้งผู้โดยสารและคนขับ ให้มั่นใจว่าจะถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย
Grab
จากสถิติของ UN ไทยถือเป็นประเทศที่มีอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงที่สุด เป็นอันดับ 2 ของโลก ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตมาถึง 24,000 คน ซึ่งเป้าหมายของ Grab นั้นนำเทคโนโลยีมาช่วยอำนวยความสะดวก และแก้ปัญหาในการเดินทาง ซึ่งความปลอดภัยเองก็ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมาเป็นอันดับแรกๆ ทาง Grab ประกาศภารกิจใหม่ เพิ่มเงินลงทุนด้านเทคโนโลยีความปลอดภัย 2 เท่าตัว ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุและยกระดับการเดินทางให้เป็นมาตรฐาน รวมถึงสร้างวินัยในการขับขี่
ฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามานั้นจะมีตั้งแต่ในตัวแอปเลย รวมถึงระบบหลังบ้านที่คอยเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลโดย AI จากรถที่วิ่งอยู่ เริ่มตั้งแต่ตัวแอปเองก็มีการปรับโฉมให้ดูทันสมัยและใช้งานง่ายขึ้น โดยจะแบ่งแผนดำเนินการเป็น 4 ส่วนคือ
- รู้ว่าเราเดินทางกับใคร ในการเรียรกรถนั้นทั้งคนขับและคนนั่งนั้นจะรู้วาเราเดินทางกับใครอยู่ ซึ่งคนขับนั้นจะมีระบบยืนยันตัวตนก่อนรับงานด้วยการถ่ายภาพเซลฟี่กับกล้อง เช็คว่าภาพตรงกับข้อมูลในระบบที่ลงทะเบียนไว้รึเปล่า นอกจากนั้น Grab ก็ยังมีการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับทางตำรวจก่อนที่จะมารับงานด้วย หรือในกรณีที่หลุดขับไปนานๆแล้วกลับมาขับใหม่ก็จะมีการยืนยันตัวตนอีกทีนึง รวมถึงเพิ่มความมั่ใจด้วยการประกันอุบัติเหตุทั้งคนขับและคนนั่ง
- ขอความช่วยเหลือได้ทันท่วงที ด้วยฟีเจอร์ Share My Ride สำหรับแชร์พิกัดของเรากับครอบครัวหรือเพื่อนได้ทาง SMS, อีเมล, LINE หรือ Facebook จะได้เช็คว่าตอนนี้ถึงไหนแล้ว ซึ่งฟีเจอร์นี้คนขับก็ใช้ได้ด้วยเวลาที่ไม่มั่นใจเวลาที่เรียกรถให้ไปส่งไกลๆหรือที่เปลี่ยวก็ส่งพิกัดให้ที่บ้านรู้ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินต้องการขอความช่วยเหลือจริงๆก็มีปุ่ม Emergency SOS กดแล้ว โดยเราตั้งแชร์ข้อมูลพิกัดได้สูงสุด 3 คน
- เสริมสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย Grab นั้นเอา Big Data และ AI มาช่วยตรวจสอบพฤติกรรมการขับรถ ผ่านระบบที่เรียกว่า Telematics ทำงานโดยอาศัยข้อมูล GPS ในรถ มาบอกพฤติกรรมการขับรถ เช่น การใช้ความเร็วในการขับรถว่าขับรถซิ่งแค่ไหน พฤติกรรมการเหยีบเบรก ว่ามีการเหยียบเบรกกระทันหันหรือเหยียบแบบกระชากจนผู้โดยสารหัวทิ่มรึเปล่า ยิ่งทำบ่อยก็จะมีการแจ้งเตือนเข้ามาเยอะ คนขับที่มีพฤติกรรมเหล่านี้จะถูกเรียกมาตักเตือนก่อน ถ้ายังผิดซ้ำก็จะต้องมาอบรบการขับขี่ซ้ำ ถ้ายังเกิดขึ้นอีกจะมีโทษรุนแรงจนไปถึงการแบนไม่ให้ขับชั่วคราว นับตั้งแต่เปิดใช้ระบบนี้มาตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้ คนขับรถเร็วจะน้อยลง 50% ลดความเสี่ยงการเกิดไเ่ถึง 20% เลยทีเดียว
อีกเทคโนโลยีนึงที่กำลังทดสอบอยู่ก็คือ ระบบตรวจจับความเหนื่อยล้าของการขับขี่ (Driver Fatigue System) ที่นำมาช่วยตรวจจับเรื่องการหลับใน ซึ่งเกิดจากอาการเหนื่อยล้า โดยตะตรวจสอบระยะเวลาที่คนขับขับรถ ถ้าขับรถติดต่อกันนานเกินไปจะทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าจนหลับในได้ รบบก็จะแจ้งเตือนคนขับให้พักผ่อนก่อนจะได้ไม่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ
- ปลอดภัยในทุกขั้นตอน ตัวแอปนอกจากใช้เรียกรถแล้ว ก็ยัเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยในทุกจุดของตัวแอปที่เราใช้บริการ รวมถึงใช้ AI ในการตรวจจับพฤติกรรมน่าสงสัย ส่วนตัวข้อมูลเองนั้นก็มีการเข้ารหัสอย่างแน่นหนา
นอกจากนั้นทาง Grab ยังร่วมมือกับองค์กรต่างๆในการยกระดับความปลอดภัยบนท้องถนน เช่น การสนับสนุนโครงการ UNiTE ของยูเอ็น ที่เรียกร้องหน่วยงานต่างๆให้หันมาให้ความสำคัญกับการป้องกันและต่อต้านความรุนแรงต่อเด็กและผู้หญิงทั่วโลก ที่ขาดไม่ได้ก็คือ การให้ความรู้ รณรงค์เรื่องการขับขี่ปลอดภัย ทั้งหมดนี้ก็เพื่อยกระดับการบริการให้มีมาตรฐานและปลอดภัยยิ่งขึ้น