ตอนนี้ทั่วโลกต่างก็ตื่นตัวเรื่องของ 5G เนื่องจากเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทาง CISCO ได้จับมือกับ เอ.ที. เคียร์เน่ ทำการสำรวจในหัวข้อ 5G ในอาเซียน: จุดประกายการเติบโตของตลาดองค์กรและผู้บริโภค

ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายพัฒนาไปอย่างรวดเร็วทั้งในเรื่องของโมบายล์บรอด์แบรนด์, Fixed Wireless Acces รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่อย่าง Wi-Fi 6

ผลการสำรวจพบว่าบริการ 5G นั้นจะทำให้การเชื่อมต่อเร็วขึ้น 50 เท่าโดยความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 20 Gbps พร้อมความรวดเร็วในการตอบสนองที่มากขึ้น 10 เท่าหรือพูดให้เข้าใจง่ายๆว่าความหน่วงจะลดลงเหลือแค่ 1 มิลลิวิาทีเท่านั้น นอกจากนั้นใช้พลังงานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ 4G ซึ่ง 3 ปัจจัยนี้จะเป็นหัวใจสำคัญทำให้เกิดบริการและการใช้งานใหม่ๆจากอินเทอรืเน็ตความเร็วสูง ไม่ว่าจะเป็นการสตรีมมิ่งวิดีโอความเร็วสูง, การเล่นเกมผ่านระบบ Cloud, AR, และ VR ซึ่งนั่นเป็นฝั่งของผู้ใช้ทั่วไป

แต่ฝั่งของอุตสาหกรรมต่างๆจะเห็นการนำ 5G มาใช้ที่หลากหลายขึ้นไมว่าจะเป็น Smart City, IoT, การนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมและการผลิต ทำให้เกิดการใช้งานรูปแบบใหม่มากขึ้นซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสร้างรายได้ให้มากขึ้นจากลูกค้ากลุ่มองค์กร

มีการคาดการณ์ว่าไทยจะเริ่มให้บริการ 5G ได้ในปี 2564 ในช่วงแรกจะมาจากผู้ใช้ระดับสูงที่มีอุปกรณ์ที่รองรับก่อน จากนั้นฐานผู้ใช้จะเพิ่มขึ้นเมื่อุปกรณ์ที่รองรับ 5G มีราคาถูกลง ดังนั้นภายในปี 258  สัดส่วนการใช้งาน 5G จะอยู่ที่ 25-40%  โดยไทยจะมีสัดส่วนการใช้งานอยู่ที่ราวๆ 33% คาดว่าผู้ใช้ 5G ในภูมิภาคอาเซียนเกิน 200 รายในปี 2568

ลูกค้าองค์กรแหล่งสร้างรายได้หลักจาก 5G

จากผลสำรวจพบว่าเมื่อ 5G เปิดให้บริการแล้วลูกค้าทั่วไปจะสร้างรายได้ให้กับผู้บริการเครือข่ายเพิ่มขึ้นราวๆ 6-9% ซึ่งบริการที่จะได้ประโยชน์จากเน็ตความเร็วสูงก็จะเป็นพวกการรับชมคอนเทนท์ความละเอียดสูงผ่านสตรีมมิ่ง, คอนเทนน์อินเทอรืแอคทีฟอย่าง VR/AR และ Cloud Gaming

ส่วนลูกค้าองค์กรจะทำรายได้เพิ่มขึ้น 18-22% จากการใช้งาน 5G ใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การนำ กล้องความละเอียดสูงทำงานคู่กับ AI ในกระบวนการควบคุณคุณภาพการผลิต ตรวจจับ Defect ต่างๆได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น, การมาของรถยนต์ไร้คนขับ,ระบบหุ่ยนตือัตโนมัติต่างๆ รวมถึงการนำ 5G ไปใช้ทางการแพทย์ทำให้การผ่าตัดทางไกลเกิดขึ้นจริง เป็นต้น

หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือลูกค้าที่เป็น OTT อย่าง YouTube, NetFlix เป็นต้น ซึ่งอาจจะเกิดโมเดลธุรกิจใหม่ถ้าอยากให้บริการรับชมได้ดีขึ้นอาจจะต้องแยกท่อในการใช้งานจากผู้ใช้งานทั่วไป เพื่อให้การรับส่งข้อมูลได้อย่างไหลรื่นซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถคิดค่าบริการเพิ่มจากตรงนี้ได้

อุปสรรคและความท้าทายของ 5G

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การใช้งาน 5G แพร่หลายนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 หัวข้อ เรื่องแรกคือรื่องของการจัดการคลื่นความถี่ โดนย่านความถี่ที่นำมาใช้งานนั้นเปิดให้บริการช้าเกินไป แม้ว่า 5G นั้นจะสามารถใช้งานได้บนหลายย่านความถี่ โดยจะแบ่งเป็นคลื่นความถี่ต่ำ ย่านความถี่กลางและย่านความถี่สูง แต่ปัจจุบันย่านความถี่เหล่านี้ได้ถูกนำไปใช้บริการอื่นๆ เช่น ความถี่ต่ำใช้กับการออกอากาศฟรีทีวี ความถี่ระดับกลางใช้กับดาวเทรยม แม้ความถี่ระดับสูงจะพร้อมใช้งานแต่จำเป็นต้องมีย่านความถี่ต่ำใช้งานร่วมกันด้วยเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ รวมถึงประหยัดต้นทุนในการติดตั้งระบบ หน่วยงานที่รับผิดชอบจำเป็นต้องมีแผนพัฒาและจัดการคลื่นความถี่ให้เร็วที่สุด

เรื่องที่สองคือเรื่องของราคา ในยุคของ 3G และ 4G นั้นเราจะเห็นการแข่งขันเรื่องของราคา ซึ่งการมาของ 5G นั้นเราจะเห็นราคาขยับสูงขึ้นซึ่งผู้ใช้ยินดีจ่ายเพื่อให้ได้ใช้งานความเร็วที่สูงขึ้น ทางโอเปอเรเตอร์เองก็ต้องคำนึงเรื่องของโครงสร้างราคาอย่างรอบคอบ ไม่ควรตัดราคาเพื่อดึงให้คนมาใช้งานจำนวนมากขึ้น มีแนวโน้มสูงมากที่เราจะเห็นแพ็กเกจแบบจ่ายเท่าที่ใช้งานจริงมากขึ้น

เรื่องที่สามก็คือ การสร้างตัวอย่างการนำไปใช้งานจริงของภาคองค์กรเพื่อดึงให้ลูกค้ากลุ่มนี้เข้ามาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อโซลูชั่นและแอปต่างๆ รวมถึงสร้างความเข้าใจว่านำไปปรับใช้แล้วจะเกิดประโยชน์ยังไง ซึ่ง 5G จะเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดอุตสาหกรรม 4.0 ที่มีเทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญ

นายนาวีน เมนอน, ประธานประจำภูมิภาคอาเซียนของซิสโก้ กล่าวว่า “นับเป็นช่วงเวลาที่ดีในการเปิดตัวการให้บริการ 5G สำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคม เพราะปัจจุบันการรับส่งข้อมูลบนระบบเซลลูลาร์กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้ใช้มีการใช้งานบริการและคอนเทนต์ต่างๆ บนอุปกรณ์ส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้นขณะเดียวกัน องค์กรต่าง ๆ ก็มองหาหนทางในการใช้ประโยชน์จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ (4IR – Fourth Industrial Revolution) ที่ขับเคลื่อนด้วย AI, IoT, ระบบการพิมพ์ 3 มิติ, ระบบหุ่นยนต์ขั้นสูง และอุปกรณ์สวมใส่ เพื่อผลักดันการเติบโตของธุรกิจ การปรับใช้เทคโนโลยีเหล่านี้จะสำเร็จได้จำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีเยี่ยมสำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคมในการขยายฐานธุรกิจในตลาดองค์กร และสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว

นายวัตสัน ถิรภัทรพงษ์, กรรมการผู้จัดการซิสโก้ประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนกล่าวว่า“ ธุรกิจทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคสำคัญ ๆ เช่นภาคการผลิตกำลังมองหาเทคโนโลยี 4IR การเปิดให้บริการ 5G ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะเร่งการปรับใช้เทคโนโลยี และนำประโยชน์มหาศาลมาสู่องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันผู้บริโภคยังรอคอยการเปิดตัว 5G เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้เนื้อหาบนอุปกรณ์ส่วนตัวของพวกเขา แนวโน้มทั้งสองนี้จะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า”

ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกำลังเตรียมพร้อมที่จะเปิดตัวบริการ 5G โดยมีแนวโน้มว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์ (300,000 ล้านบาท) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 5G ในภูมิภาคอาเซียนภายในปี 2568

นายดาร์เมช มัลฮอตรา กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคอาเซียน, กลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการโทรคมนาคมของซิสโก้ กล่าวว่า “การเปิดให้บริการ 5G จะต้องอาศัยการลงทุนจำนวนมากในด้านเทคโนโลยี เพื่อปรับปรุงเครือข่ายให้ทันสมัย สำหรับในภูมิภาคอาเซียน ผู้ให้บริการโทรคมนาคมมีแนวโน้มว่าจะลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่ออัพเกรดเครือข่าย 4G และสร้างขีดความสามารถด้าน 5G อย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะช่วยให้ระบบ 4G และ 5G ทำงานควบคู่กันไปอย่างราบรื่น ขณะที่ผู้ให้บริการจะสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในส่วนทุนและ ROI ที่ยั่งยืน  ซิสโก้ร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่ายในการพัฒนาระบบ 5G และปัจจุบันมีลูกค้าหลายรายในอาเซียนที่กำลังดำเนินโครงการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบ 5G”

นายนิโคไล ดอบเบอร์สไตน์, พาร์ทเนอร์ของบ. เอ.ที. เคียร์เน่ และหัวหน้าคณะผู้จัดทำรายงานฉบับดังกล่าว กล่าวว่า “การเปิดตัว 5G ในอาเซียนมีศักยภาพโดยรวมที่สูงมาก อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพ ภูมิภาคนี้จำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาท้าทายที่สำคัญ โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานกำกับดูแล ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และองค์กรต่างๆ เนื่องจากความท้าทายด้านอีโคซิสเต็มส์และมูลค่าที่สูงมากเป็นเดิมพัน หน่วยงานกำกับดูแลจึงต้องเข้ามามีบทบาทหลัก และจะต้องเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาสำคัญ ๆ เช่น การจัดสรรคลื่นความถี่ในระยะสั้น การสนับสนุนการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน และการส่งเสริมการพัฒนาระบบไซเบอร์ซีเคียวริตี้ระดับประเทศ โดยครอบคลุมทั่วภูมิภาค”