ทรูมันนี่มีข้อมูลและสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับผู้ใช้ e-Wallet ที่เป็นนักเรียน-นักศึกษาคนรุ่นใหม่ในประเทศไทย พร้อมให้คำแนะนำใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

ส่วนใหญ่จัดอยู่ใน Gen Z เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีและเป็นกลุ่มยูสเซอร์ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่ Cashless Society ในอนาคต ซึ่งช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม – เมษายน 2562) พวกเขาสามารถสร้างมูลค่าธุรกรรมต่าง ๆ บน TrueMoney Wallet ไปแล้วกว่าหลายพันล้านบาท

  • 3 อันดับพื้นที่ที่มีนักเรียน-นักศึกษา ใช้ e-Wallet มากที่สุด
    • กรุงเทพฯ
    • ชลบุรี และปทุมธานี
    • สมุทรปราการ และนนทบุรี
  • 96% ของผู้ใช้ในวัยเรียน ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา (50%) และมหาวิทยาลัย (46%) ในขณะที่ชั้นประถมศึกษา คิดเป็นแค่ 4% ของผู้ใช้ e-Wallet ที่อยู่ในวัยเรียนทั้งหมด
  • การเติมเงินเข้า e-Wallet ส่วนใหญ่จะผ่านทางช่องทางเหล่านี้ ตู้เติมเงิน (36%), ธนาคาร (28%) และร้านค้าและร้านสะดวกซื้อ (26%) ตามลำดับ โดยการเติมเงินผ่านช่องทางธนาคารจะมียอดเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 1,450 บาท รองลงมาคือ เติมผ่านช่องทางดิจิทัลที่ 970 บาท
  • บริการหลักที่นักเรียน/นักศึกษาใช้ e-Wallet ได้แก่ โอนเงินให้บุคคลอื่น, ซื้อดิจิทัลคอนเทนต์ และเติมเงินมือถือ/อินเทอร์เน็ต
  • ร้านค้ายอดนิยม 3 ประเภทหลัก ที่ครองใจนักเรียน-นักศึกษา ได้แก่
    • ร้านสะดวกซื้อ
    • ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
    • ร้านจำหน่ายไอเท็มเกมออนไลน์

 

2 ปัจจัยบวกกระตุ้นการใช้ e-Wallet

  • ชาว Gen Z (คนที่เกิดหลัง พ.ศ. 2540 ขึ้นไป) เกิดมาพร้อมเทคโนโลยี เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ไว มีไลฟ์สไตล์โดดเด่น เกาะติดทุกเทรนด์ และไม่ยึดติดกับแบรนด์ พร้อมลองแบรนด์ใหม่ที่เป็นที่นิยมหรือคุ้มค่ากว่าเสมอ สอดคล้องกับความสามารถของ e-Wallet ที่นอกจากจะเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้จ่ายแล้ว ยังมาพร้อมโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษมากมายที่รองรับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ความบันเทิง เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง หรือการใช้จ่ายตามร้านอาหาร และร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ
  • ราคาสมาร์ทโฟนที่ต่ำลง สวนทางกับเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากขึ้น วันนี้นักเรียน-นักศึกษาในเมืองใหญ่ ๆ สามารถเป็นเจ้าของเทคโนโลยีบนมือถือได้โดยง่าย และใช้จ่ายผ่าน e-Wallet ได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องสมัครผ่านบัตรเครดิต

วิธีการใช้ e-Wallet แบบคูล ๆ สมาร์ทและปลอดภัยในวัยเรียน

  • มัธยัสถ์ยืนหนึ่ง – เพียงหมั่นตรวจสอบการใช้เงินว่าสัปดาห์/เดือนนี้ เราสิ้นเปลืองไปกับรายจ่ายอะไรที่ไม่จำเป็นบ้าง เช่น ดูหนังเยอะไปไหม หรือทานอาหารกับเพื่อน ๆ ถี่ไปไหม สามารถตรวจเช็คย้อนหลังเพื่อทำบัญชีรับ-จ่ายเงินง่าย ๆ ผ่านแอปฯ e-Wallet เพราะการใช้ชีวิตในวัยเรียนแบบคูล ๆ เราไม่จำเป็นต้องฟุ้งเฟ้อหรือยึดติดกับสิ่งเร้าต่างๆ ควรช่วยผู้ปกครองประหยัดไว้ดีที่สุด

  • ของฟรี ของแถม ถูกและดีมีในโลก – ง่าย ๆ แค่ติดตามโปรโมชั่นต่าง ๆ ของร้านค้าที่ร่วมรายการ  หรือทำภารกิจในแอปฯ อย่างสม่ำเสมอก็ได้ลุ้นรางวัลและรับสิทธิพิเศษมากมาย  เช่น เติมเน็ตคืนเงิน50% เป็นต้น หรือเกมพิชิตภารกิจต่าง ๆ ภายในแอปฯ

  • ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การแชร์ของวัยมันส์ – ไม่ว่าจะพากันไปกินหมูกระทะหลังเลิกเรียน หรือจ่ายค่าแท็กซี่ยามเดินทางไป-กลับบ้านและโรงเรียน ก็ร่วมด้วยช่วยกันจ่ายง่ายกว่าด้วยการโอนแบบ P2P ฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม

  • ทำบุญง่าย ๆ เพียงปลายนิ้วคลิก – ปลูกฝังนิสัยการทำความดีและช่วยเหลือผู้อื่นตั้งแต่วัยเรียนด้วยการ “ให้” เป็นอีกวิธีนึงที่ทำได้ง่ายและสะดวก ด้วยการบริจาคเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ 1 บาท 2 บาทล้วนมีค่ากับคนที่ต้องการความช่วยเหลือ สามารถบริจาคผ่านแอปฯ ให้แก่มูลนิธิ องค์กรการกุศล และโครงการเพื่อการกุศลต่าง ๆ มากกว่า 20 องค์กรได้โดยตรง

  • เข้าถึงดิจิทัลคอนเทนต์ได้แบบไม่ต้องง้อบัตรเครดิต  ด้วยความสามารถของบัตร Virsual Card สมัยใหม่ (WeCard) หากเราต้องการซื้อหนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียนผ่านออนไลน์ แอปพลิเคชั่น หรือดิจิทัลคอนเทนต์ต่างๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น เติมเงินใน e-Wallet แบบพอดี จะใช้ซื้ออะไร จำนวนเงินเท่าไร งบไม่บานปลาย และยังสามารถปิด-เปิดการใช้งานได้ตลอดเวลาด้วยตนเอง ไม่ต้องง้อบัตรเครดิต (physical card) หรือผูกบัญชีเข้ากับ App Store หรือ Google Play Store
  • ปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วยการยืนยันตัวตน (KYC) – อุ่นใจทุกการใช้จ่าย เมื่อได้รับ SMS แจ้งเตือนทุกครั้งที่ทำธุรกรรม และมั่นใจในความปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วยการยืนยันตัวตน (KYC) นอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว การยืนยันตัวตนยังสร้างความปลอดภัยต่อผู้ใช้เจ้าของบัญชี e-Wallet ที่แท้จริง ป้องกันบุคคลอื่นมาแอบอ้างตัวตน และยังส่งผลดีต่อผู้ให้บริการที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องอันเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการให้มีความเฉพาะและเหมาะกับการใช้จ่ายผ่าน e-Wallet ของผู้ใช้รายบุคคลอีกด้วย