สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาหรือ COVID-19 ในขณะนี้เรียกได้ว่าที่ผ่านมาเราได้เห็นหลายหน่วยงานหันมาให้ความสนใจในการทำอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ที่หยิบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานใหญ่มาจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ครั้งนี้มีโอกาสได้เห็นอีกหนึ่งไอเดียของคนไทยกับเครื่องพ่นย่าฆ่าเชื้ออัตโนมัติ SWU AUTO CLEAN ซึ่งเป็นการพัฒนานวัตกรรม โดย อ.ดร.ภุชงค์ จันทร์จิระ และทีมคณาจารย์และนิสิตจากภาควิชาอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ และหน่วยงานจากทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ตู้พ่นยาฆ่าเชื้ออัตโนมัติ พลังงานแสงอาทิตย์ SWU AUTO CLEAN
อ.ดร.ภุชงค์ จันทร์จิระ เล่าให้เราฟังว่า ตู้พ่นยาฆ่าเชื้ออัตโนมัติ พลังงานแสงอาทิตย์ SWU AUTO CLEAN ได้พัฒนามาจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในปัจจุบันที่สามารถแพร่เชื้อได้จากการติดต่อผ่านสารคัดหลั่ง และติดต่อได้จากการสัมผัสเชื้อ ดังนั้น ภาควิชาอุตสาหกรรมศึกษาจึงมีแนวคิดสร้างและออกแบบพัฒนาตู้ฆ่าเชื้อที่ไร้การสัมผัส โดยเน้นควาปลอดภัยของผู้ใช้เป็นหลัก
โดยวัสดุอุปกรณ์ต้องหาง่าย ราคาไม่แพงและต้องไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนเพื่อทันต่อสถานการณ์ โดยการทำงานของเครื่องสามารถฆ่าเชื้อที่ติดมาตามร่างกาย โดยใช้การควบคุมอัตโนมัติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผ่านการตรวจรับสัญญาณจากบุคคล ผ่านระบบเซนเซอร์ที่ไร้การสัมผัสและการใช้แหล่งพลังงานที่เหมาะสม ตลอดจนความคล่องตัวในการใช้งาน
หยิบเทคโนโลยีช่วยทำงานผ่านระบบควบคุมอัจฉริยะ
สำหรับเทคโนโลยีที่เลือกใช้จะเป็นเทคโนโลยีระบบควบคุมอัจฉริยะ โดยติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ ระบบการเปิด-ปิดประตู ระบบการพ่นละอองหมอกของน้ำยา สามารถ ออกแบบได้ตามคุณสมบัติของน้ำยาแต่ละชนิด โดยเครื่องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้ออัตโนมัติ ทำงานโดยใช้การจับสัญญาณอัตโนมัติ ก่อนเข้าเครื่องควรตรวจวัดอุณภูมิก่อน เมื่อคนอยู่หน้าตู้จับสัญญาณได้ ประตูจะเปิดให้คนเข้าและปิดประตูแบบอัตโนมัติ หลังจากนั้นจะพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ตามเวลาที่กำหนด เมื่อครบเวลาประมาณ 10 วินาที ประตูอีกฝั่งจะเปิดอัตโนมัติเพื่อให้เดินออกไป และตู้จะทำการฆ่าเชื้อที่หลงเหลือในตู้ก่อนที่จะปล่อยให้คนถัดเข้า
โดยการทำงานของเครื่องไม่ต้องมีการสัมผัสใดๆ เหมาะกับการใช้ฆ่าเชื้อก่อนเข้าหน่วยงานหรืออาคาร ควบคุมการทำงานด้วยระบบอัจฉริยะ และแหล่งพลังงานใช้ได้ 2 ระบบคือ ระบบ solar cell ทำให้สามารถเคลื่อนย้าย และนำไปติดตั้งได้ในทุกที่ที่ต้องการ และระบบไฟบ้านทั่วไป
ล้างมืออย่างเดียวอาจไม่พอต้องฆ่าเชื้อด้วย
อ.ดร.ภุชงค์ บอกกับเราเชื้ออาจติดตามร่างกายภายนอกของเรามาจากสถานที่ต่างๆ ที่เดินทางไป ดังนั้นการล้างมือโดยปกติตามมาตรการที่ส่งเสริมอาจไม่เพียงพอ แต่เมื่อได้เพิ่มการฆ่าเชื้อในจุดอื่นด้วยผ่านเครื่องพ่นฆ่าเชื้อ จะทำให้การฆ่าเชื้อมีประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้น
โดยปัจจุบันได้ทำการผลิตแล้วจำนวน 30 เครื่อง ใช้งานในคณะและหน่วยงานในมหาวิทยาลัย โรงพยายาล สถานประกอบการ เช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ บริษัทโตโยตา สถานีตำรวจ กองปราบปรายาเสพติด วัด โรงเรียนสำนักงาน เป็นต้น
เรียกได้ว่าเป็นอีกแนวคิดที่สร้างสรรค์ขึ้นมาตอบโจทย์กับสถานการณ์ในปัจจุบันได้เป็นอย่าง ซึ่งกระแสตอบที่ได้มีทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจยอมรับและสนับสนุนงบในการจัดทำ ทั้งจากหน่วยงานภายใน และภายนอก ซึ่งหวังว่าจะเกิดการต่อยอดไปสู่พื้นที่การใช้งานที่สำคัญและเจาะจง เช่น โรงพยายาล และ สนามบิน เป็นต้น